สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ 22-12-2011


          

             การตั้งเป้าหมายในการรักษา  นักกิจกรรมบำบัดจะส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต  โดยชั้นแรกเริ่มจากการประเมินความสามารถของผู้รับบริการ  วิเคราะห์กิจกรรมที่ผู้รับบริการสามารถทำได้  พร้อมกับการดู profile ข้อมูลของผู้รับบริการประกอบการประเมิน   ขั้นที่สอง วางแผนการรักษา เป็นการที่นักกิจกรรมบำบัดวางแผนร่วมกับผู้รับบริการ เพื่อให้การตั้งเป้าหมายสอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ และตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและหลักฐานใหม่ๆ (evidence) ทางกิจกรรมบำบัด   ขั้นที่สาม act & support ลงมือ ส่งเสริม  ระหว่างการรักษาจะมีการประเมินเพราะอาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น นอกจากนั้นจะมีการ review ดูว่าดีขึ้นไหม  ขั้นที่สี่  ประเมินซ้ำ เพื่อพัฒนา program การรักษาให้ดีและเหมาะสมยิ่งขึ้น

            นักกิจกรรมบำบัดจะให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ ว่า สภาพแวดล้อมที่บ้าน ชุมชน ที่ทำงาน เหมาะสมกับความสามารถของผู้รับบริการหรือไม่  โดยนักกิจกรรมบำบัดสามารถปรับสิ่งแวดล้อม หรือ ฟื้นฟูความสามารถ ให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ  นอกจากนั้นนักกิจกรรมบำบัดอาจให้อุปกรณ์ช่วยเสริมเพื่อคงไว้ซึ่งกิจกรรมที่เหมาะสมที่ผู้รับบริการยังคงทำได้อยู่

            คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการ ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ ในการทำกิจกรรมนั้นๆ  การที่นักกิจกรรมบำบัดให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ  เนื่องจากการมีสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายนอกและภายใน ที่เอื้อให้ผู้รับบริการที่กิจกรรมที่ชอบจะก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี  ส่วนด้านความคิด ทัศนคติ การรับรู้  บริบททางสังคม  วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และ การเงิน ก็ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้รับบริการเช่นกัน

หมายเลขบันทึก: 472805เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท