การประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 (ทันตแพทย์)


....อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆๆมีการพัฒนา ปรับปรุงอยู่เสมอ.....อย่าลืมก้าวไปพร้อมๆๆมัน

เนื่องจากการหนีหายจากการไปอบรมวิชาการต่างๆมานาน เมื่อวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2554 ที่ผ่านมาก็ได้ มีโอกาส ไปอบรมวิชาการประจำปีของทันตแพทย์สมาคม ที่เซ็นทรัลเวิร์ล

( สมัยที่เคยไป ยังจัด เซ็นทรัลลาดพร้าว อยู่เลยอะ)                 

 

เนื้อหาวิชาก็เป็นการ update ข้อมูลใหม่ๆ ที่มีการพัฒนามากขึ้น โดยแทบจะมีเนื้อหาของทุกสาขาวิชา ไม่ว่าจะเป็นทันตกรรมประดิษฐ์ , จัดฟัน, โรคเหงือกและปริทันต์, การถ่ายภายรังสี, และการรักษารากฟัน อีกทั้งยังมี นายแพทย์มาพูดสรุปเรื่องการใช้ยาต่างๆๆที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมด้วย แต่ข้อเสียของการประชุมครั้งนี้ก็คือไม่มีการแจกเอกสาร วิชาการเลยนะสิ....ทำให้ต้องสารภาพว่าจากการที่นั่งฟัง...หลับบ้างตื่นบ้าง...เนื้อหาที่ได้จึงสรุปแบบสุดๆๆกันไปเลยที่เดียว...^_____^

 

ทันตกรรมประดิษฐ์ :  all ceramic

            All ceramic เป็นวัสดุที่มีความสวยงาม แต่มักแตกหักง่าย แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาวัสดุตัวนี้ให้มีความแข็งแรงมากขึ้นจน มีการนำมาใช้ในฟันหลังที่เป็นตัวรับแรงมากขึ้น แต่จากการฟัง case คนไข้ของอาจารย์ ก็ยังพบว่าก็ยังมีการแตกหักของวัสดุได้ โดยส่วนมากมักจะเป็นตรงส่วนของ contact ยังไม่มีการแนะนำอย่างเป็นทางการว่า วัสดุ all ceramic เหมาะสมที่จะนำมาทำในฟันหลัง แต่ก็ไม่ได้ถือเป็นข้อห้าม เพราะอย่างที่กล่าวไปมีการพัฒนาวัสดุตัวนี้มากยิ่งขึ้น ก็คงต้องพิจารณาในผู้ป่วยแต่ละรายกันไปนะคะ

 

การถ่ายภาพรังสี : Digital film

            ในตอนนี้กระแส ของ digital film กำลังมาแรงกันเลยที่เดียว เนื่องจากไม่ต้องมีการล้างfilm ถ้าระบบข้อมูลของคนไข้ในโรงพยาบาลดี การส่งต่อข้อมูลภาพรังสี digital ก็สะดวก และชัดเจนกว่า และแก้ปัญหาการเก็บfilmแบบเก่าที่เก็บดี ก็ดีไป....แต่ถ้าเก็บไม่ดี film เหล่านั้นก็ไร้ค่า

                แต่ถามว่าราคาตอนนี้ก็ยังถือว่าสูงอยู่ที่เดียว....แต่อาจารย์ทางรังสีบอกว่าใน อนาคตน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นแบบ digital film กันอย่างแน่นอน ดังนั้น ก็คงต้องมาศึกษาและเรียนรู้กันต่อไปละนะคะ

 

โรคเหงือกและปริทันต์ : soft tissue graft

            ปัญหาที่มักจะอ่อนใจของหมอทั่วไปอย่างเราคงจะหนีไม่พ้น คนไข้ที่มาเพราะอาการเสียวฟัน และเมื่อตรวจดูมันแย่ตรงที่ว่า....อาการเสียวฟันนั้น มันเกิดจากการที่เหงือกร่นนั่นแหละ.....วิธีแก้ก็คงต้องไปเอาเหงือกมาแปะ.....แล้วหมอทั่วไป อย่างเราจะกล้าทำไหมละเนี่ย

                ความรู้ครั้งนี้อาจารย์ก็เอาเคส คนไข้มาให้ดู....งานนี้โอกาสการรักษาจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จจริงๆแล้วไม่ได้อยู่ที่การดูแลทำความสะอาดและสภาพช่องปากที่ดีของคนไข้เท่านั้น...มักขึ้นกะฝีมือหมอด้วยนะถ้าเลาะเหงือกมา เหงือกช้ำเยอะ....ทางมหาวิทยาลัยมหิดล เค้าก็ได้มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องมือที่จะสามารถนำแผ่นgraft มาให้ได้อย่างสวยงามและชอกช้ำน้อยที่สุด เพื่อที่จะทันตแพทย์ที่ไม่ชำนาญมักสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น......แต่ฟังแล้วยังไงก็ต้องฝึกก่อนนะคะ...ใช่ว่าจะทำเลยได้ แม้เครื่องมือจะดีอย่างไรก็ตาม

 

 

                                                                                                         BY : h2o

 

หมายเลขบันทึก: 472787เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แสดงว่าไม่ได้โดดนะเนี่ย ได้ความรู้มาเยอะเลย / boss

credit ธ.ค.55' ทพญ.ลาวัลย์ ฤทธี คอลัมน์ ประชุม อบรม สัมนา ศึกษาดูงาน 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท