บทเรียนเรื่อง'การจัดการความรู้'


การจัดการความรู้คือการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างคนเพื่อการต่อยอดเป็นแก่นของความรู้สู่การปฏิบัติใช้ในวิถีเดียวกัน C;

จากวิดีทัศน์ ‘KM โรงพยาบาลบ้านตาก’ ที่ อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง นำมาเป็นบทเรียนในชั่วโมงภาคปฏิบัติKnowledge Translation ที่กล่าวถึงการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่

Learning อันเป็นหน้าที่หลักของคุณเอื้อ ที่ต้องทำให้สมาชิกมองเห็นถึงภาพรวมและเป้าหมายในเรื่องที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เป็นผู้เปิดโอกาสให้เกิดการร่วมกันพัฒนา

Organizing อันเป็นหน้าที่หลักของคุณอำนวย ที่ต้องทำให้สมาชิกเกิดองค์ความรู้ ส่งเสริมให้แต่ละคนถ่ายทอดความคิดเห็นออกมาบนพื้นฐานความเข้าใจของตน กระตุ้นการต่อยอด มองหาข้อเด่น-ข้อด้อย และกำจัดขีดจำกัดขององค์ความรู้ที่กำลังดำเนินอยู่

Acting อันเป็นหน้าที่หลักของคุณกิจ ซึ่งหมายถึงสมาชิกผู้ก่อร่างองค์ความรู้และนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ โดยมีคุณเก็บและคุณประกอบเป็นผู้รวบรวมและส่งเสริมความรู้บางอย่างที่เกี่ยวข้องให้แก่สมาชิก

Sharing เป็นหัวใจที่ทำให้เกิด ‘แก่นความรู้’ โดยเกิดจากการนำองค์ความรู้ที่สร้างกันได้ไปใช้ แล้วนำผลที่ได้มาบอกเล่าเทียบเคียงกัน จนได้แบบแผนการปฏิบัติที่เรียกว่า ‘Best Practice’

Assets คือการเก็บสั่งสมความรู้ เพื่อการนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดี เนื่องด้วยมีพื้นฐานจากแก่นความรู้ที่ผ่านกระบวนการจัดการความรู้จากการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและแบ่งปัน ต่อยอดจนกลายเป็นความรู้ที่ฝังแน่น ยืดหยุ่น สามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกสภาวการณ์

เหล่านี้คือกระบวนการที่น่าสนใจและควรเอาไปใช้อย่างยิ่งในที่ประชุมชนผู้ต้องการวิถีทางร่วมกัน ไม่ว่าจะในหมู่มากอย่างในองค์กรใหญ่ๆ เช่น หน่วยงานของรัฐ หรือในหมู่น้อยอย่างในระดับกลุ่มชน เช่น กลุ่มนักศึกษา กลุ่มชาวบ้านในตำบล เป็นต้น

ในชั่วโมงเรียนภาคปฏิบัติครั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับหน้าที่เป็นคุณเก็บหรือคุณลิขิตใน3ประเด็น ‘จะดำเนินชิวิตอย่างไรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในบริบทของสังคมไทยหากตนเป็นผู้บกพร่องทางด้านร่างกาย’ และ ‘คิดว่าครอบครัวมีบทบาทอย่างไรกับผู้รับบริการ’ ซึ่งตามมาด้วยคำถามที่ว่า’ ‘นอกจากครอบครัวอะไรคือสิ่งที่จะทำให้ผู้รับบริการมีความสุข’ ซึ่งแนวโน้มของคำตอบจะเกี่ยวเนื่องกับ Extrinsic factor ที่มีผลต่อทั้งด้าน Physical และ Mental ของผู้รับบริการ สำหรับหน้าที่ที่ได้รับนี้โดยส่วนตัวคิดว่าเป็นงานหนักที่สุด เพราะการรวบรวม สรุปความคิดรวบยอดในเวลาอันสั้นเป็นเรื่องยากมากสำหรับตน กระนั้นถือว่าเป็นโอกาสครั้งหนึ่งที่ได้ฝึกฝนการจัดการความรู้ของตนเอง เป็นประสบการณ์ที่ดีเพื่อความพยายามในครั้งต่อๆไป

คำสำคัญ (Tags): #knowledge management#occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 472705เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 02:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท