วิกฤตการณ์ด้านอาหาร จัดการชีวิตให้พอเพียง


ภาคส่วนที่ปรับตัวได้ไว รวดเร็ว แข็งแรงก็จะอยู่รอดปลอดภัย ส่วนที่ยังอ่อนไหวอ่อนแอก็จะแย่หนักกว่าเดิมเพราะโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก

ในปี2558ประเทศไทยและประเทศต่างๆ 
ในกลุ่มอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์ 
โดยตกลงเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน (single market and production
base) นั่นย่อมหมายถึงจะมีการเคลื่อนยายปจจัยการผลิต สินค้า บริการ
การลงทุนและแรงงานอย่างเสรี สามารถดําเนินกระบวนการผลิตที่ไหนก็ได โดยสามารถ
ใชทรัพยากรจากแตละประเทศ ทั้งวัตถุดิบและแรงงานมารวมในการผลิต
มีมาตรฐานสินคา กฎเกณฑ กฎระเบียบเดียวกัน
แสดงให้เห็นการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่างชัดเจนว่าจะมีทั้งการแบ่งปันและแย่งชิงทรัพยากรในภูมิภาคและทั่วโลกกันอย่างกว้างขวาง
ใครตัวใหญ่แลัแข็งแรงกว่าก็จะเป็นผู้ชนะ

 

พี่น้องเกษตรกรจะต้องปรับตัวเตรียมตัวรับมือกับกระแสธารอันเชี่ยวกรากของทุนนิยมที่หนักหน่วงรุนแรง 
ในภาคส่วนที่ปรับตัวได้ไว รวดเร็ว แข็งแรงก็จะอยู่รอดปลอดภัย
ส่วนที่ยังอ่อนไหวอ่อนแอก็จะแย่หนักกว่าเดิมเพราะโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก
ในกลุ่มของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะมีการแบ่งโซนแบ่งประเภทกันผลิตและจำหน่ายโดย พม่าสาขาผลิตภัณฑเกษตร
(Agro-based products) และสาขาประมง (Fisheries) มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
(Rubber-based products) และสาขาสิ่งทอ (Textiles and Apparels) อินโดนีเซีย
สาขายานยนต (Automotives) และสาขาผลิตภัณฑไม (Wood-based products) ฟิลิปปินส
สาขาอิเล็กทรอนิกส (Electronics) สิงคโปร สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN)
และสาขาสุขภาพ (Healthcare) ไทย สาขาการทองเที่ยว (Tourism) และสาขาการบิน (Air
Travel)

 

ประชาชนทั่วทุกแดนดินต่างดิ้นรนแข่งขันปรับตัว 
ไม่เพียงแต่ประเทศไทยของเราเท่านั้น
ประชาชนทุกประเทศก็จะต้องทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเพื่อรักษาโอกาสให้ตนเอง 
ประเทศและประชาคมอาเซียนเพื่อแข่งขันกับทั้งจีน 
อินเดีย ญี่ปุ่น ยุโรปและอเมริกา 
ส่วนหนึ่งก็จะวัดกึ๋นกันที่ผู้นำว่าใครจะมีวิสัยทัศน์ในการรับมือได้กว้างไกลและรัดกุมนำพาประเทศชาติแหวกฝ่าวงล้อมเสือ 
สิงห์ กระทิง แรดให้อยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้ในอนาคตข้างหน้า 
แต่พี่น้องประชาชนไทยยังถือว่าโชคดีในระดับหนึ่งที่นอกจะมีผู้ที่บริหารประเทศที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันขึ้นมาบริหารประเทศแล้ว
พวกเรายังมีพ่อหลวงที่ให้แนวทางการดำรงชีพแบบเศรษฐกิจพอเพียง
ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วเพียงใดเราก็ยังมีกินมีใช้
หากพลาดพลั้งไปกับโลกของทุนนิยมอย่างไรขอให้เรายึดมั่นในพระราชดำรัสคำสั่งสอนของพ่อหลวงคือเศรษฐกิจพอเพียงเราก็จะไม่อดตายไปตลอดชีวิต
คือควรดำเนินชีวิตแบบไม่ประมาทและให้กลมกลืนกับกระแสโลกาภิวัฒน์โดยปลูกข้าว
ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์เลี้ยงปลาไว้บริโภคกันภายในครัวเรือนสมบูรณ์พูนสุขโดยไม่ต้องไปซื้อหามาจากที่อื่น 
ทำให้มากเพียงพิและเหลือจะแบ่งปันหรือขายค่อยว่ากัน 
ทำอย่างนี้จนมั่นใจได้ว่าตลอดอายุขัยของเราจะไม่อดอาหารแน่นอนแล้วค่อยคิดเรื่องทุนนิยม 
เรื่องการลงทุน เรื่องการผลิต 
เรื่องการตลาดต่อไปเพื่อดำรงชีพให้อยู่รอดในวัฏสงสาร
เมื่อดำเนินการผิดพลาดพลั้งในโลกทุนนิยม
เรายังกลับบ้านมากินมาใช้ทรัพยากรของจริงที่เราได้เตรียมไว้เป็นอย่างดีแล้วดังคำหม่อมเจ้าสิทธิพร 
กฤดากรที่ท่าได้รับกล่าวไว้ดังนี้ "เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาสิเป็นของจริง"

 

มนตรี บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 472645เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2011 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท