การบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อ มีผลต่อกระบวนการจัดการสุขภาพอย่างไร


Referal system&EMSS

การบริหารจัดการระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินและระบบการส่งต่อ มีผลต่อกระบวนการจัดการสุขภาพอย่างไร

ในระบบบริการทางการแพทย์มีระบบการส่งต่อผู้ป่วยมานาน และมักนึกถึงการส่งต่อจากระดับต่ำกว่าสู่ระดับที่สูงกว่าหรือมีความพร้อมทางเทคโนโลยี/บุคลากรมากกว่า ทำให้ไม่ครอบคลุม คนด้อยโอกาสไม่สามารถเข้าถึงการบริการได้ แต่ในความเป็นจริง เมื่อมีการพัฒนาโครงสร้างบริการจนถึงระดับชุมชน เช่น มีโรงพยาบาลสุขภาพตำบล มีทีมจากองค์กรชุมชนร่วมดูแลสุขภาพ (อสม.) โดยเน้นการจัดบริการทางด้านสุขภาพทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ    ทำให้ประชาชนมีโอกาสได้รับการบริการทั่วถึง เป็นธรรมและลดการแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ นอกจากนี้ ทำให้เกิดการประสานการรักษาโดยส่งต่อกลับมาให้หน่วยงานในพื้นที่หรือชุมชนได้ดูแลกำกับการรักษาให้มีประสิทธิผล
           ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (Emergency Medical Services System: EMSS) คือ  ระบบการให้ บริการที่ปฏิบัติต่อบุคคลในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยกะทันหัน และเป็นอันตรายต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ ต้องได้รับการประเมิน จัดการและบำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการรุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บ หรืออาการป่วย ต้องครอบคลุมตั้งแต่เกิดอาการ (Onset) การพบเหตุ (Detection) จนถึงการได้รับบริการรักษาพยาบาลแบบจำเพาะ (Definitive care) หรือการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ (On scene care)   การลำเลียงขนย้ายและการดูแลระหว่างนำส่ง (Care in transit) และการนำส่งสถานพยาบาล (Transfer to definitive care)

         ใน ปัจจุบัน มีระบบที่ให้ความสะดวกรวดเร็ว สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้มากมาย เช่น การให้บริการรับส่งผู้ป่วยที่บ้านหรือที่เกิดเหตุโดยผ่านสาย 1669 หน่วยงานที่มาดูแลไม่เฉพาะภาครัฐเท่านั้นแต่ยังมีตั้งแต่หน่วยกู้ชีพขั้นสูง (Advance Life Support: ALS) หน่วยกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support: BLS) และหน่วยกู้ชีพชุมชนจากองค์กรท้องถิ่น(First Responder: FR) รวมกันกว่า 7,000 แห่งทั่วประเทศ  แต่โจทย์สำคัญที่หน่วยงานที่รับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข ต้องตอบและหาแนวทางพัฒนาคือ 1)มีมาตรฐานการดูแล ช่วยเหลือ ลำเลียงผู้ป่วยระยะวิกฤติไปโรงพยาบาลมากน้อยขนาดไหน ทั้งความพร้อมของอุปกรณ์ ทักษะ องค์ความรู้  2)  ในระดับนโยบายก็ยังให้ความสำคัญเฉพาะด้านผู้ป่วยอุบัติเหตุเป็นหลัก บริการผู้ป่วยฉุกเฉินได้ถูกละเลย 3)   แพทย์ที่เป็นด่านหน้าบริการในห้องฉุกเฉินส่วนใหญ่ ยังคงเป็นแพทย์ใช้ทุน ไม่มีแพทย์เฉพาะโรคนั้น  4) ระบบการให้บริการ ณ จุดเกิดเหตุ และการนำส่งโรงพยาบาลยังขาดประสิทธิภาพ ทั้งในด้านประสิทธิภาพของระบบสั่งการ ประสิทธิภาพของการใช้ประเภททีมกู้ชีพ ความปลอดภัยของรถพยาบาลฉุกเฉิน รวมถึงศักยภาพของทีมกู้ชีพในการให้บริการ และ4) การประสานงานรับส่งต่อระหว่างโรงพยาบาลต้นทางและปลายทางยังขาดประสิทธิภาพ ระบบการสื่อสารยังไม่เหมาะสมและไม่ทันสมัยเป็นต้น http://www.hisro.or.th/main/?name=knowledge&file=readknowledge&id=15

 เสนอมุมมอง  โดย  ราณี  วงศ์คงเดช

ผู้จุดประกายแนวคิด   รศ.สมเดช  พินิจสุนทร

21 /12/2554

หมายเลขบันทึก: 472319เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 23:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท