ความจำเป็นในการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศแผนกดคีบุคคล


กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล

          ในปัจจุบันเราจะพบว่านิติสัมพันธ์ของเอกชนที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นด้านการค้าหรือการลงทุนจะมีความเป็นระหว่างประเทศแฝงอยู่เป็นอันมากไม่ว่าจะเป็น คู่กรณีของนิติสัมพันธ์เป็นคนต่างชาติ (foreign) หรือต่างด้าว (alien) หรือตัวนิติสัมพันธ์เองเกิดในต่างประเทศ หรือผลของนิติสัมพันธ์เกิดขึ้นใน

ต่างประเทศ หรือแม้กระทั่งทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติสัมพันธ์จะอยู่ในต่างประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเกิดจากทุนภายในประเทศไม่เพียงพอที่ขยายกิจการจึงต้องชักนำทุนต่างชาติเข้ามา หรือการที่ต่างชาติเห็นว่าประเทศไทยมีปัจจัยบวกที่น่าจะเข้ามาลงทุนหรือทำการค้าขาย หรือแม้แต่การเปิดเขตการค้าและการ

ลงทุนเสรีที่ทำระหว่างกัน เป็นต้น ดังนั้น เราในฐานะนักกฎหมายคงจะหลีกเลี่ยงที่จะต้องศึกษานิติสัมพันธ์ของเอกชนที่มีความเป็นระหว่างประเทศและกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งเป็นตัวกำหนดกรอบว่านิติสัมพันธ์ภายใต้กฎหมายใดจะได้รับการรับรองให้มีผลในทางระหว่างประเทศไม่ได้ เพื่อที่เราจะสามารถนำกฎหมายมาปรับข้อเท็จจริงที่จะเกิดขึ้นได้อย่างถูกต้อง

           สำหรับผู้เขียนเองได้ทำวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ การกระทำความผิดเกี่ยวกับหุ้นของคนต่างด้าวในประเทศไทย โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องหุ้นของคนต่างด้าว ไม่ว่าจะเข้ามาเกี่ยวข้องในรูปแบบของการซื้อขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์หรือในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลาดรอง) หรือการเข้ามาในรูปแบบของการควบรวมกิจการหรือการแลกเปลี่ยนหุ้น เป็นต้น และศึกษาถึงกฎหมายภายในของประเทศไทยซึ่งได้กำหนดสิทธิหรือจำกัดสิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าวที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของคนต่างด้าว เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบในการกระทำความผิดเกี่ยวกับหุ้นของคนต่างด้าวที่จะหลบเลี่ยงกฎหมายที่นำมาจำกัดสิทธิหรือการหาผลประโยชน์จากการที่กฎหมายได้ให้สิทธิแก่คนต่างด้าว ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ ในเบื้องต้นมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาถึงกฎเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในเรื่องการจัดสรรเอกชนในทางระหว่างประเทศ เพื่อกำหนดตัวบุคคลซึ่งจะได้รับสิทธิและหน้าที่หรือถูกจำกัดสิทธิตามกฎหมายที่กำหนดไว้ให้ชัดเจนเสียก่อนที่จะศึกษาและวิเคราะห์ประเด็นอื่นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 47230เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ในวิทยานิพนธ์ของคุณพจนารถ จะมีมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายไหมคะ ?
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท