ไรน้ำนางฟ้ากับการใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ


ไรน้ำนางฟ้ากับการใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ
ประโยชน์ของไรน้ำนางฟ้า1. มีศักยภาพที่จะใช้ทดแทนอาร์ทีเมียในอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งน้ำเค็มและน้ำจืด2.  มีศักยภาพที่จะผลิตเป็นอาหารของสัตว์น้ำทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่น ใช้อนุบาลและเลี้ยงกุ้ง ปลาเศรษฐกิจชนิดต่างๆ รวมทั้งปลาสวยงามน้ำจืดที่มีราคาแพง3. สามารถนำไรน้ำนางฟ้ามาเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามในอ่างเลี้ยงหรือตู้กระจกได้4. ใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาด้านพิษวิทยา (Toxicology) ได้5. ใช้เป็นอุปกรณ์การสอนสำหรับนักเรียนนักศึกษา เช่น การศึกษาเกี่ยวกับวงจรชีวิตของไรน้ำนางฟ้า เป็นต้น6. เป็นอาหารของคนอีสาน และยังพบว่ามีคุณค่าทางโภชนาการอย่างอื่นสูงอีกด้วย โดยนิยมใส่ในห่อหมก แกงอ่อมและแกงหน่อไม้ดอง เป็นต้น7.  การพัฒนาเชิงพาณิชย์สู่ภาคอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำในรูปแบบแช่แข็งหรือใช้เป็นอาหารสด เพื่อทดแทนแหล่งโปรตีนจากอาหารข้น จำพวก ปลาป่น และกากถั่วเหลือง
คุณค่าทางโภชนาการของไรน้ำนางฟ้า
 จากการนำไรน้ำนางฟ้าไทยไปวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารพบว่ามีส่วนประกอบคิดเป็นเปอร์เซ็นต์วัตถุแห้งดังนี้โปรตีน                       64.94  เปอร์เซ็นต์ไขมัน                            5.07  เปอร์เซ็นต์เถ้า                                 8.40  เปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรท          17.96  เปอร์เซ็นต์ ตาราง ปริมาณกรดอะมิโนที่จำเป็น
กรดอะมิโน ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร ไรน้ำนางฟ้าไทย
  -------------- เปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง -------------
Arginine 8.23 7.33
Isoleucine 3.92 3.21
Lysine 9.61 7.92
Phenylalanine 4.36 3.47
Tryptophan 2.28 1.73
Histidine 4.18 3.86
Leucine 7.57 7.00
หมายเลขบันทึก: 47229เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท