การบริหารจัดการระบบส่งต่อ และบริการการแพทย์ฉุกเฉิน


EMS & Referal Mangement

ในทางการแพทย์ เรามีระบบ refer มานานแล้ว แต่โดยมากเราจะนึกถึงระดับล่างขึ้นบน  โดยหลักการก็คือ ส่งผู้ป่วยไปรับบริการที่เหมาะสม  แบ่งเป็น 2 กรณีก็คือ   ผู้ป่วยฉุกเฉิน กับ ผู้ป่วยที่พบ mass ที่สงสัย ก็จะส่งต่อผู้ป่วย หรือสิ่งส่งตรวจต่างๆ เพื่อนการวินิจฉัยจากแพทย์เฉพาะทาง หรือห้องปฏิบัติการระดับสูงกว่า ประโยชน์ของการส่งต่อในกรณีนี้ที่เห็นชัดก็คือ  สามารถทราบการวินิจฉัย และจัดการรักษาที่เหมาะสมกัน  และในขณะเดียวกัน การ  Refer ลงล่างก็มี เช่น  เมื่อผ่าตัดแล้วให้กลับไปดูแลที่บ้าน ก็ถือเป็นการ refer กลับ เพื่อลดอัตราการครองเตียงที่โรงพยาบาลศูนย์  จุดที่มีปัญหาในระดับการ refer ก็คือ เขียนในใบ refer ไม่ชัด ทำอะไรไปบ้าง อาการก่อนหน้านี้เป็นอย่างไร ไม่ตอบใบ refer กลับไป  การตอบใบ refer เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะได้ตอบว่า ...วินิจฉัยถูกไหม  ให้การรักษาถูกหรือไม่  และหน่วยรับส่งต่อ จะได้รวบรวมข้อมูลการวินิจฉัยที่ผิดพลาด หรือความรู้ส่วนที่ขาด จัดอบรมให้หน่วยบริการ  จะได้ไม่ต้องส่งต่อในกรณี simple   case

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หรือ EMS ได้ถูกกำหนดนโยบายระดับประเทศ ระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาโดยที่โครงสร้างการจัดการ ความพร้อมของบุคลากร การจัดการด้านงบประมาณ  การจัดการระบบดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน เข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ป้องกันการบาดเจ็บจากการช่วยเหลือของบุคลากรทางการแพทย์ และหน่วยที่เกี่ยวข้อง มีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น   ซึ่งในปัจจุบัน งาน Ems และระบบส่งต่อ ได้กระจายไปถึงระดับรากหญ้า ไม่ว่าจะเป็น เทศบาล อบต. หรือ รพสต. มีระบบสนับสนุนงานเกิดขึ้นมากมาย เมื่อระบบสนับสนุนเกิด ความจำเป็นอย่างหนึ่งก็คือ การพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถรองรับการบริการที่เกิดขึ้น ตัวอย่างที่นำมาเรียนรู้ในเรื่องนี้ เป็นการฝึกอบรมบุคลากรกู้ชีพ โดยใช้ rally แบ่งออกเป็น 7 ฐานความรู้ ได้แก่   การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง อุบัติเหตุจราจร คลอดฉุกเฉิน จมน้ำ สถานการณ์ชุมนุม ถูกแทง กระดูกสันหลัง โดยมีการประเมินผลจากทักษะการปฏิบัติการ  EMS Rally มาจากคําเต็มว่า “Emergency Medical Service Rally” หมายถึง การแข่งขันการช่วยเหลือผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ – ฉุกเฉิน นอกโรงพยาบาล โดยมีจุดริเริ่มโดยโรงพยาบาลขอนแก่น ซึ่งถือว่าเป็นต้นตํารับและผู้ริเริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกขึ้น ในปี พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดขอนแก่น และแบ่งทีมแข่งขันตามการปฎิบัติงาน  เป็นชุดปฏิบัติการฉุกเฉินระดับสูง (Advance Life Support: ALS)และชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (First Responder: FR)  มีเพื่อประเมินสมรรถนะของบุคลากรผู้เข้าร่วมแข่งขันทุกระดับ และนําผลการประเมินไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาบุคลากรด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.)

 

ผู้สอน : รศ.นพ.สมเดช  พินิจสุนทร

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 21 ธันวาคม 2554 อาคารเวชวิชชาคาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

หมายเลขบันทึก: 472283เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พอพูดถึงงานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน อดคิดถึงประสบการณ์ตอนที่อยู่งานควบคุมโรคไม่ติดต่อเสียไม่ได้ ทั้งซ้อมแผนเรือเฟอรี่ล่ม ฝึกปฏิบัติการ FR ALS ดูงานการแพทย์ฉุกเฉินที่ภาคอีสาน จนถึงงานก่อนสุดท้ายก่อนมาเรียนหนังสือ ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ในการฝึกสอนการช่วยเหลือทางอากาศ Sky Doctor ถึงแม้จะเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ เพราะอยู่ในส่วนคนสสจ. ช่วยบริหารจัดการ แต่ก็มีความสุขที่ได้เป็นส่วนหนึ่งเล็กๆ ในการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดสุราษฎร์ธานี

มีภาพวิวจากบนฟ้า บริเวณกองบิน 7 จังหวัดสุราษฎร์ธานีมาฝากด้วยค่ะ ^__^

หลังจากลงจากฮ.แล้ว ก็มาถ่ายรูปเป็นที่ระทึก กับนักบินบ้านนอก แต่...หล่อมากกกกกกก

ย้ายมาอยู่สสจ.ได้อาทิตย์นึง งานที่ฝ่ายจัดก็คืองานนี้ เกือบนึกถอดใจ ย้ายมาเจองานช้างหรือเปล่านะ เล่นซ้อมแผนเรือเฟอรี่ล่มกลางทะเลกันเลย เอ๊ะ แล้วงาน EMS นี่ มันใหญ่โตขนาดนี้เลยเหรอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท