บริหารจัดการข้อมูล...เครื่องมือสำคัญคนทำงานสุขภาพ


Health information management

        การบริหารจัดการสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health information management) เป็น การจัดการข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะกับการใช้งาน ให้ทันเวลา และอยู่ในรูปแบบที่ใช้ได้   สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี มีการประมวลผลที่ดี   ยกตัวอย่างการบริหารจัดการสารสนเทศในกรณีน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ต้องพิจารณาข้อมูลข่าวสารต่างๆ มองว่าคนที่ได้รับผลกระทบอะไร  จำนวนเท่าไหร่  ก่อให้เกิดทุกข์อะไร   ปัญหาสุขภาพที่มากับน้ำมีอะไรบ้าง   และเราทำอะไรได้บ้างในภาวการณ์นั้น ต้องบริหารจัดการ ภายใต้การพยากรณ์ที่ปลอดภัย  การจัดการกับข้อมูลเป็นเรื่องใหญ่มาก  ต้องมีการติดตาม มองแนวโน้ม  รวมถึงจะต้องหาวิธีให้ข้อมูลข่าวสารสาธารณสุขที่ทั่วถึง ครอบคลุม เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและดูแลในภาวะวิกฤตินั้นๆ  ปัญหาสุขภาพ (Health problem )  ที่กล่าวถึง ได้แก่  Infection , Trauma /accident , Turnor,  Congenital  /family tree  , Metabolic  , miscellaneous, psychiatric  ซึ่งปัญหาสุขภาพดังกล่าวจะแก้ไขได้ จะต้องมีทรัพยากรสาธารณสุข (Health  resources ) 4 อย่างก็คือ Personal  , Material, Supply, Social & environment  ซึ่งหน่วยงานจะต้องพิจารณาว่าขณะนี้เรามีทรัพยากรที่จะใช้ในการทำงานอะไรบ้าง เพียงพอไหม แก้ไขปัญหาได้หรือเปล่า   ส่วนใหญ่แล้วก็จะได้ยินแต่ประโยคที่พูดว่า I have many  problems?  ฉันมีปัญหามากมายในการทำงาน เมื่อบอกว่ามีปัญหามาก ก็จะต้องมองต่อว่า อะไรคือปัญหา หาเหตุให้เจอ ถึงจะพบทางแก้ได้ 

      การให้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพในปัจจุบัน  หากใช้เป็น ก็จะสามารถสะท้อนผลการทำงานในพื้นที่ได้  โดยใช้เป็นข่าวสารเสนอการจัดระบบบริการ และการส่งต่อภายในสำหรับติดตามคุณภาพ และประเมินผลบริการให้มีคุณภาพ  ระบบสารสนเทศในปัจจุบันมีข้อจำกัดในความไม่ชัดเจน ของกรอบข้อมูลที่จำเป็นในการใช้งานพัฒนา  บางครั้งคนพัฒนาระบบสารสนเทศ กับคนใช้งาน มุ่งผลประโยชน์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ตอบโจทย์คนทำงาน

         ในชั้นเรียนวันนี้  ได้ยกตัวอย่าง  โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย  ครั้งที่ 4 (NHES4 :   National health examination survey )  (โดยการตรวจร่างกายและสัมภาษณ์) โดยมีวัตถุประสงค์ในการตรวจ  อยู่ 3 ประการคือ

  1. Wealth : House, property, water,toilet, etc.
  2. Health  : physical , mental , well being
  3. Behaviors (Healthy or not)  social environment

Methods in field

  1. Find target samples [by health staff and volunteers]
  2. Presurvey & iodine test
  3. Appointment with documents [NPO in adult only]
  4. Registration [with]

: name list consent and  presurvey from [by staff]

: identity card, urine in  the  container [by target]

  1. Physical exam : BP & other measurement
  2. Blood exam for > 15 years
  3. Interview by QN
  4. Health education  by team leader

กรอบประเด็นการเก็บข้อมูล

ก.ข้อมูลพื้นฐานของแกนนำ  - เคยทำโครงการนี้มาก่อนหรือไม่  หรือที่ครั้งที่ 4 นี้เป็นครั้งแรก

ทำไมจึงสนใจ เข้าร่วมโครงการ

ข. เตรียมการ  - การเตรียมทีมงาน  - การจัดหาอุปกรณ์  -  การบริหารจัดการโครงการ

ค.การปฏิบัติการ  - การประสานงานกับผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นกลุ่มวิจัย   - การตรวจร่างกายในพื้นที่

ง.  การจัดการข้อมูลที่ได้  -  การส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์ -  การรวบรวมประมวลผลระดับภาค

จ.ประมวลภาพรวม/สรุปบทเรียนเพื่อต่อยอดการทำงานครั้งต่อไปให้ดียิ่งขึ้น

-  บทเรียนความสำเร็จที่ต้องการบอกต่อ

- สิ่งที่ได้เรียนรู้ว่าควรหลีกเลี่ยง

-          ประเด็นที่คิดว่าเป็น โจทย์ ต้องคิดหาวิธีเตรียมการป้องกัน  หรือแสวงหาแนวทางปฏิบัติ

-          ธรรมชาติของพื้นที่ที่ศึกษา

-          ศึกษาให้ดี รู้เขารู้เรา ให้ไปทำการสำรวจก่อนล่วงหน้า

 

สรุป

ผู้สอน :  Associate Professor  Dr.Somdej Pinitsoontorn 

             Dpt. Community  medicine

วันที่ 21 ธันวาคม 2554 ชั้น 7 อาคารเวชวิชชาคาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

หมายเลขบันทึก: 472276เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2011 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท