การบริหารจัดการยุคใหม่


ถึงเวลาที่ต้องจัดทำระบบการบริหารจัดการกันอย่างจริงจังแล้ว

การบริหารจัดการยุคใหม่

          วิวัฒนาการด้านการบริหารจัดการของโลกเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย สามารถแบ่งยุคของการบริหารจัดการออกมาคร่าวๆได้คือ

          1 ยุคเกษตรกรรม (Agriculture Era) ยุคนี้ไม่มีอะไรที่เป็นรูปแบบมากนัก มนุษย์ต้องพึ่งพาดินฟ้าอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้ กิจกรรมหลักมุ่งไปทางด้านการเกษตร การบริหารจัดการในยุคนี้จึงไม่ค่อยมีอะไรน่าสนใจ

          2 ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Era) ยุคนี้ถัดมาจากยุคเกษตรกรรม จุดต่ออยู่ที่ประมาณ 130 มาแล้ว ตัวจุดประกายให้เปลี่ยนยุคมาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีการคิดค้นเครื่องจักรต่างๆมากมาย เริ่มมาจากประเทศอังกฤษเป็นผู้นำ แล้วแพร่ขยายไปทั่วโลก ทำให้มนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงจากการพึ่งพาดินฟ้าอากาศมาพึ่งเครื่องจักรแทน การบริหารจัดการด้านอุตสาหกรรมเน้นการผลิตปริมาณมาก และตลาดอยู่ในมือผู้ผลิต คนทำงานถูกมองเหมือนเครื่องจักร มีระบบการบริหารจัดการเกิดขึ้นมากมายซึ่งส่วนใหญ่เน้นไปที่การผลิตให้ได้มากๆ และมีการแบ่งงานกันทำตามความสามารถ คนในยุคนี้จึงทำงานเหมือนเครื่องจักร

           3 ยุคสารสนเทศ (Information Technology Era) ยุคนี้ถัดมาจากยุคอุตสาหกรรม จุดต่ออยู่ที่ประมาณ 30 ปีมาแล้ว ตัวจุดประกายให้เปลี่ยนยุคมาจากการปฏิวัติระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เช่น Main frame ถูกพัฒนามาเป็น PC และต่อมาจนเป็น Notebook จุดพัฒนาต่อมาจากคอมพิวเตอร์ก็คือโทรศัพท์มือถือ ในขณะเวลาใกล้เคียงกันก็เกิดอินเทอร์เน็ตขึ้นมา พัฒนาการของระบบสารสนเทศเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ ระบบการบริหารจัดการจึงเปลี่ยนไปด้วยเพราะตลาดเริ่มเปลี่ยนมาอยู่ในมือของผู้ซื้อ การแข่งขันกันในด้านธุรกิจจึงสูงมาก ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการต้องสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ระบบการบริหารจัดการมุ่งเน้นไปที่สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

          เป็นปกติธรรมดาที่ระบบต่างๆเหล่านี้จะเริ่มมาจากภาคอุตสาหกรรมก่อน หลังจากนั้นภาคการบริการเอกชนจึงปรับตามไม่เช่นนั้นก็คงสื่อสารกันไม่ได้ และในที่สุดภาคการบริการของรัฐก็ต้องปรับตามไปอีกเช่นกัน ไม่เช่นนั้นเอกชนก็จะหนีไปลงทุนที่อื่นหมด เพราะพูดกับรัฐไม่รู้เรื่อง เนื่องจากการบริหารจัดการล้าหลังตามเอกชนไม่ทัน

          ประเทศไทยก็ไม่น้อยหน้าประเทศอื่นในด้านพัฒนาการของสิ่งเหล่านี้ เพราะประเทศไทยมุ่งการพัฒนาประเทศในทางอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหรรมภายในประเทศจึงมีมากมาย ที่รวมถึงอุตสาหรรมที่มีการส่งออกเป็นจำนวนมหาศาล การนำระบบการบริหารจัดการที่ทันสมัยมาใช้จึงไม่ได้เน้นที่การพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังจำเป็นต้องแสดงให้ผู้อื่นเห็นได้ว่ากิจการของตัวเองมีพัฒนาการที่ทันสมัยและเป็นสากล ซึ่งจำเป็นต้องมีการขอรับการรับรองระบบการบริหารจัดการ จากองค์กรที่เป็นสากล เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ

          ระบบการบริหารจัดการจึงถูกมองออกเป็น 2 รูปแบบคือระบบที่ทำไปแล้วไม่สามารถขอการรับรองได้ กับระบบที่สามารถขอการรับรองได้ องค์กรที่ทำระบบประเภทแรกเป็นองค์กรที่มุ่งมั่นจะพัฒนาตนเองอย่างแท้จริง เป้าหมายในการวางระบบมุ่งไปที่การพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ระบบพวกนี้ก็ได้แก่ 5ส, QCC, Balanced Scorecard, ระบบลีน ระบบ TQM และระบบอื่นๆอีกมากมาย สำหรับองค์กรที่พัฒนาตนเองโดยนำระบบงานที่มีการรับรองมาใช้หากมีความตั้งใจที่ถูกต้องก็จะได้สองต่อคือมีระบบงานที่ดีด้วยและได้รับการรับรองจากองค์กรที่เป็นสากลเพื่อเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพของตนเองให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วย

          อย่างไรก็ตามการนำระบบงานประเภทที่สองนี้มาใช้กลับเป็นดาบสองคม เพราะวัตถุประสงค์ในการทำระบบนั่นเอง วัตถุประสงค์ควรจะมาจากการที่ตั้งใจไว้ว่าจะต้องวางระบบให้การทำงานมีประสิทธิภาพ แล้วถือว่าการได้รับการรับรองเป็นผลพลอยได้ หากเป็นเช่นนี้ก็จะได้สองต่อตามที่ว่าไว้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่องค์กรจำนวนมากที่น่าจะเกินครึ่งด้วยซ้ำในประเทศไทยที่วางระบบประเภทนี้ได้ยกเอาวัตถุประสงค์ของการได้รับการรับรองขึ้นมาก่อน เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้รับการรับรอง และอาจไม่สนใจด้วยซ้ำว่าองค์กรของตนจะพัฒนาขึ้นหรือไม่ ประกอบกับองค์กรที่ให้การรับรองที่เน้นไปที่การทำธุรกิจว่าจะต้องมีลูกค้ามากๆ การรับรองจึงเป็นไปอย่างหละหลวม ทั้งที่ตั้งใจจะให้มันหละหลวมและไม่ตั้งใจ จนในที่สุดระบบประเภทหลังนี้ก็ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะความเสื่อมไม่ได้อยู่ที่ตัวระบบ แต่ไปอยู่ที่ตัวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องนั่นเอง

          เป็นที่เข้าใจกันดีว่าในยุคปัจจุบันการที่จะนั่งทำงานประจำกันไปวันๆ หากเป็นภาคเอกชนก็ไม่มีทางที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว และหากเป็นภาครัฐที่พึงพิงแต่งบประมาณที่รัฐให้มาแต่อย่างเดียว โดยไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้มารับการบริการก็แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ และความจริงใจของผู้บริหารได้อย่างชัดเจน ดังนั้นทุกองค์กรจึงจำเป็นต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการนำระบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมมาใช้อย่างตั้งใจจริง

          พัฒนาการของระบบการบริหารจัดการของประเทศไทยนั้นมีมากมาย เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่นำเข้าระบบงานเหล่านี้ โดยมีน้อยนักที่เราจะคิดขึ้นมาเอง การนำเข้าของประเทศไทยเป็นไปอย่างหลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกที่สร้างระบบเหล่านี้ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่นที่เป็นต้นตอหลัก ย่อมเป็นธรรมดาที่ว่าใครสร้างสิ่งใดขึ้นมาก็ต้องเป็นไปตามวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อมของผู้สร้าง การที่จะนำสิ่งที่ผู้อื่นสร้างไว้มาใช้จำเป็นต้องเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นอย่างชัดเจน ซึ่งอาจไม่สามารถนำมาใช้แบบ copy ได้ 100%

          ในอดีตผู้บริหารเพียงรู้จักวิธีการบริหารจัดการในระดับ POSTCoRB ที่ประกอบด้วย P = Planning (การวางแผน), O = Organizing (การจัดองค์กร), S = Staffing (การจัดคนเข้าทำงาน), D = Directing (การสั่งการ), Co = Co-ordinating (การประสานงาน), R = Reporting (การรายงาน) และ B = Budgeting (การงบประมาณ) ก็สามารถบริหารงานให้ดีได้แล้ว แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป POSTCoRB แค่นี้ไม่พอ ผุ้บริหารต้องรู้จักการบริหารเชิงกลยุทธ์ รู้จักวิสัยทัศน์ รู้จักกลยุทธ์ รู้จักกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย มีภาวะผู้นำ รู้เรื่องการทำงานเป็นทีม รู้เรื่องการกระจายอำนาจ และอีกมากมาย จึงจะเป็นผู้บริหารที่เป็นที่ยอมรับ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นองค์ประกอบอยู่ในระบบการบริหารจัดการสมัยใหม่ทั้งสิ้น

          ด้วยความหลากหลายเหล่านี้ ประกอบกับไม่สามารถมองภาพรวมออก จึงทำให้เกิดความเข้าใจในระบบเหล่านี้ไม่ชัดเจนพอ ผมจึงได้พยายามเขียนบทความออกมาเพื่ออาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ เนื่องจากเนื้อหาสาระจึงมีมาก และอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไข และเพิ่มเติมเมื่อกาลเวลาผ่านไป จึงได้จัดทำ website ที่เป็นเรื่องราวเหล่านี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ http://www.topofquality.com โดยเข้าไปที่เมนู “บทความ” หัวข้อต่างๆจะพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีหัวข้อดังต่อไปนี้

 

1 ปรมาจารย์บริหารจัดการ

Guru - ปรมาจารย์ในระบบการบริหารจัดการ

 

2 ระบบขนาดใหญ่

Cost Down - การลดต้นทุน

CSR – Corporate Social Responsibility

JIT - Just In Time - ระบบทันเวลาพอดี

Lean Manufacturing - การผลิตแบบลีน

TPM – Total Preventive Maintenance vs Total Productive Maintenance

TQA – Thailand Quality Award

TQM – Total Quality Management

 

3 ระบบขนาดกลาง

Balanced Scorecard – BSC

Change Management - การบริหารความเปลี่ยนแปลง

Customer Relationship Management (CRM) - การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า

Competency - สมรรถนะ

EVM – Economic Value Management - การบริหารมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์

HACCP และ GMP

ISO 9000

ISO 14000

ISO/TS 16949

ISO/TS 16949: Core Tools

ISO/TS 16949: Core Tools - APQP

ISO/TS 16949: Core Tools - FMEA

ISO/TS 16949: Core Tools - SPC

ISO/TS 16949: Core Tools - MSA

ISO/TS 16949: Core Tools - PPAP

ISO/TS 16949: Control Plan - แผนควบคุม

ISO 17025

ISO 17025: Uncertainty of Measurement: Fundamental - ความไม่แน่นอนของการวัด: พื้นฐาน

ISO 22000

ISO 50001

Knowledge Management - การจัดการความรู้

OHSAS 18000

Productivity - ผลิตภาพและการเพิ่มผลผลิต

SA 8000

Six Sigma

Statistical Process Control (SPC) - การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ หรือ Statistical Process Control (SQC) - การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ

SWOT วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์

Value Engineering - วิศวกรรมคุณค่า

 

4 ระบบขนาดเล็ก

5S - กิจกรรม 5ส

Benchmarking - การเทียบเกณฑ์

Cross Functional Activity - กิจกรรม CFA

Good Governance - ธรรมาภิบาล

kaizen - ไคเซ็น

Leadership - ภาวะผู้นำ

New Seven QC Tools - เครื่องมือคิวซีใหม่เจ็ดอย่าง

Poka Yoke - โพคะ โยเกะ

Risk Management - การจัดการความเสี่ยง

QC Story

Quality Control Circle - QCC - กิจกรรมกลุ่มย่อย

Sampling Plan and Criteria - แผนการชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

Seven QC Tools - เครื่องมือคิวซีเจ็ดอย่าง

Suggestion System - กิจกรรมเสนอแนะ

 

5 เครื่องมือ

Brain Storming - เทคนิคการระดมสมอง

Cause and Effect Diagram – แผนภาพสาเหตุและผล

Check Sheet - แบบตรวจสอบ

Control Chart - แผนภูมิควบคุม

Design of Experiment – DOE – การออกแบบทดลอง

FMEA – Failure Mode and Effect Analysis - การวิเคราะห์รูปแบบความเสียหายและผลกระทบ

Gantt's Chart - แกนท์ชาร์ต

Graph - กราฟ

็Histogram - ฮีสโตแกรม

Kanban - คัมบัง

Pareto Chart - แผนภูมิพาเรโต

PERT (Program Evaluation Review Technique) and CPM (Critical Path Method)

Process Capability (ความสามารถของกระบวนการ)

Quality Function Deployment – QFD

Scatter Diagram - แผนภาพการกระจาย

Statistic 1 – Mean (ค่าเฉลี่ย) – Mode (ฐานนิยม) – Median (มัธยฐาน)

Statistic 2 – Range (พิสัย) – Standard Deviation (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)

Statistic 3 – Population (ประชากร) – Sample (ตัวอย่าง)

Statistic 4 – Normal Curve (เส้นโค้งปกติ)

Statistic 5 – Class Interval (อันตรภาคชั้น)

Statistic 6 – Probability (ความน่าจะเป็น)

Statistic 7 - Percentile (เปอร์เซนไทล์), Decile (เดไซล์) และ Quatile (ควอไทล์)

Statistic 8 – Hypothesis Testing – การทดสอบสมมุติฐาน

Statistic 9 – Z test – การทดสอบซี

Statistic 10 – t test  การทดสอบที

Statistic 11 – Chi Square test การทดสอบไคสแควร์

Statistic 12  - Analysis of Variance - ANOVA –การวิเคราะห์ความแปรปรวน

Statistic 13 - Correlation – สหสัมพันธ์

Statistic 14 - Regression Analysis – การวิเคราะห์การถดถอย

Stratification - การจำแนกประเภทข้อมูล

 

6 อื่นๆที่ควรรู้

IAFองค์กร

ISO องค์กร

Muri Mura Muda

Seven Waste - ความสูญเสีย 7 ประการ                   

หมายเลขบันทึก: 472110เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท