Evidence-based Practice 1 No.1-10


ประมวลความรู้จากนักศึกษากิจกรรมบำบัด ม.มหิดล เลขที่ 1-10

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธ.ค. 54 ในช่วงเวลา 08.00น. มีการเรียนการสอนวิชาสัมมานาทางกิจกรรมบำบัดของนักศึกษา เกี่ยวกับหลักฐานเชิงประจักษ์หรือEvidence-based Practice ซึ่งเป็นการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ (ท้าทายมากๆๆ) จำนวน 10 คนดังนี้ค่ะ

 

คนที่ 1. จะแนะนำวิธีการเกี่ยวกับ Constraint-induecd Movement Therepy : CIMT เป็นการรักษาที่ช่วยให้ผู้รับบริการได้ใช้มือข้างที่อ่อนแรงทำกิจกรรมและจำกัดข้างที่มือแรงไว้ไม่ให้ใช้งาน ร่วมกับการใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย

 

คนที่ 2. จะพูดถึง Eating Pattern ในเด็กมี 4 Pattern ดังนี้ 

1. Automatic Phasic Bite-Release Pattern คือ พฤติกรรมสบฟันและปล่อย ขากรรไกรเคลื่อนไหวในทิศทางขึ้นลง เป็นลำดับแรกของการเคี้ยว พบในช่วงอายุ แรกเกิด จนถึง 3-5 เดือน

2. Suckling Pattern คือ เป็นขั้นตอนหนึ่งของการดูด ซึ่งมีการเคลื่อนไหวของลิ้น ยื่นอกมาด้านหน้าและดึงกลับเข้าไปในช่องปาก พบในช่วงอายุ 2-4 สัปดาห์ จนถึง 5-6 เดือน

3. Muching Pattern คือ เป็นลำดับขั้นตอนแรกของการเคี้ยวเอื้อง พบในช่วงอายุ 5 เดือนขึ้นไป

4. Mature Bite Pattern คือ แบบแผนการกัดที่สมบูรณ์ พบได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี ขึ้นไป ต้องอาศัยการงอกของฟันที่แข็งแรง ในการใช้ฟันกัด เคี้ยว บด อาหารได้


คนที่ 3. จะพูดเกี่ยวกับดนตรืบำบัดในผู้ป่วยจิตเภท โดยใช้การให้ดนตรีในการให้จังหวะ เป็นการเพิ่มสมาธิ มีการเน้นด้านกิจวัตรประจำวัน ด้านการรับรู้ความเข้าใจ เพื่อเพิ่มทักษะในชีวิตประจำวัน

 

คนที่ 4. Case  Severe Aortic valve replecement (AVR) ในบทบาทนักกิจกรรมบำบัด คือจะเน้นที่การฝึกกล้าเนื้อส่วนลำคอ กิจกรรมเป่าฟองสบู่ , กิจกรรมที่สงวนพลังงานโดยการปรับกิจกรรม และเน้นส่วนของการทำงานของมือ การหยิบจับสิ่งของ

 

คนที่ 5. เป็น Case เกี่ยวกับ Chromosome คู่ที่ 19 ผิดปกติ ปัญหาหลักเกี่ยวกับด้านการรับประทานอาหาร ที่มาจากปัญหาพฤติกรรม

 

คนที่ 6. Case จิตเภทเน้นด้าน Socil skill training โดยนักกิจกรรมบำบัดจะมององค์ประกอบหลักคือ ความต้องการของผู้รับบริการ ผู้รับบริการชอบ ทำอาหาร นักกิจกรรมบำบัดจึงจัดกิจกรรมทำอาหารและมองบริบทตั้งแต่ด้านการปรับแตงตนเองของผู้รับบริการ การดูแลตนเอง การรับรู้ด้านอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น การรู้จักเริ่มบทสนทนา การทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งผู้รับบริการยังเกิดความภาคภูมิในตนเอง

 

คนที่ 7. เป็น Case เกี่ยวกับ Alcohol withdrawal ซึ่งจะเน้นหลักการเกี่ยวกับ Cognitive Behavioural Therapy (CBT) ให้แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความเครียด วิธีแก้ปัญหาในทางที่เหมาะสม ไม่เลือกการดื่มสุรา

 

คนที่ 8. เป็น กระดูกหักที่บริเวณข้อมือด้านนิ้วโป้ง (Posterior fracture distal end of radius in the right hand) มีอาการดีขึ้นแต่ยังไม่สามารถตัดเล็บได้เอง ซึ่งนักกิตชจกรรมบำบัดจึงคิดและวิเคราะห์กิจกรรมก่อน เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมตัดเล็บได้ด้วยตนเอง คือ นักกิจกรรมจัดกิจกรรมโดยใช้ไม้หนีบผ้ามาหนีบขอบกล่อง เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อมือและรูบแบบของไม้หนีบผ้ายังคล้ายกรรไกรตัดเล็บด้วย  จากนั้นจึงฝึกความแม่นยำโดยการปักหมุดอันเล็กๆ  และกิจกรรมใช้กรรไกรตัดเล็บตัดกระดาษเป็นรูปเล็บก่อน เมื่อนักกิจกรรมบำบัดเห็นว่าผู้รับบริการสามารถตัดเล็บได้จริงจึงให้ลองตัดเล็บได้

 

คนที่ 9. เป็น Case กระดูกหักอีกCase ที่หัก 2 รอบ บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด คือ Splint, scar massage/ Exercuise และ คำนึงถึงบริบทแวดล้อมในการทำกิจวัตรประจำวัน การทำงานและการทำงานอดิเรก อีกด้วย

 

คนที่ 10. Case Stroke โดยเป็นฝึกกิจกรรมที่ใช้ Unilateral และ Bilateral ว่าการทำกิจกรรมแบบใดดีกว่ากัน  จากเพื่อนนักศึกษาที่ได้นำเสนอบอกว่า ใช้ได้ดีได้ทั้ง 2 แบบ เพราะเป็นการใช้งานของมือข้างที่เป็นอัมพาต เหมือนกันทั้ง 2 แบบ

 

ในคาบการเรียนการสอนวันนี้ได้ทำให้นักศึกษากิจกรรมบำบัดได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจริงๆๆ

ต้องขอบคุณอาจารย์ป็อบ และอาจารย์ติ๊ก ที่ให้ความรู้เพิ่มเติมจากเพื่อนนักศึกษา

และขอบคุณเพื่อนๆนักศึกษาทั้ง 10 คนที่ได้นำเสนอความรู้ทางกิจกรรมบำบัดเกี่ยวกับ Case ต่างๆ ^__^

หมายเลขบันทึก: 472101เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท