กบนอกกะลา ศึกษาจากผู้เยี่ยมยุทธ์


สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น

กบนอกกะลา..ศึกษาจากผู้เยี่ยมยุทธ์                        

             สืบเนื่องจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 พวกเราได้จัดทำตารางอิสรภาพและประเมินตนเองกันใหม่อีกครั้ง  รวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ ในการนำคู่มือการป้องกันแผลกดทับไปใช้ในเครือข่ายของตนเอง   เกิดปิ๊งแว่บ !    ..กงไกรราชว่าเชื่อมโยงผู้ป่วยตั้งแต่สุโขทัยไปถึงบ้าน    ทีม ตสม.กลับมาจึงนัดแลกเปลี่ยนระหว่างร..บ้านตากว่าสองเราจะส่งต่อกันอย่างไรดีเพื่อให้คนไข้ได้รับการเฝ้าระวังแผลกดทับอย่างเนื่อง   พุดคุยกันก็ยังไม่เห็นสภาพจริงในทางปฏิบัติ     จึงทำตัวเป็นกบนอกกะลาออกไปศึกษาจากผู้เยี่ยมยุทธ์                       

             เราแกะรอยคนไข้ตั้งแต่โรงพยาบาลสุโขทัย  ทีมงานสุโขทัยต้อนรับกันอย่างดีแถมเลี้ยงข้าวกลางวันอีกต่างหากมีน้องนุชจากร..กงฯและน้องวชิราภรณ์ ร..บ้านด่านลานหอยมาคอยแลกเปลี่ยนด้วย     พี่แหม่มสุโขทัยเล่าว่า ถ้ามีคนไข้ที่ต้องReferกลับไปให้กงไกรราชหรือบ้านด่านพยาบาลหอผู้ป่วยจะถ่ายเอกสารใบเฝ้าระวังแผลกดทับ  แนบกับใบreferที่แพทย์เขียนให้  หรือหากจำหน่ายกลับบ้านก็จะถ่ายเอกสารใบเฝ้าระวังแผลกดทับใบ บส.(ก็ใบHome chartที่พวกเราใช้ส่งต่อผู้ป่วยให้ทีม เยี่ยมบ้านนั่นแหละ ) ถ้าเกิดเหตุขัดข้องไม่สามารถแนบใบเฝ้าระวังไปได้จะส่งโทรสารไปให้ภายหลัง   เพื่อให้  รพ..หรือ สอ. ประเมินต่อเนื่องได้เลย                          ภาคบ่ายทีมสุโขทัย  น้องนกยูง   น้องลีICUกับเพื่อนๆ (ขออภัยที่จำชื่อไม่หมด)นำทีม ตสม.ไป ร..กงไกรราช   มีน้องนุชและทีม(ขออภัยอีกครั้งที่จำชื่อไม่หมด) มารับถึงประตูรถตู้ทีเดียว   ติดช่อดอกคัทรียาเล็กๆให้แขกทุกคน  น่าประทับใจ     พาเยี่ยมชมหอผู้ป่วย  ขออนุญาตถ่ายรูปเนื่องจากปิ๊งแว่บเหล็กกั้นเตียงบุนวมป้องกันกระแทกหรือเด็กหลุดรอดราวกั้น  นอกนั้นก็พากันไปบ้านผู้ป่วย 2 บ้าน        2 รายแรกอยู่บ้านดียวกันเป็นพ่อลูก ไม่มีแผลกดทับ ใช้ที่นอนลมที่ซื้อต่อจากคนอื่นประสิทธิภาพใช้ได้ดี   ผู้ดูแลสามารถดูแลผู้ป่วยทั้งสองคนได้อย่างดีทั้งพลิกตัว  ทำอาหารปั่น  ทำแผลเจาะคอและล้างท่อเจาะคอ  ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านเห็นจะเป็นเตียงผู้ป่วยไม้ประดิษฐ์เองที่สามารถยกหัวเตียงขึ้นสูงได้ขณะให้อาหารทางสายยาง   และมุ้งผ้าม่านที่ผู้ดูแลทำจากผ้าม่านโปร่งขึงกั้นเป็นห้องเนื่องจากมีผู้ป่วย 2 คนที่ต้องดูแลในเวลาเดียวกัน  ชายม่านใช้โซ่เหล็กถ่วงกั้นลมพัดป้องกันแมลงเข้าไปรบกวน   คุณป้าผู้ดูแลบอกว่าคิดเองจากปัญหาแมลงเข้าไปไข่ที่ท่อช่วยหายใจมีหนอนขึ้น  ทีมงานเข้าไปในห้องม่านเข้าลมโกรกดีมากเพราะว่าโปร่งว่าผ้ามุ้งปรกติ  ข้างในยังมีจานใส่ใบเตยและมะกรูดช่วยดับกลิ่นอีกด้วย นับว่าใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก้ปัญหาได้ดี                

        รายต่อไปเป็นคุณยายอายุเกือบ 90 ปี  มีแผลกดทับที่สะโพกซ้าย เกรด 2 ขนาดประมาณ 2X2เซนติเมตรให้อาหารทางสายยาง   มีเตียง fowler ที่โรงพยาบาลให้ยืมมา  ที่นอนลมชนิดรังผึ้งมีปัญหา  น้องลีสุโขทัยช่วยกันตรวจสอบพบว่าปั๊มลมแรงลมไม่ดีเลยทำให้ที่นอนมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอ   ทีม ตสม.ก็เลแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนะให้ซ่อมเครื่องปั๊มโดยใช้เครื่องปั๊มลมในตู้ปลาซึ่งช่างของทางร..ตสม.ทดลองเปลี่ยนแล้วพอใช้ได้  ญาติก็พอใจสำหรับรายนี้ทีมทั้งช่วยกันวิเคราะห์ว่าคุณยายอาจ  albumine ต่ำก็ได้ให้ทดลองเพิ่มไข่ขาวในอาหาร feedเพราะญาติพลิกตัวดี คุญยายรับ feed ได้หมด หากสายอาหารหลุดหรือตัน ญาติมีเบอร์โทรศัพท์ที่สถานีอนามัยเจ้าหน้าที่สามารถมาช่วยเหลือได้ทันเวลา  สำหรับรายนี้น้อง สอ.ตามมาเยี่ยมด้วยและวางแผนร่วมกับน้องนุชกงไกรราชว่ากลับมาเยี่ยมอีกครั้งใน วันที่ 20 กันยายน 2549   พูดคุยกับน้องๆได้รายละเอียดว่า ทีมเยี่ยมบ้าน ร..กงไกรราชจะออกเยี่ยมบ้านเองทั้งในพื้นที่รับผิดชอบและเครือข่ายโดยมีแฟ้มเอกสารผู้ป่วยมีการถ่ายเอกสารการเฝ้าระวังแผลกดทับทับให้ ทีมเยี่ยมบ้านของสถานีอนามัยประเมินต่อเนื่อง  ออกเยี่ยมพร้อมกันเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้และประเมินผู้ป่วยและวางแผนดูแลร่วมกันเตลอดเวลา  ในปีงบประมาณ 2550 ทีมเยี่ยมบ้านกงไกรราชจะปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้นิเทศงาน โดยใช้แฟ้มดูแลผู้ป่วยเฉพาะรายทิ้งไว้ที่บ้านผู้ป่วย  ทีมไหนมาเยี่ยมให้ลงบันทึกผลการดูแลให้อีกทีมรับทราบข้อมูลความก้าวหน้าของผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง                       

          ทีมงานสุโขทัย และทีมงาน ตสม.ร่ำลากันที่หน้าบ้านคุณยายแยกย้ายกันกลับขอบคุณ ทีมน้องสอ……  ทีมน้องกงไกรราช   และทีมพี่ๆน้องๆสุโขทัยโดยเฉพาะนายแพทย์ละลิ่ว จิตการุญผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุโขทัย  พี่กลางรองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลสุโขทัย  พี่แหม่มงาน ICโรงพยาบาลสุโขทัย  ที่ทำหน้าที่เป็นเอื้อ ( CKO )  และคุณอำนวยที่ช่วยให้การศึกษาผู้เยี่ยมยุทธ์ในวันนี้สำเร็จอย่างน่าประทับใจ

บันทึกบทเรียนจากการเรียนรู้  21สิงหาคม 2549

1.         ปัญหาแผลกดทับเป็นปัญหาของโรงพยาบาลมากกว่าสอ.หากต้องการความร่วมมือต้องลงแรงเองก่อนให้ได้ใจคนในพื้นที่แล้วจึงผ่องถ่ายความรับผิดชอบ

2.         ความสัมพันธ์ที่ดีในทีมงานเยี่ยมบ้านทั้งโรงพยาบาลและสถานีอนามัย  จะช่วยเสริมส่วนขาดของกันและกันได้ดี โรงพยาบาลจะให้ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ในการดูแล   สถานีอนามัยจะช่วยดูแลต่อเนื่องในพื้นที่ได้ใกล้ชิดและทันเวลา

3.         การเพิ่มทักษะในการดูแลผู้ป่วยให้กับญาติจะช่วยลดอุบัติการณ์ Re-admitได้เป็นอย่างดี

ข้อเสนอแนะ                       

       หากมีการเชื่อมโยงการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่โรงพยาบาลศูนย์      โรงพยาบาลทั่วไป           โรงพยาบาลชุมชน            สถานีอนามัย จะช่วยทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลต่อเนื่องทั้งเรื่องการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  และการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา

แผนของโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช 

ทั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549      จะเริ่มมีการส่งต่อการเฝ้าระวังแผลกดทับในรายที่จำหน่ายกลับบ้านในเขตที่ โรงพยาบาลรับผิดชอบ      และในรายที่มีการ refer กลับไปยังโรงพยาบาลบ้านตาก  ตามข้อตกลง                                                                                                                                                                                                                                             

 (น่าเสียดายที่ไม่สามารถนำรูปลงมาให้ชมได้พยายามหลายครั้งแล้ว)                                                                                              
หมายเลขบันทึก: 47188เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2006 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • บันทึกได้ละเอียด และได้บรรยากาศการ ลปรร.ที่ดีมากครับ
  • เรื่องรูปหากมีปัญหาในการส่งไฟล์ ยินดี ลปรร.เท่าที่พอจะรู้ 06-6764561 ครับ
น่าจะมีการเชื่อมโยงถึงชุมชน  โดยการมีส่วนร่วมของ อบต. หรือ ผู้นำชุมชน   เพื่อให้มีการดูแลกันในชุมชน
พี่แหม่ม IC โรงพยาบาลสุโขทัย

COP  bedsore QA_Zone II  

  • เห็นด้วยกับบทเรียน จากการเรียนรู้ เมื่อ 21  สิงหา 49
  • ชื่นชม น้องนุช และทีมงานพยาบาลกงไลลาศ   น้องเขาเข้าใจคำว่า ผู้ป่วยเป็นศุนย์กลาง
  • ต้องลงแรงเองก่อน
  • ทำให้ได้ใจคนที่เราเกี่ยวข้องแล้วจึงผ่องถ่ายความรับผิดชอบ
  • ดูแลต่อเนื่องในพื้นที่ได้ใกล้ชิดและทันเวลา
  • Empowerment ผู้ป่วย- ญาติ

 หวังว่าทีมงาน ตสม. นำเสนอ สู่สาธารณะได้ พร้อม กลับมาแสดงความยินดีที่ เพรชบูรณ์  (วันที่ 23  ก.ย.)

ขอบคุณคุณสิงห์ป่าสักที่กรุณาให้คำแนะนำในการนำรูปลงในblog   ถ้ามีอะไรช่วยแนะนำเพิ่มเติมอีกนะคะพวกเรายังมือใหม่หัดขับเพิ่งจะเริ่มเรียนรู้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท