ถอดบทเรียนกระบวนการขออุญาตเดินทางไปต่างประเทศของคนไร้สัญชาติ


สืบเนื่องจากการเช็คเมล์เก่าๆ วันนี้จึงเจอเอกสารสรุปกระบวนการขออกนอกประเทศ+ทำหนังสือเดินทาง+ขอวีซ่า ของกรณีศึกษานางสาวศรีนวล เสาร์คำนวล อดีตคนไร้สัยชาติจากแม่สาย ซึ่งปัจจุบันได้รับการลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 เมื่อต้นปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้วค่ะ

สรุปขั้นตอนการดำเนินการต่ออายุหนังสือเดินทางและขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปต่างประเทศ
และขอกลับเข้ามาในราชอาณาจักร ของคนไร้สัญชาติ

 

ขั้นที่ ๑. ยื่นคำร้องขอต่ออายุหนังสือเดินทาง

  • เอกสารที่ต้องเตรียม: 

เจ้าของปัญหา

ผู้ให้ความช่วยเหลือ

๑.     รูปถ่าย ๒ นิ้ว ๑ รูป

๒.     สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลไม่มีสัญชาติไทย

๓.     สำเนาทะเบียนประวัติ

๔.      สำเนาแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎร(ท.ร.๑๔/๑)

๕.      หนังสือรับรองเพื่อยืนยันการเชิญเข้าศึกษาต่อยังต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยวิสคอนซิล(ฉบับเดิม)

๖.      หนังสืออนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยให้เดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศตลอดหลักสูตร(ได้ตลอด ๕ ปี) และอนุญาตให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรได้อีก

๗.    หนังสือเดินทาง Travel Document for Aliens ฉบับจริง

๑.     หนังสือความเห็นทางกฎหมาย(Legal Comment)

๒.     จดหมายจากองค์กรฯ(ศูนย์ลูกหญิง)เพื่อขอต่ออายุหนังสือเดินทางและขอ Re Entry Visa

 ส่งถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และนำไปกรมการกงสุลในวันต่ออายุหนังสือเดินทาง และขอ Re Entry Visa

 ส่งถึงผู้อำนวยการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

  • สถานที่ยื่นคำร้อง : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ(แจ้งวัฒนะ)
  • ระยะเวลาการดำเนินการ : ๑ วัน (ภายในวันที่ไปดำเนินการ)

 

ขั้นที่ ๒. ยื่นคำร้องขอ Re Entry Visa

  • เอกสารที่ต้องเตรียม: เหมือนกับเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุหนังสือเดินทาง และหนังสือเดินทาง
  • สถานที่ยื่นคำร้อง : กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ(แจ้งวัฒนะ)
  • ระยะเวลาการดำเนินการ : ๑ วัน (ภายในวันที่ไปดำเนินการ)

 

ขั้นที่ ๓. ยื่นคำร้องขอ Visa

  • เอกสารที่ต้องเตรียม: เหมือนกับเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุหนังสือเดินทาง และหนังสือเดินทางที่ประทับลงตรา Re Entry Visa
  • สถานที่ยื่นคำร้อง : สถานกงสุล ประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย (เชียงใหม่ หรือกรุงเทพ)
  • ระยะเวลาการดำเนินการ : ๓-๗ วัน 
หมายเลขบันทึก: 471557เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2011 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เราน่าจะตั้งวงเสวนาวิชาการเรื่องสิทธิในการเดินทางของบุคคลที่มีปัญหาสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายกันนะคะ เพื่อทบทวนความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับข้อกฎหมายและข้อนโยบาย อ.ไหมคิดอย่างไรคะ ?

อ.ไหมคะ บันทึกของ อ.ไหมมีลักษณะเฉพาะมากเลย แต่ก็โอเคที่ทำขึ้นมาเพื่อรับรู้ร่วมกัน อ.ไหมมีความเห็นที่อยากเสนอแนะดังนี้นะคะ

  1. เมื่อเป็นเรื่องของนางสาวศรีนวลเท่านั้น จึงต้องระบุชื่อเคสในชื่อบันทึกและคำสำคัญนะคะ
  2. เมื่อเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ USA เท่านั้น ก็น่าจะระบุพื้นที่ศึกษาในชื่อบันทึกนะคะ
  3. เมื่อเป็นการบันทึกการทำงานในช่วงเวลาหนึ่ง ก็ควรระบุช่วงเวลานะคะ
  4. เอกสารที่ใช้นั้น ควรเอามาลบข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องปกปิดและอัพโหลดเป็น PDF และลากมาแขวนในบันทึกนะคะ
  5. แล้วจะบันทึกถึงกรณีของอ.อายุและน้องหม่องด้วยไหมคะ
  6. แล้ว อ.เชอรี่จะบันทึกแบบนี้ไหมคะ ?
  7. แล้ว อ.ไหมจะกลับมาทำงานในบันทึกนี้จนจบไหมคะ ? เอาให้ทันตอนสอนสิทธิขั้นพื้นฐานในห้องเรียนคดีบุคคลมอนอนะคะ

ดีค่ะ กำลังสงสัยเกี่ยวกับข้อนโยบายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท