พันธุ์ข้าว


กข29 (ชัยนาท 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว103 วัน ในฤดูนาปี และ 99 วันในฤดูนาปรัง เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม กอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย สูงเฉลี่ย 104 เซนติเมตรใบสีเขียวเข้ม ใบธงตั้งตรง รวงแน่นปานกลาง คอรวงยาว เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียว ยาว 7.34มิลลิเมตร กว้าง 2.23 มิลลิเมตร หนา 1.80 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง (26.6-29.4%) ระยะพักตัวของเมล็ด 4-6 สัปดาห์ผลผลิตเฉลี่ย 876 กิโลกรัม/ไร่

ลักษณะเด่น 

1. อายุสั้น มีอายุวันเก็บเกี่ยว 99 วัน ในฤดูนาปรัง และ103 วันในฤดูนาปี เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม

2. ผลผลิตสูง เฉลี่ย 876 กิโลกรัมต่อไร่

3. ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในภาคเหนือตอนล่าง และโรคขอบใบแห้ง

4. เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมากสามารถสีเป็นข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ได้

5. มีปริมาณธาตุเหล็กในข้าวกล้อง 15.7 มิลลิกรัม ต่อ1 กิโลกรัม ในข้าวสาร 6.7 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

พื้นที่แนะนำ

พื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ตอนบน ที่ต้องการข้าวอายุสั้น โดยเริ่มปลูกในเดือนสิงหาคม

ธันวาคม และเมษายน หรือสำหรับปลูกหลังถูกน้ำท่วมในฤดูฝนและสามารถปลูกและเก็บเกี่ยวได้ 2 ครั้งในฤดูนาปรังก่อนถูกน้ำท่วม

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งมีอากาศเย็น ทำให้เมล็ดลีบมาก ผลผลิตต่ำ

2. กข29 (ชัยนาท 80) อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม ปทุมธานี ราชบุรี และฉะเชิงเทรา

กข31 (ปทุมธานี 80) เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ต้นสูงเฉลี่ย 117 เซนติเมตร อายุ

เก็บเกี่ยว 118 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีปักดำ และ 111 วัน เมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้ง

คอรวงยาว รวงยาว 29.9 เซนติเมตร ติดเมล็ด 90 เปอร์เซ็นต์จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 130 เมล็ด นวดง่าย เปลือกเมล็ดสีฟางเมล็ดไม่มีหาง ข้าวกล้องสีขาว เป็นท้องไข่น้อย รูปร่างเรียวยาว 7.39 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.84

มิลลิเมตร คุณภาพการสีดี ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 47.5เปอร์เซ็นต์ ปริมาณแอมิโลส 27.3 – 29.8 เปอร์เซ็นต์

อุณหภูมิแป้งสุกระดับปานกลาง แป้งสุกอ่อน ข้าวสุกค่อนข้างแข็ง ไม่หอม ระยะพักตัวของเมล็ด 5 สัปดาห์

ผลผลิตเฉลี่ย 745 กิโลกรัม/ไร่ (ปักดำ)

เฉลี่ย 738 กิโลกรัม/ไร่ (นาหว่านน้ำตม)

ลักษณะเด่น

1. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพสม่ำเสมอกว่าพันธุ์สุพรรณบุรี 1

2. ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาว ค่อนข้างต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง โรคใบจุดสี

น้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง

3. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย ผลผลิตสูง ปลูกโดยวิธีปักดำให้ผลผลิต 745 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าผลผลิตของพันธุ์

สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ และปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตมให้ผลผลิตเฉลี่ย 738 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่า

ผลผลิตของพันธุ์สุพรรณบุรี 1 ประมาณ 5 เปอร์เซ็นต 

 

พันธุ์ กข39 เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยว

125-130 วัน ต้านทานต่อโรคไหม้ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็งไม่ล้ม กาบใบและใบมีสีเขียว ปล้องสีเหลืองอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 95-116เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียสีขาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่คอรวงยาว น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 31.76 กรัมเมล็ดดี 140 เมล็ดต่อรวง เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.03มิลลิเมตร กว้าง 3.12 มิลลิเมตร หนา 2.41 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาวรูปร่างเรียว ยาว 7.89 มิลลิเมตร กว้าง 2.38 มิลลิเมตร หนา 1.99มิลลิเมตร เป็นท้องไข่น้อย มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (16.84%)คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกนุ่ม ผลผลิตเฉลี่ย 577 กิโลกรัมต่อไร่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตถึง 815 กิโลกรัมต่อไร่ ที่แปลงเกษตรกร อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ในฤดูนาปี 2546 ระยะพักตัวของเมล็ด 4 สัปดาห์ ผลผลิตเฉลี่ย 815 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. ต้านทานต่อโรคไหม้ (Pyricularia grisea Sacc.) และค่อนข้างต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง(Xanthomonas

oryzae pv. oryzae)

2. คุณภาพการหุงต้มดี ข้าวสุกนุ่ม

3. สามารถปลูกบนที่สูงไม่เกิน 900 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง

พื้นที่แนะนำเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่สูงในเขตชลประทานหรือมีแหล่งน้ำเหมาะสม ในภาคเหนือตอนบน และพื้นที่สูง 600–900 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในพื้นที่ที่มีการชลประทานสนับสนุน

ข้อควรระวังไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดเป็นประจำของแมลงบั่ว (Orseolia oryzae Wood-Mason ) เพลี้ยกระโดด

หลังขาว (Sogatella furcifera Horvath) และเพลี้ยกระโดด

          พันธุ์ข้าว กข41

ลักษณะประจำพันธุ์?เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงให้ผลผลิตสูงสุด 1,104 กิโลกรัมต่อไร่ ต่ำสุด?616 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อปลูกทุก 10 วัน ในรอบปี 2549 ? ?อายุ 105 วัน ความสูง 104 เซนติเมตร ?กอตั้ง ?ต้นแข็ง ใบสีเขียวตั้งตรง ใบธงตั้งตรง ยาว 35 เซนติเมตร กว้าง?1.6 เซนติเมตร ข้าวเปลือกสีฟาง ?เมล็ดเรียว ?ยาว 10.4 มิลลิเมตร ?ขนาดข้าวกล้อง?ยาว 7.73 มิลลิเมตร ?ข้าวสารยาว 7.3 มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสสูง 27.15?เปอร์เซ็นต์ ความคงตัวของแป้งสุกอยู่ในระดับแป้งอ่อนระยะการไหลของแป้ง 77 มิลลิเมตร ?ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะร่วนและค่อนข้างแข็ง

ลักษณะเด่น

          1ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 894 กิโลกรัมต่อ/ไร่ สูงกว่าสุพรรณบุรี 1 (795 กก./ไร่) พิษณุโลก 2 (820 กก./ไร่) สุพรรณบุรี 3 (768?กก./ไร่) กข29 (835 กก./ไร่) และชัยนาท 1 (812 กก./ไร่) คิดเป็นร้อยละ 23, ?5, 13, 4 ?และ 20  ตามลำดับ

          2 ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

          3 คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาว เรียว ท้องไข่น้อย?คุณภาพการสีดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้   

 

 

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

ข้อควรระวังอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้เกิดโรครุนแรง ?อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในเขตจังหวัดนครปฐม และ

ปทุมธานี การปลูกในช่วงกลางเดือนกันยายน ? พฤศจิกายน ?จะกระทบอากาศเย็น ทำให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ

ข้าวเจ้าพันธุ ์ กข43

ลักษณะประจำพันธุ์เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 95 วัน ปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม ความสูงประมาณ 103 ซม. ทรงกอตั้ง ต้นค่อนข้างแข็ง ใบสีเขียวจาง ใบธงเอนปานกลาง ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.90 มิลลิเมตร กว้าง 2.63 มิลลิเมตร หนา 2.10 มิลลิเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 30.40 กรัม ข้าวกล้อง สีขาว รูปร่างเรียว ยาว 7.59 มิลลิเมตร กว้าง 2.18 มิลลิเมตร หนา 1.85 มิลลิเมตร ท้องไข่น้อย มีปริมาณอมิโลสตํ่า (18.82 %) คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทานดี ข้าวสุกนุ่มเหนียว มีกลิ่นหอมอ่อน มีระยะพักตัว 5 สัปดาห์

ผลผลิต ประมาณ 561 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. อายุการเก็บเกี่ยวสั้น95 วันเมื่อปลูกโดยวิธีหว่านน้ำตม

2. คุณภาพของเมล็ดทางการหุงต้มรับประทาน ดี ข้าวสุกนุ่ม มีกลิ่นหอมอ่อน

3. ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้และเพลี ้ ยกระโดดสีน้ำตาล

พื้นที่แนะนำ พื้นที่นาชลประทาน พื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และเกษตรกรมีช่วงเวลาในการทำนาน้อยกว่าพื้นที่ปลูกข้าวอื่น ๆ และ/หรือพื้นที่ที่มีปัญหาข้าววัชพืชระบาด

ข้อควรระวัง เนื่องจากเป็นข้าวอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ไม่ควรปลูก ร่วมกับข้าวที่มีอายุต่างกันมากอาจจะเสียหายจากการทำลาย ของนกและหนูได้ ข้าวพันธุ์นี้มีลำต้นเล็กการใส่ปุ๋ยอัตราสูง อาจทำ ให้ข้าวล้มได้และข้าวพันธุ์นี้อ่อนแอต่อโรคไหม้ที่ พิษณุโลก

 

 

ข้าวเจ้าพันธุ ์ กข47 ลักษณะประจำพันธุ ์

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสงอายุ 104-107 วัน (หว่าน น้ำตม) และ 112 วัน(ปักดำ) มีลักษณะกอตั้ง ความสูง 90-100 เซนติเมตร ลำต้นแข็งมาก ใบสีเขียว มุมใบธงกว้างปานกลาง รวงยาว 30.0 เซนติเมตร ค่อนข้างแน่น คอรวงโผล่เล็กน้อย ข้าวเปลือกสีฟาง ยาว 10.4 มิลลิเมตร กว้าง 2.52 มิลลิเมตร หนา 2.08 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว ยาว 7.94 มิลลิเมตร กว้าง 2.13 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร ข้าวสารยาว 7.76 มิลลิเมตร กว้าง 2.05 มิลลิเมตร หนา 1.73 มิลลิเมตร มีอมิโลสสูง (26.81%) ข้าวเมื่อหุงสุกมีลักษณะสีขาวนวลไม่ เลื่อมมัน ค่อนข้างร่วนและแข็ง

ผลผลิต เฉลี่ย 793 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพดี

2. ค่อนข้างต้านทานเพลี ้ ยกระโดดสีน้ำตาลดีกว่า กข41 และ ค่อนข้างต้านโรคไหม้ดีกว่าพิษณุโลก 2

3. คุณภาพเมล็ดทางกายภาพดีเป็นข้าวเจ้าเมล็ดยาวเรียว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีถึงดีมาก สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้

พื้นที่แนะนำ เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทาน ภาคเหนือ ตอนล่าง สำหรับเป็นทางเลือกของเกษตรกร ในการป้องกัน การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และโรคไหม้

ข้อควรระวัง อ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลชีวชนิดที่ 5 และ เพลี ้ ยกระโดดสีน้ำตาลจากจังหวัดนครปฐม อ่อนแอต่อโรค ขอบใบแห้ง ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนในระดับสูงเกินไปจะทำให้ เกิดโรครุนแรง และค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไหม้ใน ภาคกลาง ไม่ทนอากาศเย็นจึงไม่ควรปลูกในช่วงปลายเดือน กันยายนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน

พิษณุโลก 80

ลักษณะประจำพันธุ์พิษณุโลก 80 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียวใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 10.6 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 29.2 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 10.10 มิลลิเมตร กว้าง 2.53มิลลิเมตร หนา 1.98 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปร่างเรียว

ยาว 7.45 มิลลิเมตร กว้าง 2.16 มิลลิเมตร หนา 1.74มิลลิเมตร มีปริมาณแอมิโลสต่ำ (17.3%) มีระยะพักตัวของเมล็ด 7 สัปดาห์

ผลผลิตเฉลี่ย 637 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

1. พิษณุโลก 80 ให้ผลผลิตสูง เสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

2. กอตั้ง ต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย

3. คุณภาพเมล็ดดี เป็นท้องไข่น้อย

4. คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 61.3เปอร์เซ็นต์

พื้นที่แนะนำนาน้ำฝนพื้นที่ลุ่มในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม

ข้อควรระวัง

พิษณุโลก 80 ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในจังหวัดพิษณุโลก และ

ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งข้าวเจ้าชัยนาท 1 ทรงกอตั้งใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาว ตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกยาวเรียวสีฟาง บางเมล็ดก้นจุด คุณภาพ การขัดสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใส ท้องไข่น้อย ทำข้าว 100 % ได้ ข้าวสุกมีลักษณะร่วนและแข็งประเภทข้าวเสาไห้ สามารถ นำไปแปรรูปเป็นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และขนมจีนได้

ข้าวเจ้าชัยนาท 1 ทรงกอตั้งใบสีเขียว ใบธงค่อนข้างยาว ตั้งตรง คอรวงสั้น รวงยาวและแน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ ฟางแข็ง เมล็ดข้าวเปลือกยาวเรียวสีฟาง บางเมล็ดก้นจุด คุณภาพ การขัดสีดี ได้เมล็ดข้าวสารใส ท้องไข่น้อย ทำข้าว 100 % ได้ ข้าวสุกมีลักษณะร่วนและแข็งประเภทข้าวเสาไห้ สามารถ นำไปแปรรูปเป็นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และขนมจีนได้

ลักษณะประจำพันธุ์:เป็นข้าวไม่ไวแสง ความสูงเฉลี่ย 113 เซนติเมตร ทรงกอตั้งตรง ฟางแข็ง คอรวงสั้น รวงยาวแน่น ระแง้ถี่

ลักษณะเด่น:ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาวต้านทานโรค ใบหงิก(จู๋) โรคใบไหม้ ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน (N) สูง พักตัว: 8 สัปดาห์ (56 วัน) อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน

ผลผลิต 750-1,047 กิโลกรัม/ไร่

ข้อแนะนำ ไม่ควรใช้ปุ๋ยไนโตรเจนเกิน 18 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ย 16-20-0 เกิน 112 กิโลกรัม/ไร่ เพราะต้นข้าวจะล้ม และอ่อนแอต่อโรค แมลง

ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคใบขีดโปร่งแสง

ข้าวเจ้าสุพรรณบุรี 1 ทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบมีสีเขียวเข้มมีขน การแก่ของใบช้า กาบใบและปล้อง สีเขียว ใบธงยาวค่อนข้างตั้งตรง คอรวงยาวค่อนข้าง แน่น ระแง้ค่อนข้างถี่ เปลือกเมล็ดสีฟางมีขน ยอดเมล็ด สีฟางก้นจุดบ้าง กลีบรองดอกสีฟางสั้น ข้าวกล้องสีขาว มีท้องไข่น้อย

ลักษณะประจำพันธุ์:เป็นข้าวไม่ไวแสง ความสูงประมาณ 125 เซนติเมตรทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้ม ใบสีเขียวเข้ม มีขนกาบใบและปล้อง สีเขียว ใบธงยาว ค่อนข้าง ตั้งตรง คอรวงยาว รวงค่อนข้างแน่น

ลักษณะเด่น:ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และต้านทานโรคใบหงิก และโรคใบสีส้มตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยดี พักตัว : 3 สัปดาห์ (22 วัน)

อายุเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วัน ผลผลิต ประมาณ 806 กิโลกรัม/ไร่

ข้อแนะนำเหมาะที่จะปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง ใช้ปลูกร่วมกับ พันธุ์สุพรรณบุรี 90 เพื่อแก้ไขปัญหาเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดหลังขาว

ข้อควรระวังพบโรคใบขีดสีน้ำตาลในระยะออกรวง อาจเป็นสาเหตุของโรคเมล็ดด่างได้

พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันสามารถแบ่งได้ตามลักษณะการเจริญเติบโตของพันธุ์และแบ่งได้ตามลักษณะของชนิดเนื้อแป้งของเมล็ด ได้แก่ ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เป็นต้น ปัจจุบันการแบ่งตามลักษณะที่เกษตรกรคุ้นเคยเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

        1.ข้าวนาปี (พันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง): เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกได้เฉพาะในฤดูฝน หรือที่เกษตรกรเรียกว่า ข้าวนาปี ข้าวนาปีนี้เป็นพันธุ์ข้าวที่มีการออกดอกตรงตามฤดูกาลเพราะต้องการช่วงแสงจำเพาะเพื่อการออกดอก ไม่ว่าจะปลูกข้าวพันธุ์นั้นเมื่อใด เช่น พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (ในภาคอีสาน) จะออกดอกประมาณวันที่ 20 ตุลาคม ซึ่งไม่ว่าจะปลูกข้าวพันธุ์นี้เมื่อใด ก็จะออกดอกในช่วงเดือนตุลาคมเท่านั้น

        2.ข้าวนาปรัง (พันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง) : เป็นพันธุ์ข้าวที่มีอายุการเก็บเกี่ยวค่อนข้างแน่นอน เมื่อมีอายุครบถึงระยะเวลาออกดอกข้าวพันธุ์นั้นจะออกดอกได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยช่วงแสงเป็นตัวกำหนด ทำให้ข้าวชนิดนี้สามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรมักจะเรียกว่าข้าวนาปรัง แม้ว่าจะปลูกได้ทั้งในฤดูนาปี ที่อาศัยน้ำฝน และในช่วงฤดูแล้งที่ต้องอาศัยน้ำชลประทาน พันธุ์ข้าวที่เกษตรกรใช้ปลูกในขณะนี้ มีทั้งข้าวพันธุ์พื้นเมือง ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว ที่ปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และพันธุ์ข้าวดีของทางราชการที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร และส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกอยู่ทุกวันนี้

ชื่อพันธุ์ข้าว

ชนิดพันธุ์ข้าว

แหล่งปลุก

ผลผลิต (กก./ไร่)

 ขาวดอกมะลิ 105

 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง

 ทุกภาค, นิยมปลูกภาคอีสาน

515

 กข15

 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง

 นิยมปลูกภาคอีสาน

560

 กข6

 ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง

 ภาคเหนือ,ภาคอีสาน

670

 เหนียวสันป่าตอง

 ข้าวเหนียวไวต่อช่วงแสง

 ภาคเหนือ,ภาคอีสาน

520

 สันป่าตอง

 ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคเหนือตอนบน

630

 สกลนคร

 ข้าวเหนียวไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคอีสาน

467

 สุรินทร์ 1

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคอีสาน

620

 ชัยนาท 1

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคกลาง,ภาคเหนือตอนล่าง

670

 สุพรรณบุรี 1

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 เขตชลประทานทุกภาค

750

 สุพรรณบุรี 2

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคกลาง,ตะวันออก,ตะวันตก

700

 ปทุมธานี 1

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 เขตชลประทานภาคกลาง

712

 พิษณุโลก 2

 ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง

 ภาคเหนือตอนล่าง

807

 หันตรา 60

 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง

 ภาคกลาง,น้ำลึกไม่เกิน 1 เมตร

425

 ปราจีนบุรี 1

 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง

 ภาคกลาง,ภาคเหนือตอนล่าง, ภาคตะวันออก

500

 ปราจีนบุรี 2

 ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง

 ภาคกลาง,ภาคตะวันออก

846

 ภาวะแห้งแล้ง หรือภัยแล้ง หมายถึง สภาวะที่ขาดแคลนปริมาณน้ำฝน อย่างผิดปกติจนไม่เพียง พอต่อความต้องการ นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง เป็นผลสืบเนื่องมาจากปริมาณฝนตกในช่วงต้นปีที่ผ่านมาน้อยกว่าปกติทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง คือช่วงธันวาคม-เมษายน อย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรโดยตรง

เมื่อหมดฤดูนาปีแล้ว จำเป็นต้องให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อยแทนการทำนาปรัง ในส่วนที่ทำได้ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผักต่าง ๆ ซึ่งพืชที่แนะนำได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพด ทานตะวัน และพืชผัก ต่าง ๆ ซึ่งพืชไร่อายุสั้นเหล่านี้ใช้น้ำน้อยเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แต่ถ้าทำนาข้าวจะใช้น้ำถึง 5 เท่า คือ 1,500-2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อ ไร่

แต่การปลูกพืชอายุสั้นนั้น การเตรียมดินจะยุ่งยาก เนื่องจากดินนาส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว การระบายน้ำค่อนข้างเลว จึงต้องเตรียมดินให้ร่วนแล้วทำร่องช่วยระบายน้ำและเป็นการเพิ่มความลึกของหน้าดิน หากระบายน้ำออกไม่ได้หรือน้ำยังท่วมขัง ไม่ควร<ปลูกพืชอายุสั้นใด ๆ

การปลูกพืชอายุสั้นทดแทนนาปรัง ควรปฏิบัติดังนี้

ระยะเวลาปลูกถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ควรปลูกในช่วง 15 ธันวาคม - 15 มกราคม เพราะช่วงนี้ดินมีความชื้นสูง และพืชเหล่านี้ ยังทนต่ออุณหภูมิต่ำได้ดี ข้าวโพดฝักอ่อน สามารถปลูกได้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ แต่ถั่วเขียวควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์

ยกร่องแปลงปลูก
ยกร่องกว้าง 1.5 เมตร ทำคลองส่งน้ำและคูระบายน้ำให้เหมาะสมกับความยาวของร่องปลูกเพื่อสามารถให้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้น้ำท่วมถึงบริเวณสันร่องปลูกแล้วปล่อยน้ำค่อย ๆ ซึมเข้าไปในแปลงปลูก

 

 

พื้นที่ที่เป็นดินทรายจัดควรปลูกถั่วเหลืองโดยไม่เตรียมดิน การให้น้ำควรปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงแล้วระบายออก เป็นการให้น้ำปริมาณสูงกว่าการให้น้ำแบบ ยกร่องปลูกแต่ประหยัดน้ำกว่าการทำนาปรัง

ควรใช้ฟางข้าวหรือเศษวัชพืชคลุมสันร่องปลูกพืชไร่
(ยกเว้นถั่วลิสง)

ระยะเวลาการให้น้ำข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ข้าวโพดฝักอ่อน, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง ควรให้น้ำ 14 วันต่อครั้ง ตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะออกดอก จาก นั้นให้น้ำ 7 วันต่อครั้ง จนอีก 14 วัน ก่อนจะเก็บเกี่ยวจึงงดให้น้ำโดยสิ้นเชิง (ยกเว้น ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดฝักอ่อน ควรงดให้น้ำ 7 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว) ถั่วเขียว ควรให้น้ำ 21 วันต่อครั้ง และงดให้น้ำ 14 วันก่อนเก็บเกี่ยวครั้งสุดท้าย

การจะเลือกปลูกพืชไร่ชนิดใดมีข้อเสนอแนะดังนี้

พืชต้นฤดู ควรเป็นพืชอายุสั้น (70-80 วัน) ทนแล้ง แต่ถ้าไม่สามารถปลูกได้ภายในเดือนพฤษภาคม เพราะฝนมาล่าช้า ไม่ควรปลูกพืชอายุสั้น เพราะเป็นการเสี่ยงในช่วงเก็บเกี่ยวจะเจอฝนหนัก ดังนั้นถ้าฝนมาล่าช้าควรปลูกพืชที่มีอายุยาวเพียงพืชเดียว

พืชที่สอง ควรปลูกทันทีหลังเก็บเกี่ยวเพราะฝนจะไม่ทิ้งช่วงนานในช่วงนี้ ถ้าปลูกล่าช้าไปจะมีผลกระทบต่อ ผลผลิต และถ้าฝนตกหนักตามมาจะทำให้เตรียมพื้นที่ปลูกได้ยาก

พืชที่สองนี้ต้องพิจารณาชนิดของพืชเป็นสำคัญและระยะเวลาฤดูฝนที่ยังเหลืออยู่ว่ามีกี่วันโดยถือว่าฝนจะสิ้นสุดในเดือนตุลาคม

 

การปลูกถั่วเขียวควรปลูกพืชในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ความชื้นในดินยังเหลืออยู่ ในภาคเหนือและอีสานควรปลูกในเดือนกุมภาพันธ์เพราะเป็นช่วงหมดฤดูหนาวจะทำให้ถั่วเจริญเติบโตได้ดี พันธุ์ที่แนะนำคือ อู่ทอง 1 ฝักไม่แตกง่าย อายุ 60-70 วัน กำแพงแสน 2 เหมาะปลูกในฤดูแล้งนอกเขตชลประทาน อายุ 65-75 วัน

การปลูกถั่วเหลือง

 

พันธุ์ที่เหมาะสมในสภาวะแห้งแล้ง คือ พันธุ์สจ. 4, สจ. และเชียงใหม่ 60 อายุเก็บเกี่ยว 95-100 วัน ข้อควรระวัง ไม่ควรปลูกให้ช่วงออกดอกตรงกับอากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน เพราะจะทำให้ไม่ติดฝัก

 

การปลูกข้าวโพด

พันธุ์ที่แนะนำคือ พันธุ์ลูกผสม จะทนแล้งได้ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ สุวรรณ 2301, และพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทเอกชนต่าง ๆ จะทนแล้ง ได้ดี อายุเก็บเกี่ยว 110-120 วัน ข้อควรระวัง ในการปลูกข้าวโพดคือ ช่วงผสมเกสรอย่าให้ขาดน้ำ เพราะจำทำให้ติดเมล็ดไม่ดี เมล็ดจะลีบและช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี หนูจะระบาดอย่างรุนแรง เพราะเป็นช่วงที่อาหารเริ่มขาดแคลน ควรหาทางป้องกันหนูไว้แต่เนิ่น ๆ

การปลูกข้าว ให้ได้ผลผลิตสูง เกษตรกรต้อง มีวิธีการปลูกและดูแลรักษาอย่างดีเท่านั้น และจะต้องมีความเข้าใจก่อนว่า ... เมล็ดพันธุ์ข้าว ที่ภาครัฐส่งเสริมให้ปลูกนั้น ควรได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพราะพันธุ์ข้าวไม่เหมือนกับพันธุ์พื้นเมือง ที่ปลูกกันมาตั้งแต่สมัยก่อน ซึ่งจะมีข้อแตกต่างกันหลายประการ ดังนี้ ... รูปต้นดี สูงประมาณ 10-120 เซนติเมตร แตกกอมากใบสีเขียวแก่ ใบตรงไม่โค้งงอ มีความต้านทานต่อโรคและแมลง ตอบสนองต่อปุ๋ยสูง คือ..ให้ผลผลิตมากขึ้นเมื่อใส่ปุ๋ยมากขึ้นในที่ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเป็นประจำ ให้เปลี่ยนวิธีปลูกข้าว จากการปักดำมาปลูกโดยการหว่านข้าวแห้งไม่ควรรอให้ฝนตก ได้น้ำพอเพียงในการตากกล้าและปักดำ เพราะจะล่วงเข้ามาในฤดูกาลมาก ทำให้ข้าวที่ปักดำไม่เท่าไรก็จะตั้งท้องและออกดอก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ
ดังนั้น การปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรปฏิบัติดังนี้

พิจารณาพันธุ์
การรู้คุณสมบัติของพันธุ์ข้าวก่อนปลูก จะทำให้สามารถดูแลรักษาพันธุ์ข้าวนั้นได้อย่างเหมาะสม ไม่เกิดความเสียหายและรักษาพันธุ์ข้าวให้บริสุทธิ์ถูกต้องตรงตามพันธุ์
- เป็นพันธุ์ข้าวนาปีหรือนาปรัง มีอายุเก็บเกี่ยวเมื่อไร
- มีรูปแบบ ขนาด สี ต้น รวง และเมล็ดอย่างไร เมล็ดร่วงหล่นง่ายหรือยาก
- มีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร เช่น แตกกอดีหรือไม่ ต้านทานโรคแมลงอะไร เป็นต้น
- ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสง (photoperiod sensitive varieties)
เป็นพันธุ์ข้าวที่จะออกดอกได้ในช่วงวันสั้น (น้อยกว่า 12 ชั่วโมง) ในประเทศไทยจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม (ดังยกตัวอย่างมาแล้ว) ข้าวพันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้จะปลูกได้เฉพาะ นาปี ถ้าปลูกในนาปรังจะไม่ออกดอก พันธุ์ไวต่อช่วงแสงนี้ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองทั่วไป และพันธุ์ กข. ที่ไวต่อช่วงแสงได้ กข.5, กข.6, กข.8, กข.13, กข.15, กข.19, และกข.17
- ข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสง (photoperiod insensitive varieties) พันธุ์ข้าวจำพวกนี้จะออกดอกได้โดยไม่ขึ้นกับความยาวของช่วงวันจะขึ้นอยู่กับอายุเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างแน่นอน และใช้เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกในนาปรัง ซึ่งต้องอาศัยน้ำชลประทาน พันธุ์ต่าง ๆ ได้แก่ กข.1, กข.2, กข.3, กข.4, กข.7, กข.9, กข.10, กข.11, กข.17, กข.21, กข.23 และ กข.25 ส่วนพันธุ์พื้นเมืองมีอยู่พันธุ์เดียว คือ พันธุ์เหลืองทอง
ข้อพิจารณาพันธุ์ข้าวมาปลูก
น้ำลึกไม่เกิน 50 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : ปลูกเดือนมีนาคม อาทิ ชัยนาท ๑, พิษณุโลก ๖๐-๒, สุพรรณบุรี ๑ / สุพรรณบุรี ๒ / เหนียวสันปาตอง, กำพาย,เหลืองประทิว ๑๒๓, นางพญา ๑๓๒
น้ำลึกไม่เกิน 80 ซม. พันธุ์ข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง (ต้นสูง) : ปลูกเดือนสิงหาคม อาทิ พิษณุโลก ๖๐-๑, หอมพิษณุโลก ๑, ขาวดอกมะลิ ๑๐๕, กข ๑๕, เหลืองประทิว ๑๒๓, ขาวตาแห้ง ๑๗ เป็นต้น
นาหว่านข้าวแห้ง หรือ นาหว่านสำรวย พันธุ์ข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง (ต้นเตี้ย) : พันธุ์ข้าวควรมีอายุพอเหมาะกับช่วงฝนตก อาทิ ตระกูล กข., เหมยนอง ๖๓, ขาวดอกมะลิ, เหลืองใหญ่, เผือกน้ำ ๔๓, สุพรรณบุรี ๖๐, ปทุมธานี ๖๐, ชุมแพ ๖๐, พัทลุง ๖๐, ชัยนาท ๑, หอมคลองหลวง ๑, ดอกพยอม, ปิ่นแก้ว ๕๖, เก้าราง ๘๘

เมล็ดพันธุ์
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ ควรตรวจเมล็ดพันธุ์ก่อนเพาะดังนี้
- เมล็ดพันธุ์ต้องสะอาดและไม่มีโรคแมลง
- ไม่มีเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นๆปะปน ถ้ามีเมล็ดพันธุ์ข้าวอื่น ๆ ปะปนไม่มากให้เก็บออก
- ไม่มีเมล็ดวัชพืชปะปน ถ้ามีปะปนให้ฝัด การร่อน การคัดน้ำเกลือ หรือเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ใหม่
- ทดสอบความงอกของเมล็ดก่อน เมล็ดที่นำไปเพาะควรงอกไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
- อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้ตกกล้า 50 กรัมต่อ 1 ตารางเมตร หรือไร่ละ 80 กิโลกรัม
- นาหว่านใช้เมล็ดพันธุ์ 10 -15 กก./ไร่
การใส่ปุ๋ยเพื่อต้นข้าวจะได้มีการแตกกอมากและให้ผลผลิตสูง ปุ๋ยควรใส่ทั้งแปลงกล้าและแปลงปักดำ ตลอดถึงพื้นที่นาที่ปลูกแบบหว่าน ธาตุอาหารที่ต้นข้าวต้องการมากในปุ๋ย ได้แก่   ไนโตรเจน   ฟอสฟอรัส   โปแตสเซียม   และอาหารเสริมทางใบ ดินนามีปริมาณแร่ธาตุอาหารต่ำที่สุด เพราะต้นข้าวได้ดูดเอาไปสร้างต้น ใบ และเมล็ด ทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยทุกครั้งที่ปลูกข้าว เพื่อให้ได้ผลผลิตสูง แต่การใส่ปุ๋ยเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงชาวนาจะต้องเลือกใช้พันธุ์ข้าวปลูกที่ถูกต้องด้วย เพราะข้าวบางพันธุ์ที่มีต้นสูง เมื่อได้รับปุ๋ยมากต้นของมันจะล้มและไม่ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น จึงทำให้ชาวนาขาดทุนจากการใส่ปุ๋ย และข้าวบางพันธุ์ที่มีต้นเตี้ย เมื่อได้รับปุ๋ยมากขึ้นก็จะมีการเจริญเติบโต และให้ผลผลิตสูงมากยิ่งขึ้นตามจำนวนปุ๋ยที่ใส่
โดยมีระยะการใส่ปุ๋ย 3 ระยะดังนี้
แปลงกล้า : ก่อนตกกล้า
ปุ๋ยทางดิน     - ปุ๋ย 10-20 กก./ไร่
พ่นทางใบ      - แตกกอ พ่นได้ตลอดตามความเหมาะสม (แต่ละครั้งให้ห่างกัน 7 วันครั้ง)สะสมอาหารพัฒนาเมล็ด กำจัดโรคเข้าต้นข้าวในระยะกล้า ป้องกันกล้าเน่า กล้ายุบ โรคไหม้  
ขยายกอ เร่งการแตกกอ
ปุ๋ยทางดิน
-    นาดำ.......ใส่ก่อนปักดำ 1 วัน หรือใส่วันปักดำ
-    นาหว่าน...ใส่หลังหว่าน 20 วัน
-    นาแล้ง.....ใส่ปุ๋ยหลังจากข้าวงอกแล้ว 5-6 วัน  
พ่นทางใบ  แตกกอ พ่นได้ทุก7 วันครั้ง ขยายกอ เร่งการแตกกอ ป้องกันโรคเน่า รา ใบแห้ง ใบจุด ใบด่าง

เร่งการออกรวง
ปุ๋ยทางดิน

-  นาดำ......ใส่หลังปักดำประมาณ 35-45 วัน หรือประมาณ 30 วัน ก่อนออกดอก
-    นาหว่าน..เช่นเดียวกับนาดำ
-    นาแล้ง....ก็เช่นเดียวกัน ..แต่ต้องพิจารณาเพิ่มอีกว่าดินจะต้องเปียกแฉะด้วย
พ่นทางใบ  แตกกอ เร่งรวง 15 ซีซี. + ไฮแบค 20 ซีซี ผสมน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ
1.    หลังจากข้าวออกดอกแล้ว 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา จะทำให้ต้นข้าวแก่สม่ำเสมอ
2.    เมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ทำการเก็บเกี่ยวทันที จะได้ข้าวเปลือกคุณภาพดีและผลผลิตสูง
3.    ระยะข้าวออกรวง ถ้าอากาศเย็น ความชื้นสูง ไม่มีแดด ระวังโรคไหม้ ระบาดพ่นกำจัดด้วย ไฮแบค กันไว้ก่อน
ข้อควรระวัง

-    ก่อนหว่านปุ๋ยทุกครั้ง ควรระบายน้ำในแปลงออกเสียก่อน ถ้าในแปลงนาดำมีน้ำมากกว่า 15 ซม.
-    ระยะใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 มักจะมีน้ำนาในมาก หรือท่วมคันนา ควรปล่อยน้ำออก
-    ไม่ควรหว่านปุ๋ยในขณะฝนตก หรือมีน้ำไหลบ่าท่วมคันนาหรือจนกว่าน้ำจะลดต่ำกว่าคันนา
-    ในแปลงนา หากพื้นดินไม่เสมอกัน ต้องปรับระดับดินในระหว่างการคราดทุก ๆ ปี
-    หลังใส่ปุ๋ยแล้ว อย่าให้แปลงนาขาดน้ำเกิน 7 วัน
-    ช่วงข้าวตั้งท้องไปถึงก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน นาจะขาดน้ำไม่ได้เลย
-    หมั่นเก็บหญ้าในนาข้าวออกอย่างน้อย 1-2 ครั้ง

หมายเลขบันทึก: 471172เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2011 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2012 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับสำหรับดอกไม้ที่เป็นกำลังใจ

ดิฉันเป็นครุูเพิ่งเริ่มทำนา ตอนนี้มีปราชญ์ชาวนาหลายท่านให้คำแนะนำจนสับสน ทำถูก ทำพลาดบ้าง แต่ก็โชคดีที่มีโอกาสเรียนรุู้ ยังไงอยากจะคุยกับอาจารย์เรื่องข้าวมากเลย ตอนนี้เกี่ยวนาปรังเสร็จแล้ว มีบางคนบอกลงข้าวนาปีหอมมะลิ บางคนบอกอย่าเพิ่งลง ตอนนี้กำลังหาข้อมูลอย่างมากรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วย ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท