เปียกสลับเเห้ง แกล้งข้าว ป้องกันและแก้ไข "นาหล่ม"


"นาหล่ม" เป็นความเหนื่อยยากในการทำนา จะต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข อย่างเป็นรูปธรรม

ปัญหา "นาหล่ม" แถบพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือล่าง

นับเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้การทำงานในเเปลงนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก 

ผลที่ตามมาจาก "นาหล่ม" 

1.สิ้นเปลืองพลังงาน ทั้งคน และเครื่องจักร ในการ ลุยสู้หล่ม 

เนื่องจากแรงต้านทานการทำงานมากกว่าสภาพแปลงนาปกติ

2.เครื่องจักรเสียหาย หากติดหล่ม แล้วเอาขึ้นจากหล่มไม่ถูกวิธี

3.แรงงานที่ทำงาน เกิดความท้อ ต้นทุนค่าเเรงงานสูงขึ้น

เนื่องจาก มีการเรียกร้องค่าแรงเพิ่มขี้น ตามสภาพเเปลงนา

4.โรค แมลง ความอ่อนแอของต้นข้าวที่แช่น้ำตลอด

5.ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งค่าสึกหรอเครื่องจักร ค่าแรงงาน ค่าปุ๋ย ค่ายา(จากความอ่อนแอของต้นข้าว ที่แช่น้ำตลอดเวลา) จากปกติ 20-50 เปอร์เซนต์

ที่มาของ "ปัญหานาหล่ม" 

1.การบริหารจัดการน้ำในเเปลงนาล้มเหลว ไม่มีการทำคลองทิ้งน้ำในเเปลงนา

2.การปล่อยน้ำแช่ขังในเเปลงนาตลอดระยะเวลา ทำให้ดินเหลว เป็นหล่มลึก

3.การทำนาต่อเนื่อง ติดกัน หน้าดินไม่ได้หยุดพัก ไม่ได้มีเวลา set ตัว

4.การใช้รถเกี่ยวนวดข้าวขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก 

แนวทางการแก้ไข 

1.ทำร่องระบายน้ำทิ้ง/ คลองทิ้งน้ำในเเปลงนา 

2.ปรับพื้นที่นา ให้เรียบเสมอได้ระดับ เพื่อไม่ให้น้ำขัง หรือ ตกเเอ่ง 

3.ใช้เทคนิค "เปียกสลับเเห้ง แกล้งข้าว" ในระยะแตกกอ เพื่อให้ดินเเห้ง แตกระเเหง มีการ Set ตัว 

4.ใช้ "ระบบน้ำวนแบบปิดในเเปลงนา" เพื่อนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในเเปลงนา สำหรับนานอกเขตชลประทาน

ติดตามอ่านหลังหลังได้ที่ "สารบัญ" ครับ มุมบนขวามือครับ 



ความเห็น (1)

แกล้งข้าวถือว่าเป็นแนวทางใหม่สำหรับชาวนาที่มีความคิดแบเดิมๆ
ตอบโจทย์การบริหารจัดการน้ำ(มีน้อยลงทุกที่ ที่จะใช้)
เยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท