การพัฒนาการศึกษากับท้องถิ่น ไปสู่สากล และอาเซียน


การพัฒนาการศึกษากับท้องถิ่น ไปสู่สากล และอาเซียน 

ปัจจุบันหลายโรงเรียนให้ความสำคัญต่อการพัฒนาลูก ๆ (นักเรียน) ให้มีอาวุธทางปัญญา และทักษะชีวิต ที่นำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง สังคม ชุมชน และจิตอาสา(ที่สังคมต้องการอย่างมาก ซึ่งเป็นวิถีแห่งความพอเพียง)
เคยฝันไว้ตอนที่มีการกระจายอำนาจการบริหารไปยังองค์การบริหารส่้วนตำบล
การบริหารงานไปยังโรงเรียน(นิติบุคคล) เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าดีมาก ต่อการยกมาตรฐานการศึกษา ความเป็นอยู่ปัจจุยพื้นฐานทางสังคม ความเป็นอยู่ให้ได้มาตรฐานเดียวกัน ลดความยากจน ลดความไม่เท่าเทียมกัน ได้รับความเสมอภาคทางการศึกษา จนถึงการปฏิรูปการศึกษามาจนทศวรรตที่สองแล้ว การถ่ายโอนโรงเรียนไปอยู่ในสังกัด อบต. อบจ. เทศบาล เป็นการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสถานศึกษา การลงทุนให้ทัดเทียมกับโรงเรียนใหญ่พิเศษ(แผนการเรียนแบบพิเศษ ภาษา เทคโนโลยีมากมาย) 

เคยฝัีนว่าเมื่อมีการกระจายงบประมาณ การลงทุนไปยังอบต. ทุกแห่งทั่วประเทศ
จะเกิด เพื่อบริการแก่ลูกหลานในชุมชน(โรงเรียนในเขตพื้นที่)และชุมชน ชาวบ้าน ได้มีโอกาสไปใช้ในการพัฒนา ดังนี้
       1. ศูนย์กลางการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ มีอาคารและห้องเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับม.ปลาย 
       2. ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้าน ICT  มีนักโปรแกรมเมอร์ นักคอมพิวเตอร์ ที่มีความรู้ความสามารถประจำศูนย์ในการถ่ายทอดและพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศโดยมีฐานข้อมูลเดียวกันทั่วประเทศ
       3. ศูนย์กลางการเรียนรู้ทางภาษา คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน
หรือที่ภาษาที่ต้องการเน้นในการติดต่อพัฒนา ตามแผนการพัฒนา (เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและรายได้ในชุมชน)
       4. ศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราญ์ชาวบ้าน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะชีวิต วัฒนธรรมท้องถิ่น ความเป็นชาติ ประวัติศาสตร์ เพื่อให้เกิดความรักในวัฒนธรรมถิ่นและชาติพันธุ์ของตนเอง
       5. ศูนย์กีฬาเขาวชน นักวิทยาศาสตร์การกีฬาฯลฯ
      ฯลฯ หลายอย่างที่ฝันไว้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๆ อยากได้ครู เก่ง ๆ ดร. เก่งๆ
ในโรงเรียนดัง ๆ มหาวิทยาลัยดัง ๆ คนที่มีความรู้ในระดับจังหวัด ระดับประเทศ มาให้ความรู้ หรือแรงบันดาลใจแก่เราบ้าง เพราะสมัยนั้นความแตกต่างมีมาก ๆ
ปัจจุบันก็ดีขึ้นกว่าเดิมฯ 

      ดังนั้นการลงทุนในปัจจุบันศักยภาพโรงเรียน ชุมชน ที่ยังขาดแคลน จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา หากการลงทุนที่มีศูนย์รวมการพัฒนาตาม อบต.
และเพิ่มศักยภาพเป็นศูนย์ระดับตำบล ไปจนถึงระดับจังหวัด ก็น่าจะส่งเสริมให้ศักยภาพของความเท่าเทียมในการพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีการย้ายถิ่น แต่เป็นการพัฒนาความรู้ ความมั่งคั่ง และมั่นคงในกับสังคมครอบครัวได้เข้มแข็ง และรู้เท่้าทันต่อสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนไปตามไม่ทัน สิ่้งแวดล้อมทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสของเทคโนโลยี การรับรู้ข่าวสารข้อมูลที่เป็นดาบ 2 คมต้องเลือกรับเพราะมีทั้งด้านลบ และด้านบวก
      การสร้างความคิดอย่างมีเหตุผล การคิดเชิงบวก การร่วมคิด ร่วมวางแผนในการพัฒนา จึงเป็นการร่วมกันก้าวไปอย่างมั่นคง แข็งแรง ยั่งยืน และคงอยู่ซึ่งวัฒนธรรมที่สืยทอดต่อกันไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การไหว้
การรับประทานอาหาร การช่วยเหลือ แบ่งปันฯลฯ มากมายครับ 

      ผู้บริหารและครู จึงเป็นผู้สร้าง แนะนำ ให้ความรู้ที่เป็นทฤษฎีพร้อมกับ
การบูรณาการการเรียนรู้ในชุมชน จิตสาธารณะ ประวัติศาสตร์ชาติ การดำรงอยู่ในสังคมแบบพอเพียง วัฒนธรรมชาติ การแต่งกาย และการดูแลช่วยเหลืออย่างแท้จริงฯลฯ

จะก้าวต่อไป เพื่อไปให้ถึง 

หมายเลขบันทึก: 471006เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2011 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

                                                     *** ...มาส่งความสุขให้ค่ะ  ... ***

 
                                  
        
                              A Very Happy Christmas & A Happy New Year 2012

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท