ชีวิตที่พอเพียง : 1450ก. R2R ประเทศไทยในอนาคต


ปัจจุบัน R2R คู่อยู่กับ R2D

ชีวิตที่พอเพียง  : 1450ก. R2R ประเทศไทยในอนาคต

วันที่ ๘ ธ.ค. ๕๔ มีการประชุมคณะกรรมการชี้ทิศทาง R2R ประเทศไทยที่ สวรส. โดยมี นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธาน   หัวข้อที่ปรึกษากันเชิงยุทธศาสตร์มี ๔ หัวข้อ  

   . Sustainability

     . Ownership

     . Business model ของการทำงานสนับสนุน R2R ประเทศควรเป็นอย่างไร  ทำงานกับหน่วยใดในภูมิภาค

     . ต้องการให้เข้า primary Care ทำอย่างไร

แน่นอนว่า เรื่องที่ซับซ้อนและมีความแตกต่างหลากหลาย มองได้หลายมุม เช่นนี้ ความเห็นย่อม แตกต่างกันได้มาก   และความจริงนี้เองคือเหตุผลที่จำเป็นต้องมีคณะกรรมการอำนวยการชุดนี้   และเราไม่หวัง ให้สมาชิกของคณะกรรมการพูดเหมือนกัน

ผมสรุปเอาเองว่าความต่อเนื่องยั่งยืนของ R2R ประเทศไทยมาจากความเอาจริงเอาจังและเห็นคุณค่าของ สมาชิกของเครือข่าย ทั้งที่เป็น Individual, Node และ Network ย่อย (INN)   ตราบใดที่เขาเห็นประโยชน์ เขาก็จะ ยังดำเนินการ R2R   ดังนั้น หน้าที่ของทีมจัดการ R2R ประเทศไทยคือ ทำให้สมาชิกของเครือข่ายได้ประโยชน์ และตระหนักในคุณค่า

นั่นหมายความว่า INN คือเจ้าของของ R2R แต่ละส่วน   และแต่ละส่วนนั้นควรเข้ามาร่วมกันเป็น เจ้าของ R2R ประเทศไทย และร่วมกันอุ้มชูฝ่ายจัดการ R2R ประเทศไทย   เป็น business model แบบใหม่ที่กลับ หัวกลับหาง หรือกลับบนกลับล่างกับความเคยชินของเรา    คือหน่วยย่อยร่วมกันเป็นเจ้าของและกำกับบริการของ หน่วยใหญ่ แบบบริษัทบัตรเครดิต VISA ที่เล่าโดยผู้จัดการคนแรกของ VISA คือ  Dee Hock

การระบาด  R2R ในแต่ละบริบทของงานต้องการ coaching ที่เหมาะสมกับบริบทนั้นๆ    เราจึงต้องการ โค้ชที่ทำงานเก่งในต่างบริบท   และที่ต้องการมากที่สุดคือโค้ช  R2R ในบริการปฐมภูมิ   และต้องการ Node ที่ทำหน้าที่จัดการเรียนรู้ทักษะในการทำหน้าที่โค้ช R2R ในบริการปฐมภูมิ 

การประชุมนี้ช่วยให้ผมเข้าใจว่า แต่ละคนตีความ R2R ไม่เหมือนกัน   บางคนให้ R แรก (Routine) สำคัญกว่า   บางคนให้ R หลัง (Research) สำคัญกว่า    และผมมีจริตที่จะแปลงสารให้ R หลังเปลี่ยนเป็น D คือ Development    และมี 4D ได้แก่ (๑) HRD  (๒) OD (Organization Development) ไปเป็น LO   (๓) SD (Service Development  และ (๔) PD (Policy Development    

ปัจจุบัน R2R จึงคู่อยู่กับ R2D

วิจารณ์ พานิช

๑๐ ธ.ค. ๕๔

541210, R2R, R2D, สวรส., ศิริราช, R2R ประเทศไทย 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 470891เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2011 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 21:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าคิดอย่างใส่ใจนะครับ

ว่าจะพัฒนา R2R หรือ R2D ต่ออย่างไร ?

โดยเฉพาะ (๔) PO (Policy Development)

เป็นสิ่งที่ท้าทายมากครับ

เป็นสิ่งที่ท้าทายของคนปฐมภูมิครับ

ขอให้ความแตกต่างของความเห็นกลายเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ใช่แตกแยกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท