ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตน


ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตน

ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตน

Rotter (1966: 20-25) ได้สรุปทัศนคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับความเชื่ออำนาจภายใน - ภายนอก

ตน ในเชิงการรับรู้ในผลตอบแทนจากการกระทำของบุคคล โดยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้ คือ

ความเชื่ออำนาจภายในตน (Internal locus of control) หมายถึง การเสริมกำลังที่มีแหล่งมา

จากความประพฤติ และทัศนคติของบุคคลนั้นๆ เป็นความคิดที่ว่าความสำเร็จและความล้มเหลวที่

เกิดขึ้นกับตนเป็นผลมาจากความสามารถ ทักษะ หรือการกระทำของตนเอง บุคคลซึ่งมีความเชื่อ

ภายในจะมีความกระตือรือร้น เมื่อประสบความล้มเหลวก็จะมีพยายามเพื่อให้ประสบความสำเร็จ

ความเชื่ออำนาจภายนอกตน (External locus of control) หมายถึง การเสริมกำลังที่มีแหล่ง

มาจากภายนอกบุคคล เป็นความเชื่อที่ว่าความสำเร็จและความล้มเหลวของตนขึ้นอยู่กับโชคลาง

ความบังเอิญหรือขึ้นอยู่กับอำนาจของบุคคลอื่น บุคคลซึ่งมีความเชื่อภายนอกจะเป็นคนที่เฉื่อยชา

ไม่กระตือรือร้น ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในชีวิต

Rotter (1966: 1) กล่าวว่า ความเชื่ออำนาจภายในตน (Internal locus of control) หมายถึง

การที่บุคคลรับรู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการกระทำ หรือความสามารถของตนเอง ดังนั้น

คนกลุ่มนี้จะมีความกระตือรือร้นต่อความเป็นไปของสิ่งแวดล้อม มีการแสวงหาข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหา

ที่เกิดขึ้น ส่วนความเชื่ออำนาจภายนอกตน (External locus of control) นั้น หมายถึง การที่บุคคลรับรู้ว่า

เหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับตนนั้นขึ้นอยู่กับอิทธิพลของอำนาจภายนอกที่ตนไม่สามารถ

ควบคมได้ เช่น โชค ความบังเอิญ หรืออิทธิพลของผู้อื่น คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะไม่มีการแสวงหา

ข้อมูล เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

Rotter (1966: 2) ได้อธิบายลักษณะความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนว่า เมื่อบุคคล

ได้รับผลตอบแทนจากพฤติกรรมอันหนึ่งจะเกิดความคาดหวังว่า จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน

จากสิ่งใหม่ในสถานการณ์ที่คล้ายสถานการณ์เดิม ถ้าเหตุการณ์นั้นเป็นไปตามที่บุคคลคาดหวังไว้

จะทำให้ความคาดหวังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ถ้าผลตอบแทนไม่ได้เป็นไปตามที่บุคคลคาดหวัง จะทำให้

ความคาดหวังของบุคคลลดลง การลดหรือเพิ่มความคาดหวังนี้ จะก่อตัวขึ้นจากพฤติกรรมอย่างหนึ่ง

ก่อน แล้วจึงขยายครอบคลุมพฤติกรรมหรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์เดิมเพิ่มขึ้น

เรื่อยๆ จนกลายเป็นบุคลิกภาพที่สำคัญในตัวบุคคล ถ้าประสบการณ์ของบุคคลได้รับการเสริมแรง

บ่อยๆ จะทำให้บุคคลเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความสามารถหรือทักษะของตนเอง ความเชื่อนี้

คือ ความเชื่ออำนาจภายในตน แต่ถ้าพฤติกรรมนั้นไม่ได้รับการเสริมแรง จะทำให้บุคคลเชื่อว่าสิ่งที่

เกิดขึ้นไม่ใช่เป็นผลจากการกระทำของตนเอง แต่เป็นผลจากโชค เคราะห์ ความบังเอิญ หรือ

สิ่งแวดล้อมบันดาลให้เกิดขึ้น ความเชื่อนี้เรียกว่า ความเชื่ออำนาจภายนอกตน ความเชื่อดังกล่าวจะ

มีผลย้อนกลับไปสู่ความคาดหวังในผลแห่งพฤติกรรมใหม่ๆ อีก ดังภาพที่ 1

Rotter (1966: 3-4) พบว่า บุคคลที่มีความเชื่ออำนาจภายนอกตนมักจะมีแนวโน้มที่จะมี

บุคลิกภาพฉื่อยชา ขาดความพยายาม ไม่มีความกระตือรือร้น ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

ตรงกันข้ามกับบุคคลที่ความเชื่ออำนาจภายในตน ซึ่งจะกระตือรือร้น มานะพยายามที่จะต่อสู้กับ

ปัญหาต่างๆ จึงมักจะเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต Platt and Eisenman (1968) ศึกษาพบว่า

บุคคลที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนจะเป็นผู้ที่กระฉับกระเฉง ว่องไว เห็นคุณค่าของกาลเวลา สามารถ

ปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์และมีความวิตกกังวลน้อย นอกจากนั้นแล้ว บุคคลที่มีความเชื่ออำนาจ

ภายในตนยังมีประสิทธิภาพในการควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดีกว่าบุคคลที่มีความเชื่ออำนาจภายนอก

ตนด้วย

Rotter (1966: 4) ไดสรุปบุคลิกลักษณะของผู้ที่มีความเชื่ออำนาจภายในตนไว้ดังนี้คือ

1. เป็นผู้มีความกระตือรือร้นต่อความเป็นไปของสิ่งแวดล้อม อันจะนำมาซึ่งประโยชน์

สำหรับพฤติกรรมในอนาคต

2. พยายามปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมไปตามลำดับขึ้น

3. เห็นคุณค่าของทักษะ หรือผลสัมฤทธิ์ (Achievement) จากความพยายามของตนเอง

4. ยากที่จะชักชวนให้เชื่อตามโดยไม่มีเหตุผล

ส่วน Eggland (1993: 10) ได้สรุปลักษณะของผู้ที่มีความเชื่ออำนาจภายนอกตน โดยรวบรวม

จากผลการวิจัยต่าง ๆ ไว้ดังนี้

1. เป็นผู้มีความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อแก้ไขปัญหาของตนน้อย

2. ขาดความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูล และการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหา

3. มีความวิตกกังวลสูงในการกระทำกิจกรรมใดๆ

4. หลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมและการถูกชักจูงในกิจกรรมใดๆ

5. ขาดความพยายามและมีความกลัวในการแสวงหาแหล่งหรือสิ่งที่จะมาช่วยสนับสนุน

ตนเอง

การพัฒนาของความเชื่ออำนาจภายใน - ภายนอกตน

Strickland (1977: 259) กล่าวว่า ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนจะเริ่มพัฒนาขึ้นตั้งแต่

บุคคลอยู่ในวัยเด็กและมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามวัยและการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กวัยก่อน

เรียนจะมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า และจะได้รับรู้ว่าบุคคลและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อตัวเขา

มาก เนื่องจากตนต้องพึ่งพาคนอื่นเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีวุฒิภาวะเพิ่มขึ้น ขอบเขตของ

การควบคุมตนเองมากขึ้น เรียนรู้ที่จะจัดการกับตัวเอง โดยเริ่มเคลื่อนย้ายหรือชักจูง ปรับปรุง

สิ่งแวดล้อม พัฒนาทักษะในการปฏิสัมพันธ์กับคนบุคคลอื่น และเริ่มทำตนใหม่อิทธิพลต่อบุคคล

อื่นเพิ่มขึ้น โดยจะเปลี่ยนจากผู้ที่คอยรับความช่วยเหลือมาเป็นผู้ริเริ่มกระทำกิจกรรมต่างๆ ด้วย

ความกระตือรือร้น ว่องไว การที่เด็กมีการควบคุมตนเองได้ และรับรู้ว่าผลที่เกิดขึ้นมาจากตัวเอง

หรือเป็นผู้ที่มีความเชื่ออำนาจภายในตน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นการพัฒนา

ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนในวัยเด็กจะพัฒนาตามอายุ โดยเด็กจะมีความเชื่ออำนาจภายใน

ตนเพิ่มขึ้นตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น เมื่อบุคคลได้รับความทุกข์และรับรู้ว่าตนไม่

สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ บุคคลจะเชื่ออำนาจภายนอกตนมากขึ้น ในทางตรงกันข้าม

ถ้าเหตุการณ์นั้นดำเนินไปในทางดีและบุคคลรับรู้ว่าเหตุการณ์ต่างๆในชีวิต เกิดจากการกระทำของ

ตนเอง ความเชื่ออำนาจภายในตนจะเพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยชราบุคคลต้องพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น ดังนั้น

ความเชื่ออำนาจผู้อื่นจะสูงขึ้น (Crandall et al., 1965: 328)

การพัฒนาความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตนของเด็ก ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่

สิ่งที่ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ระดับฐานะเศรษฐสังคมของบิดา มารดา ประสบการณ์ตั้งแต่วัย

เด็ก รวมทั้งวัฒนธรรมและประเพณีการเลี้ยงดูบุตรของบิดา มารดาในแต่ละสังคม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความเชื่ออำนาจภายใน - ภายนอกตน มีส่วนสำคัญที่ทำให้บุคคลมีบุคลิก

ภาพแตกต่างกันออกไป การที่จะเข้าใจและอธิบายถึงพฤติกรรมของบุคคลใดที่มีความเชื่ออำนาจ

ภายในตนหรือความเชื่อภายนอกตน นอกจากจะทำให้สามารถเข้าใจในพฤติกรรมของบุคคลแล้วยัง

สามารถทำนายพฤติกรรมของบุคคลในสถานการณต่างๆ ได้อีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 470620เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มกราคม 2015 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบทความดีๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท