จุดอ่อนของคนไทย


จุดอ่อนของคนไทย ๑๐ ประการจริงหรือ ??

         ในช่วงคาบเวลานี้ที่ประเทศไทยประสบภัยน้ำท่วม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำโจมตีอย่างรุนแรงจมน้ำไปหลายแห่งโดยเราไม่สามารถป้องกันไว้ได้เลยดังที่ทราบกันดี บอกว่าปีนี้น้ำมาก  ก็รู้ว่าน้ำมาก  แต่ไม่ได้เตรียมการป้องกันไว้ก่อนหน้าที่น้ำมา  ไม่มีเลยจริงๆ ไม่เคยมีข่าวว่าจะปกป้องมวลน้ำอย่างไร  แม้แต่น้ำท่วมนครสวรค์แล้ว  ก็ยังไร้วี่เวว  จนกระทั่งน้ำเข้าอยุธยา  จึงตื่นกันแบบงัวเงียๆ อยู่  กว่าจะตื่นกันจริงๆ ก็นวนครจมน้ำนั่นแหละ 

          จากเหตุการณ์นี้จึงมีเรื่องพูดกันมากมายหลายประเด็น  หนึ่งในนั้นคือ การย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่นและชาติตะวันตก  การชะงักและทบทวนการลงทุนของเกาหลีและจีน  ทำให้อดหวนกลับไปถึงคำพูดของประธานส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร กรุงเทพฯ) ที่กล่าวตอนต้นปีเสือปีนี้ได้ระบุไว้ว่า "...ไทยไม่อาจเป็นประเทศที่น่าสนใจในการลงทุนเหมือนที่ผ่านมาในสายตานักลงทุนญี่ปุ่น..."  ซึ่งตอนนั้นน้ำยังไม่ท่วม  แล้ว ตอนนี้จมน้ำไปแล้ว....  ความคิดเช่นนั้นยิ่งไม่แย่ไปกว่าเดิมอีกหรือ ???  จริงอยู่หลังจากนี้ท่วมก็มีการไปล๊อบบี้นักลงทุนชาติต่างๆ ว่าให้อยู่ประเทศไทยต่อไป  เขาก็ต้องตอบว่าอยู่  ไม่ย้ายไปไหนหรอก  ใครๆ ก็ต้องตอบเช่นนี้  ส่วนในใจคิดอย่างไร ยากรู้หยั่งถึง  การย้ายไม่ย้ายมีปัจจัยต่างๆ มาประกอบมากมาย  เขาต้องมองถึงอนาคตของธุรกิจของเขามีอัตราเสี่ยงแค่ไหน  ต้นทุนและโอกาสการแข่งขันมีให้ตัวสินค้าเขาได้มากแค่ไหน ฯลฯ  ทำให้อดคิดถึงความคิดเห็นของวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าพ่ออมตะนครที่กล่าวถึงจุดอ่อนของคนไทยไว้  ๑๐ ประการ นั่นคือคนที่เป็นประชาชนคนเดินดิน และ ผู้บริหารทุกระดับนั่นแหละ  ซึ่งน่าเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจอยู่หรือไปของนักลงทุนต่างประเทศ   ตลอดทั้งผลการพัฒนาประเทศในอนาคตอีกด้วย  นั่นคือ

          ๑.  คนไทยรู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก .... โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม เป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา  เกิดเป็นธุรกิจการเมือง  ธุรกิจราชการ  ธุรกิจการศึกษา  ทำให้ประเทศล้าหลังไปเรื่อยๆ
          ๒.  การศึกษายังไม่ทันสมัย ... คนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง  ทำให้ขาดโอกาสแข่งขันกับต่างชาติบนเวทีโลก / ไม่กล้าแสดงออก  ขี้อาย  ไม่มั่นใจตัวเอง ... เราจึงตามหลังชาตอื่น   จะเห็นได้ว่าคนมีเงินจึงนิยมส่งลูกหลานไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า
          ๓. มองอนาคตไม่เป็น... คนไทยมากกว่า ๗๐ % ทำงานแบบไร้อนาคต  ทำแบบวันต่อวัน  แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวันๆ  น้อยคนนักที่ทำงานแบบเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน  มีเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน
          ๔. ไม่จริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่...  ทำแบบผักชีโรยหน้าหรือทำด้วยความเกรงใจ  ต่างกับคนญี่ปุ่นหรือยุโรปที่ให้ความสำคัญต่อคำสัญญาหรือข้อตกลบอย่างเคร่งครัด  เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว  ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตความน่าเชื่อถืในด้านนี้ลงไปเรื่อยๆ
          ๕. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่...   ประชากรประมาณ 60-70 % ที่อยู่ห่างไกลจะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชน  เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม
          ๖. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็งและดำเนินการไม่ต่อเนื่อง...  ทำงานแแบลูบหน้าปะจมูก  ปราบปรามไม่จริงจัง  การดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารจะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน  ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว
          ๗. อิจฉาตาร้อน...  สังคมไทยไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ เลี่ยงเป็นศรีธนญชัย ยกย่องคนมีอำนาจหรือมีเงิน  โดยไม่สนใจภูมิหลัง  โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจเพื่อเอาตัวรอด คนพวกนี้ยิ่งกว่าผู้ก่อการร้าย  ดีแต่พูด  มือำม่พายแล้วเอาเท้าราน้ำ  ทำให้คนดีำม่กล้าเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว
          ๘. เอ็นจีโอค้านลูกเดียว...  เอ็นจีโอบางกลุ่มอิงอยู่กับผลประโยชน์  เอ็นจีโอดีๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย  บ่อยครั้งที่บ้านเราเสียโอกาสอย่างมหาศาลเพราะการค้านอย่างหัวชนฝา  เหตุผลจริงๆ ไม่ได้พูดกัน
          ๙. ยังไม่พร้อมในเวทีโลก...  การสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลกของเรายังขาดทักษะและทีมเวิร์กที่ดี ทำให้สู้ประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้
          ๑๐. เลี้ยงลูกไม่เป็น...  ปัจจุบันเด็กไทยขาดความอดทน  ไม่มีภูมิคุ้มกัน จิตใจไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน  ไม่สอนให้ลูกช่วยตัวเอง  ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เด็กๆ เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเอง ขวนขวาย แสวงหา ค้นคว้าด้วยตนเอง และ เขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม

          จุดอ่อนของคนไทยเหล่านี้เป็นมุมมองของนักธุรกิจที่มองผลสัมฤทธิ์เพื่อการแข่งขันกับนานาชาติ  จะเห็นได้ว่าเราเสียเปรียบมากๆ นอกจากนี้ การตรงต่อเวลา ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เป็นปัญหาของคนไทยเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับชาติพัฒนาแล้ว จนเป็นที่มาของคำว่า "นัดแบบไทยๆ"  ระบบอุปถัมภ์ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งของสังคมไทยเช่นกัน  สิ่งเหล่านี้ถ้าแก้ไขได้ประเทศเราจะน่ากลัวมากบนเวทีโลกทีเดียว  

          ดังนั้นภายใต้การแข่งขันบนกระแสโลกาภิวัตน์จุดอ่อนของคนไทยเหล่านี้ต้องไดับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน  ถ้าคนไทยมีความสมบูรณ์ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ดี  รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองดีแล้ว  เขาจะย้ายไปไหน

..........  เริ่มที่ไหนดี

..........  คำตอบคือ "ที่บ้าน" 

..........  ทำอย่างไร ????

..........  กำหนดเป้าหมายการเลี้ยงดูให้เกิดสิ่งต่อไปนี้

          ๑.  ช่วยตัวเองได้ 
          ๒.  ตัดสินใจด้วยตัวเองได้ 
          ๓.  มีทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
          ๔.  รู้จักค้นหาคำตอบด้วยตัวเองได้
          ๕.  มีคุณธรรม จริยธรรม  โอบอ้อมอารี  ไม่เห็นแก่ตัว
          ๖.  มีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ตนเองกระทำ (ไม่คอยแต่โทษผู้อื่น)
          ๗.  มีสุนทรียภาพ  (ทำคนให้เป็นคนไม่ใช่หุ่นยนต์)
          ๘.  รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

          ข้อสำคัญต้องตระหนักว่า นี่คือ ภาระของครอบครัวไม่ใช่ภาระของโรงเรียนและสังคมเท่านั้น

           .... ครอบครัวมาที่หนึ่ง  โรงเรียนมาที่สอง  สังคมมาที่สาม ....

          .... วันหลังมีเวลาจะมาขยายกระบวนการสร้างคนให้เกิดตามเป้าหมายต่างๆ เหล่านั้น 

 

 
หมายเลขบันทึก: 470596เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ÄÄ...สังคมในครอบครัว..หมดไป..อย่างสิ้นเชิง..(การศึกษาแย่งเวลาไป..หน้าที่การงาน..ขายแรงงาน..ทั้งทางตรงทางอ้อม...กลายเป็นจุดอ่อนกับคำว่าสังคมรวม.และคำว่าอยู่ดีกินดี.)..เราตกอยู่ในวงจรเดียวกันในปัจจุบัน..คือ..วัตถุนิยม..ทุนนิยม (ที่กำลังล่มสลาย..ในประเทศก่อตั้ง..เราประเทศในเอเชียน..กำลังเป็น.ระบบงูกินหางและ.ตาบอดคลำช้าง..กันอยู่เจ้าค่ะ."โดยเฉพาะขยะที่กำลังท่วมโลกอยู่เวลานี้.ปัญหาน้ำจะท่วมโลก ครั้น.จะเปลี่ยนตัวเป็นเงือกน้อยอยู่กับน้ำ..คงจะอีกหลายสิบล้านปี.คงจะต้องอ่านพระอภัยมณีกันไปก่อน(คนไทย).อ้ะะะๆๆๆ..ยายธี....

  • วันนี้มาแนวหนักๆ นะคะท่าน ว่ากันตรงๆ ไม่มีกระแนะกระแหนเหมือนที่ว่าชาวต่างชาติอาบแดด ดูราวกัฮิปโปเกยตื้น 
  • อ่านแล้วก็เห็นด้วยกับจุดอ่อนของคนไทยทั้ง  ๑๐ ประการ เพราะได้สัมผัสด้วยประสบการณ์ตรงทั้งหมด
  • ขอกล่าวถึงประเด็นจุดอ่อนที่ 6  "การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็งและดำเนินการไม่ต่อเนื่อง" เคยมีรายการสนทนารายการหนึ่ง ที่ผู้ร่วมสนทนาระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีการประกาศใช้กฏหมายมากที่สุด แต่กลับมีการบังคับใช้กฏหมายน้อยที่สุด และสำนวน "ไฟไหม้ฟาง" ก็ดูจะมาจากจุดอ่อนการบังคับใช้กฎหมาย ที่มีการดำเนินการอย่างไม่ต่อเนื่อง
  • อย่างไรก็ตาม ก็ต้องขอพูด ณ ที่นี้ว่า คนไทยที่มีคุณภาพมีอยู่มากมาย ซึ่งจะหาได้ไม่ยากจากสังคม G2K แต่จุดอ่อนที่กล่าวถึง เป็นการกล่าวถึงค่าเฉลี่ย 
  • แล้วท่านก็ได้ให้กุญแจแก้ปัญหามาว่า บ้านทีบทบาทมากที่สุด ตามด้วยโรงเรียนและสังคม ที่จะหล่อหลอมให้อนุชนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการ พร้อมกับบอกว่าจะขยายกระบวนการสร้างคนให้เกิดตามเป้าหมายดังกล่าว
  • ก็จะรอติตามอ่านนะคะ เพราะการสร้างคนนับว่ามีความสำคัญมาก ด้วย "จะพัฒนาอะไรก็ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาคนก่อน"

 

เห็นด้วยกับอาจารย์ค่ะ ที่กล่าวมาเป็นจริงอย่างที่ว่า และจะติดตามอ่านต่อไปค่ะ (ชอบมาก)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

เปรียบคนไทยเหมือนกับเด็กน้อยที่น่ารัก รัฐบาลเป็นพ่อแม่ ลูกอยากได้อะไรซื้อให้หมด โดยไม่คำนึง หากไม่ซื้อให้ลูกก็ร้อง ร้องแล้วยังไม่ซื้อให้อีกก็ไล่พ่อแม่

จงสอนให้ลูกเข้มแข็ง ล้มต้องลุก ต้องอดทน หากอดทนที่จะอยู่กับพ่อแม่ไม่ได้แล้ว จะอยู่ในสังคมได้อย่างไร

อย่าให้ใครเขาว่าเราได้ว่า

ประเทศอื่นเขาไปกันจะสุดโลกอยู่แล้ว แต่เรายังหาทางออกจากกะลาอยู่เลย หากจะเปลี่ยนไทย ต้องเปลี่ยนที่ตัวเรา ให้บุคลากรทางการศึกษา สำคัญมากกว่านี้

เป็นไปได้ก็แยกกระทรวงศึกษาธิการ แยกออกจากความดูแลของรัฐ ตั้งเป็นองกรที่มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพมากกว่านี้ รัฐบาลมีหน้าที่ จัดสรรค์งบเท่านั้น เพราะเปลี่ยนรัฐบาลทุกทีก็เปลี่ยนนโยบาย และรูปแบบทุกที การศึกษาไม่ใช่เรื่องล้อเล่นของใคร แต่เป็นเรื่องที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพของประเทศชาติ เราเรียนรู้มาเยอะแล้วกำคำว่าล้าหลัง

และคำว่ากำลังจะเป็นเสือตัวที่ 5 ของอาเซียน มันกำลังจะเป็นมากี่สิบปีแล้วครับ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

อยากบอกสั้นๆครับว่า "โดนอย่างแรง" ผมเคยอ่านหนังสือท่านอาจารย์วิกรมด้วย ขอกด Like ให้สัก "ร้อยล้าน" ครั้งครับผม

ขอบพระคุณในการแบ่งปันองค์ความรู้นะครับ มีโอกาสจะเข้ามาเยี่ยมชมอีกครับ

  • สวัสดีปีใหม่ค่ะอาจารย์
  • ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆสุขกายสุขใจนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท