"กายกับใจ"ที่ไร้ขอบเขต


ทหารรับจ้าง

      ข้าพเจ้านั่งคุยกับชาวบ้านอยู่ป้อมยามปากทางก่อนจะถึงชายแดนเขมรประมาณ 1 กิโลเมตรในเรื่องทั่วๆไป สังเกตเห็นว่ามีเด็กเขมรปั่นจักยานมานั่งเพิ่มด้วยอีก 2 คน จึงถามชาวบ้านว่าน้องเขามาทำอะไร ชาวบ้านบอกว่า เด็ก 2 คนนี้มันเอาของมาขายให้กับคนไทยประจำๆไม่ว่าจะเป็น ผัก ผลไม้ สัตว์ป่าที่พวกเขาหาได้จากฝั่งเขมร ข้าเจ้าเริ่มสนใจขึ้นมาจึงได้เข้าไปพูดคุยด้วย น้องเขาชื่อ”พร” พูด อ่าน เขียนภาษาไทยได้

พรเล่าว่า เขาเคยเข้ามาเรียนหนังสือในโรงเรียนบ้านหนองจานจนจบ ป.3 แล้วไม่ได้เรียนหนังสือต่อเพราะแม่ไม่มีเงินส่งเรียนในประเทศเขมร เขามาประจำกับน้อง พรกับน้องนั่งรอขายผักหวานที่เก็บมาจากฝั่งประเทศกัมพูชา ให้กับผู้รับซื้อที่เป็นคนไทย

ข้าพเจ้าสงสัย ในฝั่งประเทศเขมรไม่มีโรงเรียนเหรอ?

พรบอกว่า “มี” แต่ ไม่เหมือนกับโรงเรียนในไทยที่มีพร้อมทั้ง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียนและอีกอย่างในช่วงนั้น “พ่อ”ของพรก็เป็นคนไทย

ขณะนั้นชาวบ้านในกลุ่มที่ข้าพเจ้านั่งอยู่ด้วยที่รู้จักและเห็น พร มาขายเป็นประจำบอกว่า

ชาวบ้าน1 มันขายเป็นประจำ มันเคยมาเรียนที่โรงเรียนหนองจานอยู่ๆมันก็หายไปเลย มันขยันนะตอนมาเรียนเห็นมันปั่นจักรยานมาทุกวัน ฝนตกแดดออก ก็มา ไม่น่าเชื่อว่าโตขึ้นมันจะเป็นยังงี้(จากการสังเกต “พร”เป็นเด็กที่น่าตาสวย คม พูดจาดี” )

ข้าพเจ้า งง? พรจึงบอกว่า เขามี” พ่อ”เป็นคนไทย ตอนนี้เป็น”ทหารพราน”? เขาเรียนอยู่ ป.3 พ่อก็เลิกกับแม่ที่เป็นคน”เขมร” แม่ได้แฟนใหม่เป็น”ทหารเขมร”

ข้าพเจ้าถามว่า แสดงว่าก็เลิกเรียนเลยตอนนั้น พร จ๊ะ

ข้าพเจ้า เลิกเรียนแล้วช่วยแม่แล้วทำอะไรได้บ้างหละ พร ก็ทุกอย่างนะ

ข้าพเจ้าถามว่า แม่เคยเล่าให้ฟังไหมว่า พ่อกับแม่รู้จักกันได้อย่างไร

พรบอกว่า เคย “พ่อเคยเป็นทหารรับจ้างเขมร[1]  แม่เป็นชาวบ้านธรรมดา ยายให้แต่งกับพ่อเอง

ข้าพเจ้าเริ่มงงมากขึ้น? “พ่อเคยเป็นทหารรับจ้างเขมร”?แล้วกับมาเป็น”ทหารพรานไทยได้อย่างไรกันนี่ โอ้มายก๊อด”????????????? ขณะนั้นรถที่วิ่งมารับผักหวานก็มาพอดีว่าจะถามซักหน่อย

“การบอกเรื่องราวในอดีต อาจอยู่บนการครอบงำจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งก็เป็นได้”

 

พรนำผักหวานมา 2 ถุงใหญ่ เข้าเจ้าซื้อไว้ถุงหนึ่งส่วนพรขายผักหวานได้เงิน 80 บาท

ข้าพเจ้า พี่ขอคุยด้วยได้ไหม

พร ได้จ๊ะ (อาจจะเกิดจากความเกรงใจที่เราซื้อผักหวานเขาก็เป็นได้)

ข้าพเจ้า เออเรื่อง”พ่อ”ของ”พร” พี่งงจังเลย

พร หนูก็ไม่ค่อยรู้หรอกจ๊ะ รู้แค่ว่า “พ่อเคยเป็นทหารเขมร” แล้วตอนนี้ก็ “เป็นทหารไทย”(สีหน้าชักไม่อยากที่จะตอบแล้วซิ เปลี่ยนเรื่องดีกว่า)

ข้าพเจ้า(ตัดบท)ถามต่อว่า แล้วพรหละแต่งงานหรือยัง ?

พร กำลังจะแต่งเดือนหน้าจ๊ะ

ข้าพเจ้าถามว่า คนเขมรหรือคนไทย

พร เขมร

ข้าพเจ้า นึกว่าคนไทย เห็นมาเรียนที่เมืองไทย แล้วไม่มีคนไทยจีบเหรอ

พร มีจ๊ะ แต่แม่ไม่ชอบ

ข้าพเจ้า แม่ไม่ชอบ ทำไมหละ

พร แม่บอก[2] คนไทยคนนี้ไม่ดี ไม่ขยัน “สู้คนเขมรคนที่แม่หาให้ไม่ได้[3]

 

คำถามเริ่มพุ่งเข้ามาในหัวของข้าพเจ้า “คนเขมรตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ยังคงมีการยึดถือวัฒนธรรม(ซึ่งเป็นการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม)  ค่านิยม เดิมอยู่หรือไม่ อย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมดั้งเดิมหรือไม่อย่างไร? “

”อดีต” อาจจะไม่ได้ตัดขาดจาก”ปัจจุบัน” (อดีตเป็นแม่แบบปัจจุบัน) แต่ช่วงเวลาทั้งสองช่วงมีความสัมพันธ์กัน การจะทำความเข้าใจในชีวิตปัจจุบันจำเป็นต้องศึกษาทั้งสองช่วงเวลา เพราะ สิ่งที่เป็น”ปัจจุบัน” ได้ถูกปรุงแต่งผ่าน”กระบวนการทางสังคม”แล้ว

 

ข้าพเจ้า แล้ว “พร”ชอบไหมหละ

พร “ชอบไม่ชอบก็ต้องแต่งเพราะแม่หาให้”

ข้าพเจ้า เขมรเขาแต่งกันเยอะไหม?

พร 20000 เหรียญ หนูขอกลับก่อนนะคะ

ข้าพเจ้า ขอบคุณมากนะพร้อมกับส่งเงินให้น้องของพร 20 บาท น้องกับพรยกมือไหว้พร้อมกับปั่นจักรยานออกไป



[1] ความทรงจำทางสังคม(embodied memory) ถูกเก็บไว้อย่างสม่ำเสมอ “ผ่าน” รูปแบบการจดจำที่เป็นสัญลักลักษณ์ที่เป็น”รูปธรรมและนามธรรม” เพื่อให้เกิดการ”เชื่อมต่ออดีตกับปัจจุบัน”,(โบดิเยอร์,1997).

สิ่งเหล่านี้สุดท้ายแล้วได้กลายมาเป็น”ทุนทางสังคม” ที่ใช้เก็บเกี่ยวอยู่ในปัจจุบัน

 

[2] การแสดงบทบาทขึ้นอยู่กับสถานภาพในขณะนั้นที่บรรจุอยู่และการแสดงบทบาทก็ยังมี”อิทธิพล”หรือ”บริบท”อี่นมาควบคุม

[3] Nancy   J.Smith-Hefner(1993),  “Education,Gender,and Generational Conflict among Khmer Refugees  “ Anthropology & Education Quarterly,vol.24,no.2,(Jun.,1993):135-158. ที่ศึกษา การออกเรียนกลางคันของนักเรียนหญิงชาวเขมรจากการสอบถามผู้ปกครองที่ลี้ภัยชาวเขมรในเมือง Boston พบว่า พ่อแม่ชาวเขมรยังคงปฏิบัติตามวัฒนธรรมเขมรที่ยึดถือความเชื่อว่า ตนมีหน้าที่ดูแลลูกสาวด้วยการหาคู่ครองที่ดีให้แต่งงาน

 

หมายเลขบันทึก: 469942เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2011 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท