ซองผ้าป่า


บอกบุญหรือตรวจสอบความสัมพันธ์ในสังคม

ซองบอกบุญ ได้กลายมาเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการนิยามความหมายของการเป็น”เครือข่าย” ทั้งที่รู้จักเช่น การบอกบุญในงานทำบุญแจกข้าว(มุ่งสนับสนุนให้คนหาความสุขโดยการเสียสละ) ถ้ามองในแง่เศรษฐกิจครอบครัวถือว่า เป็นการสร้างภาระของการลงทุน (เป็นแนวคิดของทุนหรือทุนนิยมที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเอง) ในการหาเงินมาใส่ซอง….และไม่รู้จักเช่น การทอดผ้าป่า เกิดขึ้นจากการย้ายถิ่นของแรงงานในชนบทนำพาเข้ามา…………. ซึ่งล้วนแล้วแต่ทำให้เกิด “ความคาดหวัง และภาระพูกพัน” ดังเช่น james coleman[1] นักสังคมวิทยาได้เขียนไว้ในบทความที่ชื่อว่า Social capital in the creation of human capital ระบบความสัมพันธ์อันใดอันหนึ่งในสังคมจะดำรงอยู่ได้ ก็เมื่อผู้ที่อยู่ในระบบความสัมพันธ์มีความคาดหวังว่าเขาจะได้รับการปฏิบัติจากผู้อื่นที่อยู่ในระบบความสัมพันธ์อันเดียวกันอย่างไร และผู้อื่นก็มีความคาดหวังต่อเขาในลักษณะเดียวกัน ในขณะเดียวกันเขาเองก็มีภาระผูกพันที่จะต้องปฏิบัติตามที่ผู้อื่นที่อยู่ในระบบความสัมพันธ์นั้นๆ คาดหวังต่อตัวเขาด้วย  ในเครือข่ายทั้งผู้รับและผู้ให้ เป็นปรากฏการณ์ของการเกิด”เครือข่าย” ที่เห็นเป็นรูปธรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์กันอยู่เป็นประจำทั้งในและนอกหมู่บ้าน(ทุนทางสังคม เป็นช่องทางหรือก่อให้เกิดการไหลของข้อมูลข่าวสาร) เป็นการผลิตซ้ำ”ทุนทางสังคม” (ที่เข้มแข็งหรืออ่อนแออยู่ที่จุดประสงค์ของการกระทำ) ที่มีฐานคิดและอุดมการณ์เกี่ยวกับ “การทำบุญ” ของชาวบ้าน



[1] Coleman J.S,(1988). ‘Social capital in the creation of human capital’,in American Journal of sociology,94,95-120.

หมายเลขบันทึก: 469939เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2011 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท