คนไทยพร้อมแล้วยังกับภัยพิบัติธรรมชาติในอนาคต ?


ภัยพิบัติ/น้ำท่วม

คนไทยพร้อมแล้วยังกับภัยพิบัติธรรมชาติในอนาคต ?

กรอบความคิดรวบยอด

1. ภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายอย่างคาดคะเนได้ เช่นพายุ  น้ำท่วม ภัยแล้ง หรือ แม้แต่ภัยสึนามิ

2.หากมีการบริหารจัดการ เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอย่างดี ช่วยลดความสูญเสียได้

3.มนุษย์ต้องรู้จัดพอ ไม่พยายามทำตัวเหนือธรรมชาติหรือเป็นผู้จัดการธรรมชาติ  เพราะเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น(ย้ำ! เท่านั้น!!)

4.คนไทยและเด็กไทยพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคตข้างหน้าแล้วหรือไม่

5.ใครบ้างที่จะต้องมีส่วนร่วมเตรียมคนไทยและเด็กไทยให้มีชีวิตรอดหรือผ่านพ้นวิกฤตเหล่านั้นได้

ภัยพิบัติทางธรรมชาติหลายอย่างคาดคะเนได้

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า  โลกใบนี้กำลังมีปัญหาจากกระทำของมนุษย์ เนื่องมาจากมนุษย์พยายามกอบโกยอะไรต่อมิอะไร(ทรัพยากรธรรมชาติ)จากโลกใบนี้  แล้วก็สร้างมลภาวะอะไรต่อมิอะไร(ของเสียทั้งหลาย)ใส่ให้กับโลกใบนี้  แถมเราเรียกการกระทำนี้ว่า”พัฒนา”  ถ้าความหมายของคำว่า”พัฒนา”คือความสะดวกสบายของชีวิติภายใต้”กฏกู” ของมนุษย์ ( ไม่ใช่”กฏเกณฑ์นะ”)ที่ว่า”กอบโกยและทำลาย”  ก็น่าจะไม่ใช่  น่าจะเป็นความหมายที่ผิด เพราะสิ่งมีชีวิตอื่นที่เขาเหล่านั้นก็เป็นเจ้าของโลกใบนี้ด้วย

ผู้เขียนมีอายุเกินครึ่งร้อยแล้ว  เห็นภัยธรรมชาติก็มากไม่เฉพาะประเทศไทยหรือทั่วทั้งโลก  ภัยธรรมชาตินับวันมีความถี่มากขึ้นๆ  ความรุนแรงก็มีมากขึ้นๆ ความเสียหายก็มีมากขึ้นๆ  ที่สำคัญภัยเริ่มมีเหลากหลายมากขึ้นด้วย

 หากมีการบริหารจัดการ เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าอย่างดี ช่วยลดความสูญเสียได้

            ยกตัวอย่าง กรณีการเกิดน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยในเวลานี้ ที่บางคนเรียก วิกฤตน้ำท่วมใหญ่   ผู้เขียนมีความเชื่อว่า  ภัยลักษณะนี้สามารถรู้ล่วงหน้าคาดคะเนได้  ที่สุดคือสามารถวางแผนจัดการมันได้  ไม่ใช่ร้อยแต่ลพความรุนแรง/ความสูญเสียได้  ผู้เขียนไม่ได้เข้าข้างพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างหลับหูหลับตา  ทุกวันนี้ “เรา”  ยังไม่รู้เลยข้อเท็จจริงของสาเหตุเฉพาะคำว่า  การบริหารจัดการน้ำ เกิดความผิดพลาดที่ตรงไหน ใครบ้างที่ต้องรับผิดชอบ  ผู้เขียนเบื่อนักการเมืองมากๆ  รัฐบาลก็โยนให้ฝ่ายค้าน  หาว่าฝ่ายค้านวางยา  ฝ่ายค้านก็บอกว่าเขาไม่ได้วางยา  แต่จะนโยบายหวังผลความสำเร็จจากการรับจำนำข้าว  ที่สุด  “เรา”  จะเชื่อใคร  เรามีมีโอกาสรับรู้ความจริงเลย  ภายใต้นักการเมืองที่”ตอแหล”ทั้งหลาย  (จำนวนหนึ่ง  มากเสียด้วยซิ! ผู้เขียนๆบทความนี้ก่อนที่สภาจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรองนายกฯ  ที่สุดมันก็คือ  การเล่นปาหี่  ใช้หรือไม่) ความสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งชีวิตและทรัพย์สินเป็นมูลค่าเกินกว่าคนานับ  แล้วเราก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินมาฟื้นฟู 

                ย้ำอีกครั้งว่า  ภัยพิบัติต่างๆ  หากมีการวางแผนบริหารจัดการที่ดี  รับมือกับมันได้อันจะช่วยลดความสูญเสียได้  ถ้า มีหน่วยงานที่รู้เรื่องรับผิดชอบ มีทีมงานที่รู้เรื่องเข้าใจ(Put  the  right  man  on  the  right  job)  นักการเมืองอย่าเข้ามาจุ้นจ้านวุ่นวาย  พื้นที่นั้นฐานเสียงพรรคนั้นพรรคโน้น  ต้องทำอย่างทำนี้ ห้ามทำอย่างนั้น  ฟังแล้วเซ็ง! นี่อะไรก็ไม่รู้    

มนุษย์ต้องรู้จักพอ

            ย้ำ! มนุษย์ต้องรู้จักพอ   ไม่พยายามทำตัวเหนือธรรมชาติหรือเป็นผู้จัดการธรรมชาติ  เพราะเราเป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น(ย้ำ! เท่านั้น!!) มหาตมะคานที  กล่าวไว้ว่า”ทรัพยากรธรรมชาติมีเพียงพอสำหรับการบริโภค  แต่ไม่เพียงพอสำหรับสนองความต้องการ:Enough for need  but  not  enough  for  greed ”  ก่อนที่จะสายเกินไป  มนุษย์ต้องหันมาเอาใจใส่อย่างจริงจังนะ  หยุดได้แล้วยังกับคำพูดที่ว่า ต้องให้เศรษฐกิจเติบโตเท่านี้เท่านั้นเปอร์เซ็นต์ของGDP  ผู้เขียนชอบวิธีคิดของประเทศภูฐานหรือภูทานที่เขาเน้นเรื่องความสุขมวลรวมของประเทศหรือของประชาชน

                ย้ำว่าถ้าการพัฒนาประเทศที่เน้นGDP เน้นการเติบโตที่เป็นไปเพื่อการกอบโกยและทำลายสิ่งแวดล้อม  หายนะหรือภัยพิบัติจะคืบคานเข้ามาหามากขึ้น ถี่ขึ้น  รุนแรงขึ้น ความสูญเสียก็มากขึ้น ท้ายที่สุด  เราอาจจะไม่สามารถรักษาโลกใบนี้ให้ลูกหลานคนรุ่นหลังได้อยู่อาศัยต่อไป  อย่าลืมว่า มนุษย์อย่าทำตัวเป็นเจ้าของทรัพยากร  ยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมากมายที่พวกมันก็ร่วมเป็นเจ้าของด้วย

คนไทยและเด็กไทยพร้อมรับมือกับภัยพิบัติในอนาคตข้างหน้าแล้วหรือไม่

ผู้เขียนเคยพูดกับนักเรียนที่หน้าเสาธงและพูดกับคุณครูในห้องประชุมที่ใจความคล้ายคลึงกันคือ  บทเรียนการเกิดสึนามิที่เมืองฟูกูชิมะของญี่ปุ่นและการเกิดภัยน้ำท่วมใหญ่ของประเทศไทยเราให้ภาพที่เป็นบทเรียนอะไรบ้าง 

1.คนญี่ปุ่นเขาไม่แย่งอาหารกัน  เขาเข้าแถวรับความช่วยเหลือไม่เหมือนคนไทยแย่งชิงกัน  นี่คือคุณภาพของคน  “วินัย” ใช่หรือไม่

2.คนญี่ปุ่น เขาไม่โววาย  คนไทยเป็นไง  ?

3.คนไทยอ่อนแอมากกับการเผชิญกับภัยซึ่งหน้า  ทำอะไรไม่ถูกเมื่อภัยมา  มีแต่แบมือรับความช่วยเหลือ  เข้าใจนะ คือความเดือดร้อน  แต่ถามว่า  ถ้าประเทศต้องเผชิญกับภัยพิบัติครั้งแล้วครั้งเล่า เดี๋ยวภาคนั้นน้ำท่วม  เดี๋ยวภาคนั้น หนาวเย็น  เดี๋ยวภาคนั้นแล้งจัด  วนเวียนอยู่อย่างนี้ รายการลดแลกชิงแถมที่”รัฐ:รัด-ถะ” ต้องหาเงินมาชดเชยช่วยเหลือ  ในภาพรวมมันไม่น้อยนะ  เอาเงินมาจากใหน  สิ่งเหล่านี้  เราต้องคิด  ไม่ใช่ไม่ช่วย   เพราะเราก็เสียภาษีให้รัฐ  ก็สมควรได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ  แต่เราต้องกลับมาคิดว่า  เราจะใช้วิธีนี้ตลอดหรือ  ก็คงไม่ใช่   

                                สรุป คนไทยอ่อนแอ  ขาดสติ  คนญี่ปุ่นเข้มแข็ง  และมีสติ  (ที่พูดนะ ให้คิด  ไม่ใช่ให้เถียง) คือคนไทยยุคนี้ใช้อารมณ์มากๆกว่าใช้สติ  แต่คนญี่ปุ่นใช้สติมากว่าใช้อารมณ์  การใช้อารมณ์มากกว่าใช้สติเหตุผล นี้อันตราย  แล้วภาวนาให้ประเทศไทยมีการเมืองและนักการเมืองที่สะอาด  จริงๆๆๆๆๆ

 

ใครบ้างที่จะต้องมีส่วนร่วมเตรียมคนไทยและเด็กไทยให้มีชีวิตรอดหรือผ่านพ้นเมื่อมีภัยวิกฤต

            1.ระดับครอบครัว  พ่อแม่ต้องสอนและสร้างโอกาสให้ลูกๆรู้และมีทักษะในการเผชิญกับการมีชีวิตที่ต้องช่วยตนเองบ้าง อย่างน้อย  ยามน้ำไม่ไหล  ไพดับ  ต้องปรับตัวอยู่ได้และอยู่รอดด้วย   ต้องสอนให้รู้จักรับรู้ปัญหารับรู้ความเดือดร้อนของผู้อื่นด้วย  เพราะเราคือเพื่อนร่วมโลก ร่วมประเทศเดี่ยวกัน  ต้องสอนให้รับรู้และร่วมลงแรงร่วมกับครอบครัวในการฝึกฝนกระบวนการตัดสินใจด้วย

2.ในระดับโรงเรียน  โรงเรียนเป็นกลไกสำคัญมาก ที่ต้องสอนให้เห็นการเชื่อมโยงของธรรมชาติกับการกระทำของมนุษย์ ที่ไม่สนใจธรรมชาติจนที่ก่อให้เกิดภาวะต่างๆ  เช่นภาวะโลกร้อนที่เราพูดกันมากในเวลานี้  การพังทลายของภูเขา ดินโคลนถล่ม  ล้วนเกิดจากการบุกรุกแผ้วถางป่าธรรมชาติ(มีรากลึก)มาทำการเกษตร  การปลูกยางพาราบนที่สูง  ไม่ได้ช่วยรักษาหน้าดินเลย  เพราะต้นยางพารา  ไม่มีรากแก้ว  ส่วนที่เป็นรากของมันอยู่ลึกจากผิวดินเพียงเล็กน้อย  ไม่เกิน  2 เมตร  เป็นต้น

นอกจากนั้น โรงเรียนต้องสอนและสร้างโอกาสในวิชาลูกเสือ(การเดินทางไกลจริงๆ การผจญภัยภายใต้สถานการณ์ที่โรงเรียนจัดขึ้น  เพราะวิชาเหล่านี้คือวิชาการเอาตัวรอด  เป็นต้น)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โครงงานวิทยาศาสตร์  โครงงานเกษตร ตามแต่บริบทของแต่ละโรงเรียน  อยู่ใกล้น้ำหรือที่ลุ่ม ต้องสอนให้รู้จักว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนตกน้ำ  อยู่ที่สูงบนดอยใกล้ภูเขา  ต้องสอนให้รู้จักการดูแลลักษณะของสีน้ำ ลังเกตสภาพหน้าดิน การทรงตัวของต้นไม้ การไม่อยู่ในตำแหน่งที่น้ำไหลผ่าน  สภาพของลำน้ำ  เป็นต้น    ครูต้องพยายามจุดประกายการคิดนอกกรอบ  เช่นการปลูกข้าว การปลูกผัก  โดยไม่ใช้ดิน เป็นต้น

3.ในระดับสังคมประเทศชาติ  ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ(เจ้าภาพ)ที่ประกอบด้วยการทำงานของหลายกระทรวงแบบบูรณาการและเน้นการมีส่วนร่วม มีแผนการทำงานที่ชัดเจน ที่สำคัญต้องค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับภัยพิบัติและการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ชัดเจน  ไม่ใช่ลองผิดลองถูกอย่างทุกวันนี้

            ผู้เขียนบอกไม่ได้จริงว่าอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไร  แต่สิ่งที่ต้องทำวันนี้คือ การเตรียมเด็กๆให้พร้อมที่จะรับมือกับทุกสถานการณ์

หมายเลขบันทึก: 469501เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท