ข้อมูลการดูแลโรคเรื้อรัง แบบ wikipedia


ล่าสุดนี้ ข้าพเจ้าได้คุยกับรุ่นน้องที่ปฎิบัติงานใน รพ.ชุมชนแห่งหนึ่ง
เรื่อง ต้นแบบ Chronic และ Palliative care  
ถามว่ามีรายละเอียดโครงการว่าอย่างไร

..ข้าพเจ้าตอบไปว่า  "ไม่มีรายละเอียด"
เพราะเชื่อในพลังความสร้างสรรค์ของคนทำงาน
ความรู้ที่เกิดจากปฎิบัติ คือความรู้จริง
ยิ่งกว่าการวางแผนโดยใช้ทฤษฎีใดๆ
..
สิ่งเดียวที่ข้าพเจ้าปรารถนามีส่วนอย่างแรงกล้า
คือ ระบบข้อมูลที่สนับสนุนการทำโครงการ
เช่นเดียวกับการดูแลรักษาผู้ป่วย ต้องเริ่มด้วย วินิจฉัยให้ถูกต้อง
โครงการ ก็ควรเริ่มต้นด้วยการ "วินิจฉัย"  
ประเมินสถานการณ์ เพื่อ ประมาณพันธกิจ 
(Systems Assessment & Mission Alignment) [1]
.
ระบบข้อมูลในโรงพยายาบาลปัจจุบัน
ถูกออกแบบเพื่อ การคิดค่ารักษา หรือส่งให้กับหน่วยงานบังคับบัญชาเป็นหลัก
การจัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามความต้องการจากส่วนกลาง 
แล้ว Top-down ลงมายังผู้ปฎิบัติ
ความถูกต้อง และ "insight" ในข้อมูลที่บันทึกจึงถูกจำกัด
.
ข้าพเจ้า "ฝัน" เห็นการเก็บข้อมูลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
จากฐานข้อมูลส่วนบุคคล สู่การสร้างองค์ความรู้ร่วมกัน
ฐานข้อมูลที่แพทย์แต่ละคนจัดเก็บเอง ไว้ใช้เอง  
เหมาะสมความต้องการเวชปฎิบัติของตนเอง
แล้วมีช่องทางให้สามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ ในลักษณะคล้าย wikipedia
ต่างตรงที่ว่า เนื้อหาใน wikipedia ส่วนมากเป็น ความรู้มือสอง อ้างอิงอีกต่อ
แต่ฐานข้อมูลนี้ คือ ความรู้มือหนึ่ง ที่เกิดจากการสังเกต บันทึกอย่างเป็นระบบ 
อาจเริ่มด้วย ระบบใคร ระบบมัน
แล้วค่อยๆ ปรับเข้าหากัน ตกลงกัน เป็นระบบที่ลงตัวตามสภาพเป็นจริงเอง
.
ภาพจาก http://en.kichka.com/2011/01/16/wikipedia10-years/
.
บทเรียนจากการทำฐานข้อมูลจาก Microsoft access 2007
ตั้งชื่อย่อไว้ว่า "FISH" สมัยเป็นแพทย์ประจำบ้าน
จุดหมายให้ นักศึกษา แพทย์ประจำบ้าน อาจารย์ 
แต่ละคนมีเครื่องมือจัดเก็บข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัวที่ดูแลต่อเนื่อง
เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบข้อมูลมาเสนออภิปราย หรือ รวบรวมทำวิจัย (ตัวอย่าง)
แม้ยังเป็นความพยายามที่ หลายคนมองว่า "เหนื่อยเปล่า"
ข้าพเจ้ามองย้อนไป ก็เห็นความ "bad idea" ของตนเองหลายประการ
นำบทเรียนมา มองถึงโอกาสที่จะปรับปรุง ดังนี้
.
1. การบันทึกข้อมูลไม่เน้นครบ แต่เน้นคุณภาพ : เกิดจากความสมัครใจ 
 ตอนที่ทำ FISH นั้น พยายามทำให้เก็บข้อมูลได้ครอบจักรวาลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 ผลคือ ความซับซ้อนในการเก็บข้อมูลมากเกินไป เก็บไม่ไหว หรือ เก็บแบบให้ครบไปงั้นๆ
 การที่ข้อมูลส่วนใดได้รับการบันทึก- อย่างครบถ้วน
เป็นข้อมูลที่ผู้บันทึก มีทัศนะสองประการคือ  [2]
- It's wroth - เป็นประโยชน์
- It's doable- ไม่เกินความสามารถ
ยกตัวอย่าง ผังเครือญาติ (Family genogram) 
หากคาดหวังให้แพทย์บันทึกข้อมูลส่วนนี้  เราตอบคำถามเขาได้หรือไม่ว่า
- It's wroth  : ช่วยในการตัดสินใจ  เรื่องอะไร ?  อย่างไร?  ในบทบาทที่เขาได้รับในโลกแห่งความเป็นจริง
- It's doable : การเขียนผังสามชั่วอายุคน ให้ครอบคลุมทั้ง bio-psycho-social 
ใช้เวลา 15-30 นาที ในภาวะที่เฉลี่ยเวลาในการตรวจผู้ป่วยต่อคน 5 นาที ?
.
2. การเก็บข้อมูลให้ต่อเนื่องระยะยาว : เทคโนโลยีที่ง่ายและไม่ตกยุค
หลังจากที่ FISH ทดลองใช้ไปสักพัก  Microsoft Access 2010 ก็ถูกนำมาติดตั้ง
ผลคือ ทั้งสองเวอร์ชั่นมีปัญหาไม่เข้ากัน  
มีผู้แนะนำเกี่ยวกับการใช้ web based - MySQL
แต่ข้าพเจ้ามีข้อจำกัดด้านเทคนิคเกินกว่าจะแก้ปัญหานี้ได้
ความพยายามขั้นต่อไป คือการหาพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะมาร่วมงานกัน
.
###
เป็นความคิดฝันที่ยังฟุ้งซ่าน วนเวียน
จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อมีผู้ใดช่วยชี้นำ
ทำให้เกิด "ฝันที่เป็นจริง" คะ
###

Update: ตามคำแนะนำของ อาจารย์จันทวรรณ ตอนนี้ได้สร้าง Cops สำหรับ
การดูแลโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยระยะสุดท้ายไว้รอท่าแล้วคะ
พร้อมกับสมัครสมาชิก Cops AI และ R2R เรียบร้อย :-)
หมายเลขบันทึก: 469392เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 05:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ผมคงไม่มีอะไรแนะนำ...เพราะสิ่งที่ทำอาจารย์หมอมีความพยายามมากมายครับ

ผมมาให้กำลังใจนะครับ

GotoKnow กำลังพัฒนาระบบ Wiki สำหรับ CoPs ค่ะ น่าจะพอช่วยฝันให้คุณหมอเป็นจริงได้บ้างค่ะ โดยเสริมแรงกับพลังสมาชิกของ GotoKnow ค่ะ

Cheers.

เห็นด้วยกับคุณหมอครับและขอบคุณ ดร.จันทวรรณ ที่กำลังจะสานฝันเรื่อง Wiki ออกมา

ผมเองก็เคยมีโอกาสได้เติมข้อมูล Wiki Occupational Therapy ในวันกิจกรรมบำบัดโลก ซึ่งเปิดโอกาสให้ปรับปรุงข้อมูลได้ในน่าสนใจพร้อมกันทั่วโลก

แต่ผมก็ลองหันมามอง Wiki กิจกรรมบำบัดของไทย ไม่มีใครเติมเต็มข้อมูลต่อจากผมอีกเลย

การเรียนรู้ของนักกิจกรรมบำบัดแต่ละคนเป็นตัวอย่างของ "วิถีการเรียนรู้ที่ยังต้องพัฒนาให้ลึกซึ้งกว่านี้" ผมจึงคิดจะเปิดงานกิจกรรมบำบัดศึกษาต่อไป

เป็นตัวอย่างงานที่อาจเชื่อมโยงในการดูแลโรคเรื้อรังในคนไทยอีกทางหนึ่งครับ

ดูเหมือนจะมี "นิมิตรใหม่" เกิดขึ้นนะครับ ;)...

นวัตกรรมการศึกษาของผ้ม ;)...

 สวัสดีค่ะ  

Ico64

แวมาให้กำลังใจในการทำงานค่ะ...เคยทำงานและจะพยายามทำงานเป็นทีม อย่างมีระบบ...ในการทำงานโดยทั่วไปที่เข้าใจได้ง่าย ...จะมีทรัพยากรการบริหาร (Management resources) คือ 4 M’s ประกอบด้วย คน (Man), เงิน (Money), วัตถุดิบ หรือวัสดุ -อุปกรณ์  (Material), และวิธีการ / จัดการ (Method / Management)...เมื่อมีทรัพยากรการบริหารครบ ...ก็มาดูคน...จัดคนให้มีความเหมาะสมกับงาน มีความรู้ ความสามารถ และความรับผิดชอบ...ถึงตรงนี้จึงจำเป็นต้องรู้ลึกซึ้งในเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้มองเห็นภาพรวมการทำงานได้กว้างขึ้น... การพยายามเก็บข้อมูลได้อย่างครอบจักรวาลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้น่าจะดี และสะดวกต่อการเรียกข้อมูลมาใช้ในแต่ละเรื่อง และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในกลุ่มที่ทำงานร่วมกันได้...คนที่จัดเก็บข้อมูลลง Microsoft จึงไม่จำเป็นต้องเป็นแพทย์ผู้จดบันทึกข้อมูลนะคะ...

สวัสดีค่ะ

แวะมาให้กำลังใจ

ในการทำงานค่ะ

ทุกอย่างในการทำงานต้องมีฐานข้อมูลค่ะ

แต่ของคุณหมอคงยุ่งมากกว่าคนอื่นมากหน่อย

เพราะเป็นภาษาของหมอที่คนอื่นไม่รู้ค่ะ

ส่วนกศน.ก็มีอีกแบบที่ไม่ยุ่งยากมากนัก

มีความสุขกับการทำงานนะค่ะ

ขอบคุณที่ให้กำลังใจคะ

วันนี้ดีใจ ได้อ่านบันทึกเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านหลายเรื่อง:-)

wiki ใน Cops นับเป็นข่าวดีจริงๆ 
 จะคอยติดตามความคืบหน้า ขอบคุณมากคะ

  • น่าสนใจมากเลยครับ
  • บางครั้งเห็น wikiทำค้างไว้อยากทำต่อเหมือนกัน
  • ขอให้กำลังใจว่าคุณหมอทำได้เย้ๆๆ

กับความฝัน"นิมิต"แม้ยามนอนหลับยังสามารถเกิดขึ้นเป็นจริงกับข้าพเจ้ามาแล้วหลายๆเรื่องตั้งแต่อายุ13ปีจนถึงบัดนี้

แต่ความ"ฝัน"ของคุณหมอในยามตื่น ตาสว่าง-ใจกระจ่างแจ้ง ที่มุ่งมั่นเพื่อทำสิ่งดีๆต่อการฟื้นฟูชีวิตคนไข้(พร้อมกับบำบัดใจญาติ)และความตั้งใจพัฒนาองค์รวมขององกรณ์วิชาชีพ"โรงพยาบาล"

กับการผสมผสานความหลากหลายของความดีหลายๆดีหลายด้านสาขาวิชาชีพ(คล้ายๆกับปลูกต้นไม้รูปแบบวนเกษตร-ความหลากหลายที่เกื้อกูลกันไม่มีต้นไหนดีหรือเด่นกว่ากันแต่สำคัญเท่าเทียมกันทั้งป่า)โดยเน้นที่การรวมพลังใจร่วมใจของคนทำงานเป็นหลักยึด

ข้าพเจ้าเชื่อตราบใดที่ยังกล้าฝันตราบใดที่ยังมุ่งมั่น-ทำ สิ่งที่คุณหมอตั้งใจไว้คงไม่นานรูปร่างนั้นคงเด่นชัดขึ้นด้วยความจริงไม่ใช่แค่ฝัน เพื่อประโยชน์ดีๆสู่สังคมไทย

ข้าพเจ้าขอร่วมเป็นอีกหนึ่งกำลังใจมอบให้คุณหมอนะคะสำหรับคนทำ-ทุ่มเท และขอเป็นกำลังใจให้ทุกๆองค์กรที่มุ่งมั่นทำสิ่งดีๆเพื่อพัฒนาแผ่นดินไทยของพวกเราทุกๆคน(สามัคคีธรรม-ทำ) ขอบคุณค่ะ....!

ขอบคุณคะอาจารย์ ดร.ป๊อป

การเขียนความรู้ใน wikipedia เป็นการแสดงจิตอาสา ด้วยการให้วิทยาทาน และตอบแทนสังคมอย่างหนึ่ง
..

ทำให้เห็นสิ่งท้าทายคือ การทำให้ผู้มีข้อมูล "นำมาเขียน" 
ประโยชน์ ที่เกิดกับผู้ร่วมเขียน น่าจะ ให้ลงชื่อ อีเมล์ติดต่อไว้ได้ เพื่อการสร้างเครือข่าย ปรึกษาหารือ
อีกเรื่องคือ ใช้ง่าย วันนี้ได้แวะไปดู Cops ของ gotoknow น่าสนใจคะ 

 

หวังว่าจะเป็นนิมิตรใหม่ร่วมกันนะคะ :-)

อย่างที่คุณน้อยว่าคะ สหวิชาชีพมาช่วยกันตอบแทนสังคม

 

ขอบคุณคะอาจารย์...
การทำงานกับ "คน" มีความท้าทาย เพราะเป็นเรื่องละเอียดซับซ้อน ต้องอาศัย ความลึกซึ้งการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ..การทำให้ไอเดีย เกิดเป็นจริง คงต้องระบุชัดเจนได้ว่า "ใคร -Who" ที่เราควรติดต่อ และ "ทำสิ่งใด ณ ตอนไหน - What& when" 
...
ดังที่อาจารย์ตั้งข้อสังเกตคะ ว่า เราต้องการ
ความชัดเจนของ job discription -- ใครทำหน้าที่ใด เพราะอะไร จำเป็นไหม 

 ขอบคุณคะ

ข้อมูลสำหรับ Clinical work อย่างการวินิจฉัยโรค การรักษา ก็ยังจำเป็นที่แพทย์ หรือ พยาบาลเป็นผู้บันทึก เพราะผู้ใช้ข้อมูลย่อมรู้ดีว่าจะต้องบันทึกสิ่งใดลึกซื้ง บันทึกแบบใดเข้าใจง่าย..
แต่ละคนมี "ภูมิความรู้ในตัว" อยู่แล้ว เพียงแต่ "โชว์" ออกมาว่า ให้เห็นว่า เขาแปรข้อมูลอย่างไร 

ระบบบรรณาธิการ ตรวจสอบข้อมูลของ wiki
เป็นสิ่งน่าสนใจด้วยคะ
สิ่งนี้ช่วยให้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ (พอควร)
มิฉะนั้น wiki ก็จะไม่ต่างอะไรจาเวบบอร์ดทั่วไป
...
ชุมชน gotoknow ก็มีเสน่ห์เฉพาะตัว 
ทั้งข้อมูลที่ทำให้ "เห็น" และ "รู้สึก"
เฝ้ารอ wiki ใน Cops ที่อาจารย์จันทวรรณและคณะ
กำลังสร้างสรรค์ อย่างใจจดใจจ่อคะ :-)

...กับการผสมผสานความหลากหลายของความดีหลายๆดีหลายด้านสาขาวิชาชีพ(คล้ายๆกับปลูกต้นไม้รูปแบบวนเกษตร-ความหลากหลายที่เกื้อกูลกันไม่มีต้นไหนดีหรือเด่นกว่ากันแต่สำคัญเท่าเทียมกันทั้งป่า)โดยเน้นที่การรวมพลังใจร่วมใจของคนทำงานเป็นหลัก..

ชอบประโยคนี้มากคะ ขอนำไปใช้ต่อได้ไหมคะ :-)

ธรรมชาติของคนเรา ลึกๆ ต่างอยากส่องประกายความดีงามของตนเอง ดังในบันทึกท่านอาจารย์วิจารณ์  ว่า KM ส่งเสริมให้ทุกคนเป็น "ดาวฤกษ์" ที่มารวมกลุ่มยิ่งส่องสว่าง..
แล้วธรรมชาติคนเรา ลึกๆ อีกนั่นเอง ทำให้มีความรู้สึก "อยากดีกว่า" คนอื่น อย่างน้อยก็บางแง่..ดาวฤกษ์ อยู่ใกล้กับดาวเคราะห์แทนที่จะอยู่กับดาวฤกษ์ด้วยกัน
การนำสองธรรมชาตินี้มารวมกัน คงอาศัย การเปิดพื้นที่ให้ผลัดกันส่องประกาย ผลัดเป็นผู้นำ ในสิ่งที่ตนถนัดคะ

 

ขอให้กำลังใจค่ะ..ข้อมูลที่ดี..ถูกต้อง..เป็นปัจจุบัน..คือรากฐานสำคัญของการวิเคราะห์..สู่การพิจารณา..เพื่อการวินิจฉัยและพัฒนาที่ตรงจุด..ไม่ลำเอียงและ misjudgement..

ขอบคุณคะ ยิ่งข้อมูลภายนอกมีมากเท่าไหร่ ข้อมูลที่ได้รับการรวบรวมให้เป็นหมวดหมู่ ตรวจสอบความถูกต้องยิ่งเป็นของมีค่า

สวัสดีครับคุณหมอปัทมา

น่าสนใจครับ คุณหมอกำลังพูดถึง "คุณค่า" ของข้อมูลครับ ว่ามันน่าจะมีอยู่ในระบบ

ผมทำอะไรคล้ายๆแบบนี้อยู่ครับ..เช่น

ล่าสุดคุณหมอท่านหนึ่ง จากการที่เราถามว่า คุณหมอเคยเจอคนไข้ที่ไม่เหมือนคนอื่นไหม..คนไข้ประเภทที่ว่าดูแลตัวเองดีๆ มากๆ เป็นผู้รุ้เรื่องการดูแลตนเอง..(Maven)

"เจอคนหนึ่ง เป็นโรคเก๊าต์ครับ..มาหาหมอตรงเวลา..แต่ไม่ต้องรับยา..พอถาม เขาก็บอกว่า..ทานอาหารแบบที่หมอสั่ง"

ได้ประโยชน์ตรงไหนครับ..เรามองว่า ข้อมูลแบบนี้มี "คุณค่า" มากๆ...

เลยมีการคิดว่าจะขอให้คนไข้นี้ เป็นเหมือน "คนไข้ตัวอย่าง" เป็นฑูต (Ambassador)

เรากำหนดคุณสมบัติ เพื่อกรองข้อมูลดีๆ ออกมา เอาไปใช้ประโยชน์ดีๆครับ..

ให้คนไข้คนอื่นได้เห็นได้ทำตามเป็นแบบอย่างครับ...

คุณหมอเป็นคนช่างคิดครับ ต้องขอชมมากๆ..

เข้ามาให้กำลังใจ ในฐานะคนป่วยโรคเรื้อรัง คนหนึ่งครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ภิญโญ

อาจารย์ใช้คำและเรื่องให้เห็นภาพ
"ทูต" ในการเรียนรู้ค้นหามูลเหตุ
จาก outlier ที่ประสบความสำเร็จ ท่ามกลางปัญหา..
ทำให้นึกถึง ปัญหาที่ รพช.ทางภาคเหนือ พูดถึงเสมอ
คือ คนไข้ถุงลมโป่งพอง เหนื่อยกำเริบ เข้าๆ ออกๆ รพ.
เรามักเพ่งเล็งไปหามูลเหตุ จากเคสที่มีปัญหา
น่าจะค้นหา คนที่ตัวโรคหนักแต่ไม่ค่อยกำเริบ

 

ขอบคุณค่ะ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังถือเป็นอาจารย์
สอนทั้งแง่ ศาสตร์ และศิลป์ ในการดำรงชีวิต
เป็นกำลังใจให้คุณพิชัยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท