ฐาน “The star”ค้นฟ้าคว้าดาวหกฐาน


ฐาน  “The star”ค้นฟ้าคว้าดาวหกฐาน

 

จากงานประกวดร้องเพลงที่กำลัง hot hit เราจึง ที่ทำให้ทีมปรับเปลี่ยนปิ๊ง และหาวิธีมาจัดทำฐานที่ทำให้ กลุ่มเสี่ยงของเราจะได้รู้และเข้าใจความหมายของคำว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

เพราะกลุ่มเสี่ยง..เป็นกลุ่มที่ยาก(มาก)  ในการทำงาน..

ประชุมสร้างความเข้าใจและจัดพี้เลี้ยงลงฐาน..

หนึ่งในฐานกิจกรรมที่ทีมออกแบบไว้ก็คือ..ฐาน”the star” ค้นฟ้าคว้าดาวหกฐาน ที่เราใช้เวลาฐานย่อยฐานละ ๕ นาที ใช้เวลาน้อยเพราะนานกว่านี้ก็ไม่สนใจ  

เด่นของกิจกรรมมีดังนี้

เพราะฉะนั้น ๕ นาที กำลังดี คือ ไว เร้าใจ  จำง่าย

ข้อจำกัดคือ ต้องใช้วิทยากรมาก คือประมาณ ๑๐-๒๐ คน

 

พีลี้ยงประจำฐานที่เราคัดมาอย่างดี

แต่เราใช้พี้เลี้ยง pcu ที่ตามติดมากับกลุ่มเสี่ยงเป็น พี้เลี้ยงประจำฐาน ทั้งหมด ๖ ฐาน

โดย ๖ ฐานมาจากความเสี่ยง ๖ ข้อของ อ.นพ.วิชัย เอกพลากร ดังนี้

The star ๑ = อายุ

พี้เลี้ยงประจำ "the star อายุ" ให้ความรู้แบบเน้นๆ และให้สมาชิกติดดาว

The star ๒ = เพศ

The star ๓ = กรรมพันธุ์ (ประวัติเบาหวานในครอบครัว)

The star ๔ = (ประวัติ)ความดันโลหิตสูง

 

The star ๕ = BMI

The star ๖ = เส้นรอบเอว

การให้ดาวความเสี่ยง ตามคะแนนในแต่ละข้อ  ดังนี้

รายละเอียดกิจกรรม ใช้เวลาทั้งหมด ๖๐ นาที คือเข้าฐาน ๖ ฐาน = ๓๐ นาที /สรุปคะแนนความเสี่ยง = ๑๕ นาที /สุ่มถามสิ่งที่ได้จากกลุ่ม ๑๐ คนๆละ ๑-๒ นาที

  • กิจกรรมให้ผู้เข้าอบรมแบ่งกลุ่มคละพื้นที่แบ่งเป็น ๖ กลุ่ม  
  • อธิบายข้อปฏิบัติโดยให้จับกลุ่มเดินเข้าฐานย่อยๆละ ๕ นาที
  • กิจกรรมในฐานพี้เลี้ยงอธิบายความสำคัญของความเสี่ยงในข้อนั้นๆ ๓ นาที และบอกคะแนนให้สมาชิกกลุ่มหยิบดาวตามความเสี่ยงของตนเองมาแปะที่ป้ายชื่อ..พี้เลี้ยงตรวจสอบความถูกต้องของการให้ดาวของสมาชิกกลุ่ม ครบ ๕ นาทีให้สัญญาณเป่านกหวีดเปลี่ยนฐาน จนครบ ๖ ฐานความเสี่ยง
  • ฐานสุดท้าย คือฐานที่ ๖ ให้สมาชิกนับดาวของตนเองว่าได้เท่าไหร่ = คะแนนความเสี่ยง
  • วิทยากรหลัก ให้สมาชิกแยกกลุ่มตามคะแนนความเสี่ยง และให้ความรู้ว่าความเสี่ยงน้อย-เสี่ยงสูงมาก แปลว่าอะไร

 

สิ่งที่ได้จากการทำฐาน

๑.      ผู้เข้าอบรมสนุกสนานและเข้าใจว่าความเสี่ยงของตนเองคืออะไร แปลว่าอะไร และบางคนที่ตอนแรกที่มาประชุมบอกว่า เป็นอสม. มีความเสี่ยงนิดเดียวคือเอวเกิน ที่มาเพราะจะกลับไปเป็นแกนนำอย่างเดียว พอเข้าฐานเสร็จ ถึงกับเฮ เพราะได้ดาว ๑๓ ดาว สนุกสนานกันไป

ยอมจำนนด้วยหลักฐาน ว่าได้ไปเป็น 10 ดาว

เริ่มรู้ว่าตัวเองเสี่ยงเรื่องอะไร

 

๒.      พี้เลี้ยงฐานประเมินผลว่า  จัดแบบนี้ทำให้เข้าใจง่าย  กลุ่มมีส่วนร่วมเยอะ คือได้ค่อยๆคิดตาม ว่าตัวเองจะได้กี่ดาวในแต่ละข้อ /ได้ติดดาว(คะแนน)เองที่ป้ายชื่อ และสุดท้ายได้รวมคะแนนเอง จึงเป็นกิจกรรมที่ทำด้วยตัวเอง แปลผลเอง ไม่ต้องมานั่งคิดฉงนว่า เออ..แล้วทำไมหมอบอกว่าตัวเองเสี่ยงเยอะ เสี่ยงน้อย อะไร ทำไม ..เพราะทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองในทุกฐานความเสี่ยง จึงส่งผลให้กลุ่มมีความสนใจในห้วข้อต่อไป ทุกหัวข้อ เช่น อาหาร ออกกำลังกาย ความเครียด และการตั้งเป้าหมายของตนเอง เป็นต้น

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

ความรู้เพิ่มเติม

แบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน Diabetes Risk Score โดย รศ.นพ. วิชัย เอกพลากร ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ความเป็นมา

            แบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน พัฒนาขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยระยะยาวของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (EGAT)ในการประมาณโอกาสเกิดโรคเบาหวานในช่วง ๑๒ ปี (ระหว่างปีพ.ศ. ๒๕๒๘ ถึงพ.ศ. ๒๕๔๐) การศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าว ดำเนินการโดย นพ.วิชัย เอกพลากร (โรงพยาบาลรามาธิบดี) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ 

            แบบประเมินความเสี่ยงต่อเบาหวาน เป็นเครื่องมือที่ใช้พยากรณ์โอกาสในการป่วยด้วยโรคเบาหวานในอนาคต โดยใช้ข้อมูลอายุ เพศ ประวัติเบาหวานในครอบครัว ประวัติความดันโลหิตสูง น้ำหนักส่วนสูง และเส้นรอบเอว ในการคำนวณ

คะแนนความเสี่ยง(Diabetes risk score)

            เป็นคะแนนที่ได้จากการรวมปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน ๖ ปัจจัยได้แก่ อายุ,เพศ,ดัชนีมวลกาย(BMI),เส้นรอบเอว,ความดันเลือดสูงและประวัติ,เบาหวานใน พ่อ แม่ พี่น้อง โดยแต่ละปัจจัยมีคะแนนเสี่ยงดังนี้

 ปัจจัย คะแนน

  1. อายุ(ปี)  

๓๕-๓๙  ปี = ๐  

๔๐-๔๔ = ๐

๔๕-๔๙ = ๑

>= ๕๐= ๒

๒.      เพศ   ผู้หญิง = ๐ /ผู้ชาย = ๒

๓.      BMI(kg/m๒)    < ๒๓ =  ๐ /๒๓ -< ๒๗.๕ ๓ />= ๒๗.๕ ๕

๔.      เส้นรอบวงเอว(ซม.)  

< ๙๐ ในผู้ชาย ,< ๘๐ ในผู้หญิง  = ๐

>= ๙๐ ในผู้ชาย ,>= ๘๐ ในผู้หญิง = ๒

๕. ความดันเลือดสูง   ไม่มี = ๐  /มี = ๒

๖. มีประวัติเบาหวานในพ่อแม่ พี่น้อง   ไม่มี = ๐  มี  = ๔

หมายเลขบันทึก: 469233เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยอดเยี่ยมมากอ้อเล็ก อ้อใหญ่ ช่างคิดกิจกรรม เก่งจริงๆ ขยันเอามาเล่าบ่อยๆ นะ

มาเยี่ยมกิจกรรมดีที่สร้างสรรค์ครับ

  • รักษาตนเพื่อตนเป็นคนหนึ่ง
  • คนที่ซึ่งมุ่งมั่นมิหวั่นไหว
  • คนที่เอาตัวรอดอย่างปลอดภัย
  • คนที่ไม่เคยท้อต่อชะตา


เป็นกิจกรรมที่ดี มากๆ ช๊อบชอบ ยังแอบนำมาใช้ที่บ้านกร่างด้วยแหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท