การนำสิ่งที่ได้มาปรับใช้.."เดินเร็ว"ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


กิจกรรมสร้างการเรียนรู้..ในค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม..โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก  

การทำงานในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหลายปีที่ผ่านมา ทีมของเราพยายามหารูปแบบการที่ใหม่และง่ายต่อการที่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการอบรมจะได้นำไปใช้ดูแลตนเองและสามารถสื่อสารให้คนอื่นในชุมชนได้นำไปใช้ประโยชน์ได้   จากการเข้าร่วมกิจกรรมKMDMHT ครั้งที่ 4 ที่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อปลายปี 2553 ทำให้เราได้เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อยที่น่าจะนำมาปรับใช้ในงานเบาหวานที่ร.พ พุทธชินราช ทำอยู่ในหลายๆเรื่องๆ  การไปร่วมประชุมจึงเป็นการทำให้เราได้เข้าไปพบเทคนิคใหม่ๆ มากมาย และหนึ่งในนั้น อาจารย์นิพัธ ได้มีโอกาศเรียนเชิญอ.นพสมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ มาเป็นวิทยากรอบรมหลักสูตรครู ก ที่พิษณุโลก ให้เจ้าที่ทั้งเขต 2 เข้ารับการอบรม และนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมลดเสี่ยงในพื้นที่ของตนเอง โดยอ.เมืองพิษณุโลกจัดค่าย 2 แบบคือ

  • แบบค้างคืนให้กลุ่มเสี่ยงและจัดให้เป็นแกนนำกลุ่มในชุมชนด้วย
  • ส่วนค่ายแบบไม่ค่างคืนจัดทุกพื้นที่

การทำงานมาหลายปีจะพบคำถามคาใจที่หลายคนจะพูดเหมือนๆกัน

  • “ทำงานอยู่ทุกวัน ก็ออกกำลังกายนั่นแหละ”
  • “กวาดใบไม้ทุกวัน ใช่ออกกำลังกายหรือเปล่า”
  • “ทำนาเหนื่อยแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าออกกำลังกายละหมอ”
  • “ออกกำลังกายของหมอหมายถึงอะไร”

และ ฯลฯ

ฐาน เดินเร็ว เป็นฐานกิจกรรมที่ ปิ๊ง มาจากที่เชิญทีมรักษ์หทัย ของ อ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ และเราได้ปรับรูปแบบกิจกรรมให้เข้ากับกลุ่มที่เข้าร่วม ดังนี้คือ

รูปแบบกิจกรรม

๑.      แบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็น ๒ กลุ่ม  คือกลุ่มเชียร์ และกลุ่มเดิน

  • กลุ่มเชียร์จะใช้อุปกรณ์เครื่องเคาะเขย่าต่างๆ กระตุ้นให้กลุ่มเดินๆเร็วด้วยความสนุกสนาน
  • กลุ่มเดิน จะเดินให้ไวที่สุดในลู่เดินที่กำหนด (โดยติดเครื่องนับก้าวpedometer)

๒.      เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดจากวิทยากรให้เริ่มออกพร้อมกัน

๓.      วิทยากรจับเวลาและขานบอก เมื่อเหลือเวลา ๑ นาที

๔.      เมื่อครบ ๖ นาทีจะได้ยินเสียงนกหวีดให้หยุดเดินพร้อมกัน

๕.      ให้วิทยากรจดจำนวนรอบจากอุปกรณ์นับรอบก่อน

๖.      สี่งที่เพิ่มเติม

  • เมื่อเดินเสร็จครบ ๖ นาที ให้สุ่มคนที่ท่าทางเหนื่อยมากออกมาร้องเพลงอะไรก็ได้

ก็จะได้บรรยากาศการร้องเพลงที่ ฮามากๆ เพราะจะร้องเพลงไม่เพราะ

  • เมื่อนำจำนวนก้าวมาคำนวณก็จะได้ข้อมูล เป็นแข็งแรง หรือไม่แข็งแรง ให้สัญญลักษณ์แทนด้วยกล้วยไม่แข็งและกล้วยแข็ง นำไปคล้องคอ

 

๗.      สุ่มให้สมาชิกอกมาบอกว่ากิจกรรมที่บ้านมีอะไรคือการออกกำลังกายบ้าง

ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

ความรู้เพิ่มเติม 

ข้อมูลเพิ่มเติม

ที่มา : สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์. โรคร้ายแห่งการพอกพูนสะสม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน ๒๕๕๐. หน้า ๑๐

ปรับพฤติกรรมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น ให้เกิดความกระฉับกระเฉง

เป้าหมาย

- เดินเร็ว > ๓๐ นาที / วัน

- เดิน > ๙,๙๙๙ ก้าว / วัน

- เดิน ๔๐๐ –๗๐๐ เมตร / ๖ นาที

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เข้าอบรม เดินบนทางพื้นราบให้ได้ระยะทางมากที่สุดเท่าที่สามารถเดินได้ภายในระยะเวลา ๖ นาทีโดยมีภาวะเหนื่อยในระดับปานกลางถึงมากทนได้

เกณฑ์ที่ผู้เข้าอบรมไม่สามารถทากิจกรรมได้

๑. มีภาวะของข้อต่อกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถเดินได้

๒. มีภาวะหน้ามืด วิงเวียนง่ายเมื่อเปลี่ยนท่าทาง

๓. มีภาวะ ปวดแน่นหน้าอกจากภาวะโรคหัวใจภายในเวลา ๑เดือนที่ผ่านมา

๔. มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และได้ทาการขยายหลอดเลือดในระยะเวลาไม่เกิน ๓ เดือน

๕. ชีพจรต่ำกว่า ๕๐ ครั้งต่อนาที หรือสูงกว่า ๑๒๐ครั้ง/นาที

๖. ความดันโลหิตต่ำกว่า ๘๐/๔๐ มม.ปรอท หรือสูงกว่า ๑๘๐/๑๐๐ มม.ปรอท

การเดินจึงเป็นอีกทางเลือก แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือเดินช้า เดินเร็ว และเดินแข่ง

เดินช้า คือการเดินที่ยังร้องเพลงได้เพราะ ผิวปาก ฮัมเพลง ได้เพราะ หรือลากเสียงยาวๆ ได้ เช่น การเดินจงกลม เดินซื้อของ เดินเล่น

เดินเร็ว หมายถึง การเดินเร็วติดต่อกันนานกว่า ๑๐ นาทีต่อครั้ง เกินครึ่งชั่วโมงต่อวัน อย่างน้อย ๕ วันต่อสัปดาห์ คนปกติร่างกายแข็งแรงดี ควรเดินด้วยความเร็วได้ประมาณ ๔๐๐-๗๐๐ เมตร ในเวลา ๖ นาที หรือเดินเร็วจนร้องเพลงไม่เพราะ ผิวปาก ฮัมเพลง ลากสียงยาวๆ ไม่ได้ ถ้าเดินแล้วยังร้องเพลงเพราะ ลากเสียงยาวๆ ได้ แสดงว่ายังเดินช้าอยู่ ถ้าเดินเร็วจนพูดไม่เป็นคำ ไม่รู้เรื่องแล้ว ก็เป็นการเดินแข่ง (เดินเร็วไป)

เดินแข่ง เป็นกิจกรรมทางกายอย่างหนัก คือเดินเร็วจนกระทั่งพูดไม่เป็นคำ คุยกันไม่รู้เรื่อง เพราะหายใจหอบเหนื่อยมาก หายใจไม่ทัน สำหรับเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ทนทาน ยืดหยุ่น ให้ร่างกาย ผู้ที่ต้องการเดินเพื่อป้องกันหรือรักษาโรคแห่งการพอกพูนสะสม การเดินเร็วก็เพียงพอไม่จำเป็นต้องเดินแข่ง วิ่ง เต้นแอโรบิค ก็ได้

ประโยชน์ของการเดิน ทำให้ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดหรือควบคุมน้ำหนัก ควบคุมระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด และเพิ่มไขมันดี (เอชดีแอล) ในเลือดช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันเลือดสูง ช่วยป้องกันโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน เพิ่มความแข็งแกร่งหรือทนทานของกล้ามเนื้อ

นอกจากนี้ การเดินช่วยลดโอกาสเกิดโรคและช่วยรักษาโรคเบาหวาน แถมการเดินยังช่วยคลายเครียด ทำให้หลับสนิท ลดอาการซึมเศร้า ยิ่งถ้าเดินปรับทุกข์ เดินคุยกับเพื่อนที่รู้ใจ ช่วยให้คลายทุกข์ไปได้มาก ไม่ต้องพึ่งพาบุหรี่ สุรา บริโภควัตถุที่เป็นโทษหรือยาเสพติด เป็นต้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 469202เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2011 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บรรยากาศดีมากนะอ้อ ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ พี่ๆที่บ้านกร่าง ประทับใจและจดจำ สิ่งที่ทีมงานมอบให้จนถึงทุกวันนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท