ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน


บางตอนของ หนังสือคู่มือมนษย์
เรื่อง ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน
โดยพุทธทาสภิกขุ

       ถ้าเราเปิดหนังสือทุกเล่มที่เขียนกันในสมัยปัจจุบันอันว่าด้วย ต้นเหตุของการเกิดศาสนาแล้ว จะเห็นว่าเขาเขียนไว้เหมือน ๆ กันตรงกันที่ว่า คนป่าดั้งเดิมกลัวฟ้าผ่า ฟ้าร้อง กลัวความมืด กลัวพายุ กลัวสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่เหนือความเข้าใจหรือความต้านทานของคนป่าเหล่านั้นและวิธีที่จะหลบ หลีกอันตรายก็คือต้องแสดงอาการยอมแพ้หมอบกราบอ้อนวอนบูชาแล้วแต่คนฉลาดที่ สุดในสมัยนั้นเห็นว่าจะต้องทำตามที่ตนนึกว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือผีเหล่า นั้นจะชอบใจ นี่นับว่า ศาสนาเกิดมาในโลกด้วยอำนาจของความกลัวและมีการปฏิบัติไปตามความกลัว.
     ความกลัวของคนชั้นหลัง ๆ เลื่อนสูงขึ้นมาถึงกลัวความทุกข์ชนิดที่อำนาจทางวัตถุช่วยไม่ได้ เช่น ความเกิด แก่ เจ็บ ตายความหม่นหมองมืดมัว เพราะอำนาจของความอยาก ความโกรธความหลงผิด ถึงแม้คนเราจะมีอำนาจหรือเงินทองสักเท่าไร ก็ไม่สามารถระงับอาการอันโหดร้ายของความทุกข์เหล่านั้นได้ ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่เจริญด้วยนักคิด นักค้นคว้า ผู้มีสติปัญญาทั้งหลาย จึงได้ละทิ้งการไหว้บรรดาสิ่งศักดิ์สทธิ์มาทำการค้นหาวิธีเอาชนะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเอาชนะความอยาก ความโกรธ ความหลงผิดให้ได้ นี่นับว่าเป็นบ่อเกิดของศาสนาที่สูงขึ้นไปในทางปัญญา ในที่สุดได้พบวิธีที่จะเอาชนะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเอาชนะกิเลสต่าง ๆ ได้.
     สำหรับพระพุทธศาสนา ก็มีมูลมาจากความกลัวแบบหลังนี้เหมือนกัน :พระพุทธเจ้า เป็นผู้พบวิธีที่จะเอาชนะสิ่งที่คนกลัวได้เต็มตามความประสงค์และเกิดวิธีปฏิบัติเพื่อดับความทุกข์ชนิดที่เรียกว่า พระศาสนา พุทธศาสนาแปลว่า ศาสนาของผู้รู้ เพราะพุทธะ แปลว่าผู้รู้ คือรู้ความจริงของสิ่งทั้งปวงได้ถูกต้อง เพราะฉะนั้น พุทธศาสนาจึงเป็นศาสนาที่อาศัยสติปัญญา; หรืออาอาศัยวิชาความรู้ที่ถูกต้องเพื่อทำลายความทุกข์และต้นเหตุของความทุกข์เหล่านั้น.
     การทำพิธีรีตอง เพื่อบูชาบวงสรวง อ้อนวอนบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่ใช่พุทธศาสนาพระพุทธเจ้าไม่รับเข้ามาไว้ในศาสนาของพระองค์เลย เพราะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน น่าหัวเราะ และถือเอาเป็นที่พึ่งอันแท้จริงไม่ได้; พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธการกระทำเช่นนั้นโดยสิ้นเชิง.
     มีคำกล่าวใพระพุทธศาสนา "ความรู้ ความฉลาด และความสามารถ ที่จะทำให้สำเร็จประโยชน์นั่นแหละ เป็นตัวฤกษ์ที่ดี อยู่ในตัวมันเองแล้ว ดวงดาวในท้องฟ้าจะทำอะไรได้ ประโยชน์ที่ควรจะได้ก็ผ่านพ้นคนโง่ ๆ ที่มัวแต่นั่งคำนวณดวงดาวในท้องฟ้าไปเสียสิ้น" ดังนี้ ; และว่า "ถ้าน้ำศักดิ์สิทธิ์ในแม่น้ำคงคา ฯลฯ จะทำให้คนหมดบาป หมดทุกข์ได้แล้ว พวกเต่า ปู ปลา หรือหอยที่อาสัยอยู่ในแม่น้ำหรือสระศักดิ์สิทธิ์นั้น ก็จะหมดปาปหมดทุกข์ไปด้วยน้ำนั้นเหมือนกัน" หรือ "ถ้าหากว่าคนจะพ้นทุกข์ได้ด้วยการบวงสรวงบูชาอ้อนวอนเอา ๆ แล้ว ในโลกนั้ก็จะไม่มีใครมีความทุกข์เลยเพราะว่า ใคร ๆ ต่างก็บูชาอ้อนวอนเป็น"
     โดยเหตุที่ ยังมีคนที่มีความทุกข์ทั้งที่ได้กราบไหว้บูชาหรือทำพิธีรีตองต่าง ๆ อยู่ จึงถือว่าไม่เป็นหนทางที่จะเอาตัวรอดได้ ฉะนั้นเราจะต้องพิจารณาโดยละเอียดละออให้รู้ ให้เข้าใจว่าอะไรเป็นอะไรแล้วปฏิบัติต่อสิ่งนั้น ๆ ให้ถูกต้อง
     พุทธศาสนาไม่ประสงค์การคาดคะเน หรือทำอย่างที่เรียกว่าเผื่อจะเป็นอย่างนั้นเผื่อจะเป็นอย่างนี้ เราจะทำไปตรง ๆ ตามที่มองเห็นด้วยปัญญาของตัวเอง โดยไม่ต้องเชื่อคนอื่น แม้จะมีคนอื่นมาบอกให้ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเชื่อเขาทันที เราจะต้องฟังและพิจารณาจนเห็นจริงว่าเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ แล้วจึงจะเชื่อ และพยายามทำให้ปรากฏผลด้วยตนเอง
     ศาสนาเหมือนกับของหลายเหลี่ยม ดูเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอย่าง หนึ่ง ดูอีกเหลี่ยมหนึ่งมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่งแล้วแต่ว่าบุคคลนั้นจะถือหลักการ คิดในแนวไหนก็จะเห็นศาสนาเดียวกันในลักษณะที่ แตกต่างกันได้ : แม้พุทธศาสนาก็ตกอยู่ในลักษณะเช่นนี้
     คนเราย่อมเชื่อความคิดเห็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ความจริงหรือสัจจะสำหรับคนหนึ่ง ๆ นั้น มันอยู่ตรงที่ว่าเขาเข้าใจและมองเห็นเท่าไรเท่านั้นเอง : สิ่งที่เรียกว่า "ความจริง" ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนเราเข้าถึงปัญหาหนึ่ง ๆ ได้ตื้นลึกกว่ากัน หรือด้วยลักษณะที่ต่างกันและด้วสติป้ญญาที่ต่างกัน สิ่งใดที่อยู่เหนือสติปัญญาความรู้ความเข้าใจของตน หรือตนยังไม่เข้าโจ คนนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นความจริงของเขา ถ้าเขาจะพลอยว่าจริงไปตามผู้อื่นเขาก็รู้สึกอยู่แก่ใจว่า ไม่เป็นความแท้ความจริงของเขาเลย
     ความจริงของคนหนึ่ง ๆ นั้น จะเดินคืบหน้าได้เสมอ ตามสติปัญญา ความรู้ความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน จนกว่าจะถึงความจริงขั้นสุดท้าย คนเรามีการศึกษามาต่างกัน และมีหลักพิจารณาสำหรับจะเชื่อต่าง ๆ กัน ฉะนั้น ถ้าจะเอาสติปัญญาที่ต่างกันมาดูพุทธศาสนาก็จะเกิคความคิดเห็นต่างกันไป ทั้งนี้เพราะว่าพุทธศาสนาก็มีอะไร ๆ ครบทุกอย่างที่จะให้คนดู
     ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว พุทธศาสนาคือวิธีปฎิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์. โดย การทำให้รู้ความจริงว่า อะไรเป็นอะไร ตามที่พระพุทธเจ้าทานทรงทำได้ก่อนและได้ทรงสอนไว้ แต่คัมภีร์ทางศาสนานั้นย่อมมีอะไร ๆ เพิ่มขึ้นได้ ทุกโอกาสที่คนชั้นหลังเขาจะเพิ่มเติมลงไป พระไตรปิฎกของเราก็ตกอยู่ในฐานะอย่างเดียวกันคนชั้นหลัง ๆ เพิ่มเติมข้อความเข้าไปตามที่เห็นว่าจาเป็นสำหรับยุคนั้น ๆ เพื่อจะช่วยให้คนมีศรัทธามากขึ้น ๆ หรือกลัวบาปรักบุญมากขึ้น ซึ่งอาจจะมากเกินขอบเขตจนกระทั่งเกิดการเมาบุญกันใหญ่
     แม้แต่พิธีรีตองต่าง ๆ ที่เพิ่งเกิคขึ้นและเกี่ยวเนืองกับพระพุทธศาสนาเพียงเล็ก ๆ น้อยๆ ก็พลอยถูกนับเข้าเป็นพุทธศาสนาไปด้วยอย่างน่าสมเพช เช่น การจัดสำรับคาวหวานผลหมากรากไม้เพื่อเซ่น วิญญาณขอพระพุทธเจ้าอย่างที่เรียกว่าถวายข้าวพระเป็นต้น. มันเป็นสิ่งที่มีไม่ได้ตามหลักของพุทธศาสนา แต่พุทธบริษัทบางพวกเข้าใจว่านี่เป็นพุทธศาสนา และได้สอนกันถือกันอย่างเคร่งครัด.
     พิธีรีตองต่าง ๆ ทำนองนี้ ได้เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นมากมายจนหุ้มห่อของจริง หรือความมุ่งหมายเดิมให้สาปสูญไป. ขอยกตัวอย่างเช่นในเรื่อง การบวชนาค ก็เกิดมีพิธีทำขวัญนาค เชื้อเชิญแขกมาเลี้ยงดูกันอย่างเมามายเอิกเกริก ทำพิธีทั้งที่วัดและที่บ้านบวชไม่กี่วันก็สึกออกมาแล้วกลายเป็นคนเกลียดวัด ยิ่งไปกว่าเดิมก็มี. นี่ขอให้คิดดูเถิดว่า สิ่งไม่เคยมีในครั้งพุทธกาลก็ได้มีขึ้น
     การบวชสมัยพระพุทธเจ้า นั้นหมายความว่าบุคคลใดที่ได้รับอนุญาตจากบิดามารดาแล้ว ก็ปลีกตัวจากบ้านเรือนเป็นคนที่ทางบ้านตัดบัญชีทิ้งได้ ไปอยู่กับพระพทธเจ้าและพระสงฆ์ โอกาสเหมาะสมเมื่อไรท่านก็บวชให้ โดยมิได้พบหน้าบิดามารดาญาติพี่น้องเลย จนตลอดชีวิตก็ยังมี ; แม้บางรายจะมีกลับมาเยี่ยมบิดามารดาบ้างก็ต่อโอกาสหลังซึ่งเหมาะสมแต่ก็มี น้อยเหลือเกินในพุทธศาสนามีระเบียบว่ามาบ้านได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลสมควร และพึงทราบไว้ด้วยว่าพวกที่บวชนั้นไม่ได้เวียนมาบ้าน ไม่ได้บวชในที่ต่อหน้าบิดามารดา ไม่ได้ฉลองกันเป็นการใหญ่แล้วไม่กี่วันสึกสึกแล้วก็ไม่มีอะไรดีขึ้นไปกว่า เดิม อย่างที่เป็นกันอยู่ในเวลานี้.
     เราหลงเรียกการทำขวัญนาคและการทำพิธีต่าง ๆ ตลอดถึงการฉลองอะไร ๆ เหล่านั้น ว่าเป็นพุทธศาสนาแล้วก็นิยมทำกันอย่างยิ่ง จนหมดเปลืองทรัพย์ของตนหรือของคนอื่นเท่าไรก็ไม่ว่า พุทธศาสนาใหม่ ๆ อย่างนี้เกิดมีมากมายแทบจะทั่วไปทุกแห่ง. ธรรมะหรือของจริงที่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น ถูกหุ้มห่อโดยพิธีรีตองจนมิด เกิด มุ่งหมายผิดเป็นอย่างอื่นไป เช่นการบวชก็กลายเป็นเรื่องสาหรับแก้หน้าเด็กหนุ่ม ๆ ที่ถูกหาว่าเป็นคนดิบ หาเมียยากอะไรเหล่านี้เป็นต้น. ในบางถิ่นบางแห่ง ถือเป็นโอกาสสำหรับรวบรวมเงินที่มีผู้นำมาช่วย เป็นการหาทางร่ำรวยเสียคราวหนึ่ง ถึงอย่างนั้นเขาก็เรียกว่าพุทธศาสนา ; ใครไปตำหนิติเตียนเข้าก็จะถูกหาว่าไม่รู้จักพุทธศาสนา หรือทำลายศาสนา. 
*******
กิ่งธรรมจาก http://www.mindcyber.com/
หมายเลขบันทึก: 468925เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2011 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

Ico64

  แวมาอ่าน'ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน'โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ...พุทธศาสนาคือวิธีปฎิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์...เป็นครอบครัวหนึ่งที่แม่จะถวายข้าวพระทุกวันที่ทุกกินการปฎิบัติพิธีรีตองต่าง ๆจึงเป็นการปฎิบัติ เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความศรัทธา การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า ให้เกิดกำลังใจมุ่งมั่นตั้งใจดำเนินชีวิตทำกิจการงานสิ่งใดไปในทางที่ถูกที่ควร ดังนั้นการจัดสำรับคาวหวานผลหมากรากไม้ถวายข้าวพระ จึงไม่ใช่การปฎิบัติเพื่อเซ่น วิญญาณขอพระพุทธเจ้า ...ที่สำคัญ


 

สวัสดีค่ะ

Ico64

แวมาอ่าน'ท่านชอบพุทธศาสนาในเหลี่ยมไหน'โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ...พุทธศาสนาคือวิธีปฎิบัติ เพื่อเอาตัวรอดจากความทุกข์...เป็นครอบครัวหนึ่งที่แม่จะถวายข้าวพระทุกเช้าและทุกวันไม่เคยขาด!...ก่อนที่ทุกคนจะกินอาหารเช้า...การถวายข้าวพระของแม่เป็นการปฎิบัติ เพื่อแสดงออกให้เห็นถึงความศรัทธา การระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า ให้เกิดกำลังใจมุ่งมั่นตั้งใจ มีวิจารณญาณ มีเหตุมีผลในการดำเนินชีวิตทำกิจการงานสิ่งใดไปในทางที่ถูกที่ควร ดังนั้นการจัดสำรับคาวหวานผลหมากรากไม้ถวายข้าวพระ จึงไม่ใช่การปฎิบัติเพื่อเซ่น วิญญาณขอพระพุทธเจ้า ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท