เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเรียนรู้


การสร้างความรู้ของผู้เรียน
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ "การถ่ายทอดความรู้จากครู" มาสู่ "การสร้างความรู้ของผู้เรียน" ดังนั้น การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมหรือสื่อมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ควรมีลักษณะเป็นอย่างไร
แนวคิดเปลี่ยนแปลง จากเดิมครูผู้สอนเป็นผู้ที่วางแผนและถ่ายทอดความรู้ต่างๆไปสู่ผู้เรียนโดยตรง ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาทางด้านสื่อการสอนต่างๆ จึงมีการใช้สื่อการสอนถ่ายทอดเนื้อหา ความรู้ต่างๆไปยังผู้เรียน เช่น แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ สไลด์ วิดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อช่วยเพิ่มความเป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังแก้ปัญหาที่จำนวนผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยตอบสนองด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล
ในกรณีเหล่านี้ ในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการสอน หรือการถ่ายทอดโดยครูผู้สอน หรือสื่อการสอนมาสู่การเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยผ่านการปฏิบัติ ลงมือกระทำด้วยตนเอง การพัฒนาศักยภาพทางการคิด ตลอดจนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียน วางแผน ดำเนินการและการประเมินด้วยตนเอง ดังแสดงในภาพที่ 2 ผู้เรียนจะเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ซึ่งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งข้อมูลที่มีศักยภาพ ได้แก่ ครู เทคโนโลยี พ่อแม่ ภูมิปัญญาชาวบ้าน และบุคคลอื่น ๆ ตลอดจน สื่อต่างๆ เพื่อที่จะนำมาสู่การหยั่งรู้ในปัญหาและการแก้ปัญหา หรือการได้มาซึ่งความรู้ที่ตนเองสร้างขึ้น บทบาทของครูได้เปลี่ยนแปลงมาสู่การแนะแนวทางและเป็นผู้อำนวยการ และช่วยเหลือผู้เรียนให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้

เมื่อมีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ การสอน มาสู่ การเรียนรู้ ดังนั้นเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมที่นำมาเพิ่มประสิทธิภาพก็ต้องสอดรับกับแนวคิดดังกล่าว คือ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ลักษณะของการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรม หรือสื่อมาใช้ที่สอดคล้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ เป็น "Media + Methods" หรือ "สื่อ ร่วมกับ วิธีการ" เช่น การใช้ Web-base ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเพื่อเปิดโอกาสได้ลงมือกระทำอย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน รวมทั้งการขยายมุมมอง แนวคิดให้กว้างขวางขึ้น อันนำไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะเป็นความรู้ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆในสภาพชีวิตจริงได้ ส่วนวิธีการ (Methods) ที่สอดรับกับสภาพปัจจุบัน ได้แก่

  • การเรียนแบบค้นพบ (Discovery)
  • การเรียนแบบสืบเสาะ(Inquiry)
  • การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving)
  • การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
  • การเรียนโดยการสร้างความรู้ (Constructivism)
  • สถานการณ์จำลอง (Simulation)
  • การสร้างโครงงาน

        นอกจากจะใช้สื่อร่วมกับวิธีการ ดังกล่าวมาข้างต้น อาจออกแบบการจัดการเรียนรู้ โดยเปลี่ยนเป็น "การสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้" ซึ่งจะนำพื้นฐานทางทฤษฎีการเรียนรู้ หลักการ หรือวิธีการ มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อ เช่น การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ของ Web-base learning หรือ การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ของ ตามแนว Constructivism

หมายเลขบันทึก: 46883เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • น่าสนใจมากค่ะ  นักเรียนให้ความสนใจในกิจกรรมที่จัดให้หรือเปล่าคะ
  • นักเรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับมัธยมใช่ไหมคะแต่สำหรับนักเรียนของครูอ้อยเป็นนักเรียนประถมค่ะ  มีจำนวนไม่มากที่ชอบเรียนคอมพิวเตอร์
  • ขอบคุณค่ะ  สำหรับความรู้และประสบการณ์
ดิฉัน ได้ออกแบบบทเรียนโดยการนำเอาสื่อมาใช้ร่วมกับวิธีการ โดยการใช้ Web-base ซึ่งเรียกบทเรียนนี้ว่าบทเรียนแบบ HyperQuest ซึ่งมีกิจกรรมการเรียนโดยนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับ
  • การเรียนแบบค้นพบ (Discovery)
  • การเรียนแบบสืบเสาะ(Inquiry)
  • การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
  • การเรียนโดยการสร้างความรู้ (Constructivism)
  • มาใช้ร่วมกันโดยนำเอาเนื้อหาเรื่องผ้าเกาะยอซึ่งเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับท้องถิ่นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านบทเรียน เป็นการเรียนที่เปิดโอกาสให้ นร.ได้ลงมือศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองอย่างตื่นตัวในกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลและเรียนรู้ร่วมกับเพื่อน เป็นเปิดโอกาสให้ นร.ได้ขยายมุมมอง แนวคิดให้กว้างขวางขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างความรู้ที่มีความหมายของตนเองขึ้นมา ซึ่งจะเป็นความรู้ที่อยู่คงทน และสามารถถ่ายโอนไปใช้ในสถานการณ์อื่น หรือนำไปใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆในสภาพชีวิตจริงได้ ทำให้ นร.ได้นับความรู้เกี่ยวกับผ้าเกาะยอ ขณะเดียวกันก็เกิดทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ไปด้วย

    ตัวอย่างสื่อการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท