ผู้ป่วย HIV ต้องการมีบุตรทำอย่างไร


มีบุตรยาก,เด็กหลอดแก้ว,HIV มีบุตรได้,วิธีการล้างเชื้อHIVเพื่อการตั้งครรภ์

ในปัจจุบันพบอัตราการติดเชื้อ HIV ค่อนข้างสูงอย่างน่าตกใจ ในหลายสิบปีก่อนมักจะพบในเพศชาย โดยเฉพาะกลุ่มเที่ยวกลางคืน แต่ปัจจุบัน พบผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ ในกลุ่มแม่บ้าน นักศึกษาซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ในวัยเจริญพันธู์ทั้งสิ้น  เป็นที่น่าเสียดาย สำหรับผู้หญิงที่ต้เ้องแต่งงานกับชายคนรัก ด้วยความรักและไว่้ใจ โดยไม่ทราบมาก่อนว่า สามีของตนนั้นมีเชื้อ เอดส์แฝงอยู่ และในบางคู่ต้องการยัดเยียดโรคร้ายเหล่านั้นให้กับภรรยาของตนเอง ในฐานะที่เป็นพยาบาลได้พบเรื่องราวที่น่้าเศร้าใจอย่างนี้อยู่บ่อยๆ สงสารเพศเดียวกันเป็นอย่างมาก วันนี้จะมาบอกว่า ถึงหนทางที่จะทำให้คู่รักที่ติดเชื้อเอดส์ สามารถมีบุตรได้ โดยบุตรของทา่นนั้นปลอดเชื้อเอดส์99เปอร์เซ็นต์


ในวงการเเพทย์ปัจจุบันได้พัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถล้างเชื้อ HIV จาก อสุจิ และ ไข่ ได้อย่างสำเร็จ วิธีการนี้เรียกว่า ICSI

ICSI ย่อมาจาก Intracytoplasmic Sperm Injection แปลตรงๆ ว่าการฉีดสเปิร์มเข้าไปในซัยโตพลาสซีมของไข่ เป็นเทคนิกที่พัฒนาเข้ามาแทนที่ "พีซีดี" partial zona dissection (PZD) และ
"ซูซี่" subzonal insertion (SUZI) ปัญหามีบุตรยากที่มีสาเหตุจากฝ่ายชายอาจเป็นผลมากจากตัวอสุจิมีน้อยผิดปกติ บางคนถึงขนาดไม่มีตัวอสุจิเลย บางคนอสุจิเคลื่อนที่ผิดปกติไม่สามารถว่ายเข้าไปผสมกับไข่ได้ ตัวอสุจที่มีรูปร่างผิดปกติไม่สมประกอบก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก นอกจากนี้ภาวะการอุดกั้นท่ออสุจิไม่ว่าจะเป็นจากสาเหตุใดก็เป็นสาเหตุที่สำคัญ รวมทั้งผู้ที่ได้รับการรักษาโดยการฉายแสงหรือเคมีบำบัด ผู้ป่วยโรคระบบประสาทบางชนิด ทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มที่มีข้อบ่งชี้ในการเลือดใช้การทำอิ๊กซี่เป็นเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์

หลังจากกระตุ้นให้ไข่ตก แพทย์จะทำการเก็บและคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเพียงตัวเดียว ถ้าไม่สามารถกระทำได้ อาจใช้หัตถการเพื่อเจาะดูดตัวอสุจิบางอย่างเข้าช่วย เช่น MESA หรือ TESA จากนั้นจึงนำไปทำการผสมกับไข่ในห้องปฎิบัติการภายใต้เทคนิกที่เรียกว่า micromanipulation เมื่อการปฎิสนธิเกืดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ถึงจะนำกลับไปฉีดเข้าโพรงมดลูกเป็นอันดับสุดท้าย

โดยเฉลี่ยแล้วอัตราความสำเร็จในการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ จะตกราว 30% ต่อการเก็บไข่แต่ละครั้ง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุของผู้มารับบริการด้วย ในคนที่อายุน้อยกว่า 35 ปีจะน้อยกว่านี้ และในคนที่อายุเกิน 40 ปี อัตราความสำเร็จน้อยกว่า 20% สำหรับผู้ที่ไม่ตั้งครรภ์จากการรักษาครั้งแรก ถ้ามาทำซ้ำก็จะมีอัตราการตั้งครรภ์ เช่นครั้งแรก ดังนั้นถ้ามารับการรักษาจำนวนหลายครั้งก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์สะสมได้สูงขึ้น เช่น 60-70% ถ้ารับการรักษา 4 รอบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ กลุ่มแรกเกิดจากผลข้างเคียงของยา และจากภาวะที่รังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป กลุ่มที่สองเป็นผลข้างเคียงจากการทำหัตถการ เช่น การดมยาสลบ การเก็บไข่ การใส่ตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูก และสุดท้ายเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ตั้งครรภ์แฝดท้องนอกมดลูก ทารกที่คลอดจากกรรมวิธีช่วยการเจริญพันธุ์ไม่พบว่ามีอัตราเสี่ยงที่จะมีความพิการ หรือความผิดปกติสูงกว่าทารกที่คลอด

หมายเลขบันทึก: 468704เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2011 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณสำหรับความรู้และข่าวสารเทคโนโลยีทางการแพทย์ครับ

น่าสนใจมากคะ เป็นข้อมูลที่แนะนำให้ผู้ป่วยรับรู้ได้ต่อไป

อยากรบกวน บอกแหล่งอ้างอิง เพื่ออ่านเพิ่มเติมด้วยจะขอบคุณมากคะ

อ้างอิงจาก วารสารของโรงพยาบาลที่ทำงาน " วารสารเจตนิน"

แต่ไม่ได้จำปักเล่มมา ต้องขอโทษด้วยนะคะ เรื่องต่อไปจะไม่พลาดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท