วัฒนธรรมองค์กร : การเข้าร่วมโครงการกิจกรรม


    วัฒนธรรมองค์กรถ้าเป็นในทางที่ดีก็ดี และถ้าเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ค่อยดี โดยเฉพาะการเข้าร่วมโครงการกิจกรรมที่มักอยู่ไม่ครบตามกำหนดการ พอเบร็คอาหารว่าง หรือ รับประทานอาหารกลางวันเสร็จ แล้วก็ไป ไปไหนไม่รู้เหมือนกัน ? ทั้งๆที่ผู้บังคับบัญชาสั่งให้มาแท้ๆ แบบนี้แปลว่าอะไร.......ใครตอบได้ครับ ยกมือขึ้น

    สำหรับผู้จัดโครงการกิจกรรมนั้น ความคาดหวังคือ มีผู้ประสงค์เข้าร่วมมากที่สุดต่อมา ผู้ที่ประสงค์เข้าร่วมมาตามจำนวนที่แจ้งมา และที่สำคัญที่สุดที่ผู้จัดปรารถนาคือผู้เข้าร่วมที่มาอยู่ครบตามกำหนดการให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ควบคุมกันไม่ได้แน่ๆ

    หลายองค์กร/หน่วยงานก็น่าจะมีปัญหาเรื่องเหล่านี้เช่นกัน เลยหาวิธีการไปจัดข้างนอกหน่วยงานไกล แบบเรียกว่า “ปล่อยเกาะ” เรียกว่า ไปขังกันไว้เลยก็ได้ ... แต่ขนาดแบบนี้ก็ยังมีบางคนก็ขอเอารถเดินทางไปเองก็ยังมี ยอมเสียค่าน้ำมันเองเลย ขอให้ได้ออกไปจากที่ห้องประชุม หรือที่พัก ก็ยังดี เพราะเดี๋ยวใจจะขาดแน่

    สำหรับการจัดโครงการกิจกรรมที่ต้องจัดอยู่ภายในหน่วยงาน นั้น เป็นอะไรที่ถือเป็น ความเสี่ยงสูงสุด” ที่มีโอกาสผู้เข้าร่วมอยู่ไม่ครบ

    ดังนั้น การจะดึง หรือ ดูดใจ ผู้เข้าร่วมได้ นั้น ผู้จัดต้องนั่งคิดๆๆๆอย่างมาก ออกแบบกระบวนการ
กิจกรรมต่างๆ ให้สนุก แต่อยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ไปพร้อมๆกัน เรื่องนี้ กระบวนกร หรือ วิทยากร ให้ความสำคัญมาก ทำอะไร อย่างไร ที่ผู้เข้าร่วมจะอยู่ครบมากที่สุด

    แต่ถ้าเป็นกระบวนการ วิทยากรที่โด่งดังระดับชาติ และเป็นที่รู้จัก ประเด็นเหล่านี้คงไม่น่าห่วง
เพราะมีต้นทุนเดิมอยู่แล้ว

    แต่สำหรับกระบวนกร วิทยากรมือใหม่ หรือไม่ใช่อาชีพโดยตรง หรือกำลังสั่งสมประสบการณ์ชั่วโมงบิน นั้น ต้องสังเกตอากัปกิริยาผู้เข้าร่วมตลอดเวลา แผนกำหนดการต้องยืดหยุ่นได้เสมอ มีแผน 2 แผน 3 หรือ 4 5 ... รองรับไว้เสมอ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เข้าร่วม โดยเฉพาะการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

    การให้เขารู้ว่าผู้เข้าร่วมมีคุณค่าในตัวเองทุกคน มีความสำคัญทุกคน สิ่งเหล่าจะพอดึงดูดได้บาง

    การที่ผู้เข้าร่วมเหลือมากกว่า 50% ของผู้ที่มาลงทะเบียนตั้งแต่ต้น สำหรับผมแล้วถือว่าน่าพอใจ
และเป็นกำลังใจให้ผู้จัดมิใช่น้อย :)

     สิ่งสำคัญอีกอย่างคือการติดตามผลกระทบการเข้าร่วมการนำความรู้หรือทักษะไปใช้กับงาน ที่ผู้จัดต้องมีการติดตามหลังโครงการเสร็จ 1-2 เดือนให้หลัง และมีการนัดกลุ่มคนเหล่านี้มานั่งถอดบทเรียน (AAR) อีกครั้ง ว่าแต่ละคนมีการพัฒนาการอย่างไร

    ร่วมกู่สร้างสรรค์พัฒนา



 
หมายเลขบันทึก: 468699เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2011 08:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท