งานของครู


ศิลปหัตถกรรม

จบลงไปได้ด้วยดีในงานศิลปหัตถกรรมระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาตากเขต ๑ (๑๖-๑๘  พฤศจิกายน ๒๕๕๔) ซึ่งอนุบาลตาก

ไม่น้อยหน้าที่อื่นใดได้รางวัลชนะเลิศยี่สิบกว่ารายการ  เก่งทั้งครูและนักเรียน

ผาผึ้งก็มาแรง  ปีนี้น้องเพื่อนน้องเมย์ทุ่มสุดตัวกับโครงงานคณิตศาสตร์

กับน้องตุ่มที่ซุ่มซ้อมแกะสลักผักและผลไม้จนคว้ารางวัลชนะเลิศมาครอง

และเตรียมตัวไปแข่งระดับภาคที่พิจิตรต่อไปในเดือนธันวาคม ๒๕๕๔

ยินดีกับทุกคนและเป็นกำลังใจให้คนที่ยังไม่ได้รับรางวัล  สู้ต่อไป

ชื่นชมในความสามารถของครูที่อุตส่าห์เสียสละเวลาและงบประมาณ

ทุ่มเทฝึกซ้อมให้นักเรียนมีความชำนาญในสิ่งที่ตนถนัด จนสามารถ

ชนะการแข่งขันจนได้รับเลือกเป็นตัวแทนต่อไปในระดับที่กว้างขึ้น

เห็นนักเรียนขึ้นเวทีทีไรให้สะท้อนไปถึงครูผู้ฝึกทุกครั้ง  โดยเฉพาะ

การแข่งขันประเภททีม ที่มีครูฝึกเพียงคนเดียว  เช่น  โครงงาน

แอโรบิค  ละคร  ฯลฯ  ทึ่งในความเป็นผู้สอนที่ช่างมีความอดทน

และทุ่มเทอย่างจริงจังจนประสบผลสำเร็จ  ย้อนกลับมาดูที่ตัวเอง

ยังไม่ทำสิ่งใดที่จริงจังเป็นพิเศษ  ปล่อยเวลาให้ผ่านไป  อยู่กับเด็ก

ทำวันนี้ให้ดีที่สุดอย่างเดียวเลย  ไม่เคยนึกถึงวันหน้า  เพราะ

หมดเวลาไปกับการพักผ่อนของตัวเองอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

คิดแล้วละอายใจตัวเอง  แต่รักที่จะเป็นตัวของตัวเอง

ก็คงจะปรับตัวได้ในซักวันหนึ่ง  ซึ่งตรงกันข้ามทีเดียว

กับแนวคิดของสตีฟจอบส์ที่ว่า "ให้ใช้ชีวิตทุกวันดังเช่นเป็นวันสุดท้ายของชีวิต"

ก็คุยกันเล่นกับเพื่อนม๋องว่า  ครูไทยนี่ใช้ชีวิตตามแนวคิด

ของสตีฟจอบส์เปี๊ยบเลย  "มีแหล่งเงินให้กู้ที่ไหน  กู้ไปหมด 

เพราะกลัวว่าพรุ่งนี้จะไม่มีโอกาสได้กู้"  เป็นเช่นนี้จริงหรือเปล่า?

คำสำคัญ (Tags): #สตีฟจอบส์
หมายเลขบันทึก: 468683เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2011 00:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท