องค์กรแห่งความรู้


องค์กรแห่งความรู้
องค์กรแห่งความรู้
   
จับประเด็นจาก นสพ.บิสสินิสไทย โดย อ.ดนัย เทียนพุฒ - 10/3/2003

ทำไมจึงต้องเป็นองค์กรแห่งความรู้

แนวคิดของการพัฒนาองค์กรในปัจจุบันมักจะพูดถึง “องค์กรแห่งการเรียนรู้” (L/O :Learning Organization) ที่มีความโด่งดังในอดีตตามทฤษีของ Peter Senge (1993) ซึ่งบอกกับธุรกิจทุกประเภทว่าจะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ด้วยวินัย 5 ประการ คือ
1) การเป็นบุคคลผู้รอบรู้ (Personal Mastery)
2) การคิดเป็นระบบ (System Thinking)
3) มีโมเดลความคิด(Mental Models)
4) ทีมการเรียนรู้ (Team Learning)
5) มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision)

Noel Tichy (1997) เสนอแนวคิดในหนังสือ The Leadership Engine ที่เล่าความสำเร็จในการพัฒนาให้กับ GE (General Electric) ถึงการเป็น "องค์กรที่สอนให้เรียนรู้" (T/O : Teaching Organization)

อ.ดนัย เทียนพุฒได้เสนอแนวคิดว่า พื้นฐานของการพัฒนาธุรกิจจาก "องค์กรแห่งการเรียนรู้" (L/O) และ "องค์กรที่สอนให้เรียนรู้"(T/O) จะทำให้นำไปสู่ "องค์กรแบบใหม่" ในศตวรรษที่ 21 ได้ก็คือ "องค์กรแห่งความรู้" (KBO)

1. องค์กรแห่งความรู้ (KBO) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนทำงานในองค์กรไปสู่ "คนทำงานรูปแบบใหม่" ที่เรียกว่า "Knowledge Worker" คือ ต้องสร้างความรู้ขึ้นมาได้ของในองค์กร

2. ลักษณะของ "องค์กรแห่งความรู้"
จะมีรูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรใน 4 ลักษณะด้วยกันคือ
1) เซ็ต (Set) โดยทุกองค์กรจะมีเซทของรายการ เช่น เครื่องจักร หรือคน บางครั้งรายการนี้อาจเชื่อมโยงถึงกันแต่ก็อยู่ในเซ็ต ตัวอย่างเช่น ธุรกิจบริการด้านวิชาชีพ กลุ่มบริษัท หรืองานด้านวิจัยในมหาวิทยาลัย
2) เชน (Chain) เป็นลักษณะของการเชื่อมโยงติดต่อกัน ตัวอย่างเช่น วัตถุดิบถูกส่งเข้าโรงงานเพื่อให้เป็นชิ้นส่วนประกอบ (Parts) โดยจะนำไปประกอบกันที่สายการผลิตย่อยๆ และส่งต่อไปประกอบในสายการผลิต จนกระทั่งส่งถึงมือลูกค้า
3) ฮับ (Hub) เป็นการให้บริการในลักษณะของศูนย์กลางประสานงาน โดยที่มองได้ทั้งกายภาพและจุดรวมของแนวคิด ที่ซึ่งคน สิ่งของ หรือสารสนเทศมีการเคลื่อนย้ายไปมา เช่น โรงเรียน สนามบิน ผู้จัดการ มีจุดศูนย์กลางเป็นการสื่อสารแบบเปิดและการเคลื่อยนย้ายอย่างต่อเนื่องของคนและความคิด
4) เว็บ (Web) คือเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงในรูปของกริด (Grid) หรือตาข่ายที่อยู่ในรูปของ World Wide Web ซึ่งทั้ง 4 แบบนี้จะเรียกว่า องค์กรแบบออร์แกนิกราฟ (Organigraphs)

3. องค์กรแห่งความรู้ในรูปแบบที่สมบูรณ์ จะต้องสร้างให้เกิดทุนทางปัญญา (IC : Intellectual Capital) จากความสามารถของคน (Human Competence) ซึ่งจะสามารถนำไปสู่องค์กรรูปแบบใหม่ในอนาคตที่กำลังก่อตัวอยู่ซึ่งเรียกว่า องค์กรสู่คุณค่าทุนทางปัญญา (ICVO : Intellectual Capital Value Organization)

โดยสรุปแล้ว...องค์กรแห่งความรู้ (KBO : Knowledge Based Organization)เป็นองค์กรที่จำเป็นในปี 2546 เพราะเป็นฐานรากสู่องค์กร ICVO ในศตวรรษที่ 21

หมายเลขบันทึก: 46864เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท