ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง
นาย ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง (เอ) หลักเมือง

มอง กศน.ไทย จากการไปบาหลี (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๖๐)


มอง กศน.ไทย จากการไปบาหลี (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๖๐)

มอง กศน.ไทย จากการไปบาหลี (กศน.เพื่อนรัก เพื่อนเรียนรู้ : ๖๐)               

 

ศุภัชณัฏฐ์ หลักเมือง                                                                             ผอ.กศน.อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์                                                     เครือข่ายประชาสังคมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

******************                                                                         

          ผมได้มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่เกาะบาหลี เมืองเดนปาซาร์ (Denpasar)  ประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคม 2554 โดยได้ไปศึกษาดูงานที่    New Treasure Island (Natural Bali Village) New Treasure Island      เป็นศูนย์เรียนรู้ ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1995 โดยแนวคิดของคนพื้นที่ ที่ประสงค์จะรวบรวมการจัดแสดงและถ่ายทอดด้านศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ชาวบาหลีให้ประชาชนในบาหลีและประชาชนในเกาะอื่น ๆ ของประเทศอินโดนีเซียได้ เรียนรู้ จึงได้นำแนวคิดดังกล่าวเสนอรัฐบาลท้องถิ่นของเกาะบาหลี  ทางรัฐบาลท้องถิ่นของเกาะบาหลีเห็นชอบกับแนวคิดดังกล่าว จึงสนับสนุนและช่วยทำการประชาสัมพันธ์ให้พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในด้านการจัดการจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 16  ปี 

         ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้นี้มีนายซูนาราโต้  ซึ่งเป็นลูกชายผู้ก่อตั้งเป็นผู้บริหารหรือ    ผู้จัดการ  มีพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงาน 17 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กในท้องถิ่นที่เรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย  อัตราค่าจ้างพนักงานประมาณ 1 ล้าน 2 แสนถึง 1 ล้าน  4  แสนรูเปี้ยะ ต่อคนต่อเดือน  การปฏิบัติงานจะมีตารางว่าใครรับผิดชอบเรื่องอะไรและทำงานร่วมกับใครบ้าง พนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติงานในศูนย์เรียนรู้อาชีพ สัปดาห์ละ 5 วันๆ ละ 8  ชั่วโมง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ จะปฏิบัติงาน 40 ชั่วโมง จึงจะได้ค่าจ้างตามที่กำหนด    ซึ่ง 1 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 250 ถึง 300 รูเปี้ยะ (ขึ้นอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนแต่ละวัน) พนักงานจะมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว เพราะเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบาหลีและพนักงานทุกคนล้วนได้สัมผัสในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  ปัจจุบันศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ มีการจัดการเรียนรู้หลายด้านด้วยกัน ได้แก่ ระบำบาหลี อาหารพื้นเมือง จักสาน บาติก วาดภาพระบายสี การทำกระทงเซ่นไหว้ (จาบัง) และนวดไทย นวดบาหลี

         พนักงานแต่ละคนจะมีความถนัดในแต่ละด้าน จึงสามารถเป็นวิทยากรสอนให้ผู้เข้าไปศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าในได้เป็นอย่างดี ลูกค้าหรือผู้ที่เข้าไปศึกษาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ร้อยละ 10  เป็นคนท้องถิ่น อีกร้อยละ 90 เป็นนักท่องเที่ยว  (คนต่างชาติ) การประชาสัมพันธ์หาลูกค้าจะกระทำโดยการประสานงาน ติดต่อกับเอเจนซี่บริษัททัวร์ต่าง ๆ เพื่อให้จัดหาลูกค้าเข้าศูนย์การเรียนรู้ โดยคิดอัตราค่าเรียนรู้คนละ  13  เหรียญดอลล่าร์ต่อชั่วโมง  วิธีการเรียนรู้จะแบ่งเป็น Shop (หรือฐานการเรียนรู้)  แต่ละ Shop จะมีการจัดการเรียนรู้โดยมีวิทยากรประจำแต่ละ Shop  ดังนั้น ลูกค้าหรือผู้ที่เข้าไปศึกษาเรียนรู้ สามารถที่จะเลือกเรียนแต่ละวิชาหรือเรื่องที่ตนสนใจได้หรืออาจจะเลือกหลายวิชาหรือเรื่อง การเรียนรู้ไม่มีการลงทะเบียน และวิชาเรียนไม่มี     เกียรติบัตรหรือวุฒิบัตรให้ ถีอเป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัย

         แต่หากใครสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น จนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ทางศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะแนะนำสถานที่เรียนให้ที่อยู่ในเกาะบาหลี การจัดการเรียนรู้เป็นภาษาบาฮาซาร์อินโดนีเซีย ซึ่งลูกค้าหรือผู้ที่เข้าไปศึกษาเรียนรู้ต่างชาติ     ที่เข้ามาในศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ส่วนใหญ่ทางทัวร์จะมีล่ามช่วยแปลให้ ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนสามารถสื่อสารกันได้ง่ายและเข้าใจ

         ปัจจุบันคนในเกาะบาหลีเองร้อยละ 80 ใช้ภาษาบาฮาซาร์อินโดนีเซีย ที่เหลือเป็นภาษาอื่น ๆ  ซึ่งมีเกือบ 350 ภาษาในประเทศอินโดนีเซีย การที่ศูนย์การเรียนรู้ แห่งนี้ได้นำเอาศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นวิถีชีวิตของท้องถิ่นมารวบรวมจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ โดยเอกชนเป็นผู้ดำเนินการดังเช่นนี้ทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากและยังช่วยประชาสัมพันธ์ศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรม ของเกาะบาหลีให้ทั่วโลกได้รู้จักและชื่นชม  ทำให้การท่องเที่ยวของเกาะบาหลี สามารถสร้างรายได้เป็นอันดับ 1 ของเกาะบาหลีซึ่งมีสถานที่สวยงามวัฒนธรรมล้ำค่า ศิลปะล้ำเลิศ

การนำแนวคิดและข้อมูลจากการศึกษาดูงานไปประยุกต์ใช้

1.  การประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมหลักใน กศน.ตำบล ได้แก่

    1.1 ศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center)  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับประชากรตำบล ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา การเกษตร  ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งท่องเที่ยว  ข้อมูลการกระจายข่าวร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล

    1.2 ศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ (Opportunity Center) เช่น กิจกรรมศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน มีการจัดบริการซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล  จัดกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่บริการตัดผมฟรีร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล  เคลื่อนที่ และจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อส่งเสริมคุ้มครองผู้บริโภคในพื้นที่                                    
    1.3 ศูนย์การเรียนชุมชน  (Learning Center) เช่น  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  การศึกษาตามอัธยาศัย (ส่งเสริมการอ่าน) และการจัดการศึกษาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

    1.4  ศูนย์ชุมชน (Community Center) เช่น จัดเวทีชาวบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น  การจัดกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง จัดให้คำปรึกษาข้อมูลต่างๆ ในตำบล ทั้งด้านการศึกษา อาชีพ และอื่นๆ  และจัดกิจกรรมเวทีเสริมสร้างความรู้เรื่องการเกษตรร่วมกับเกษตรประจำตำบล

          การประยุกต์ใช้  ใน กศน.ตำบล สมควรเพิ่มเติมมุมศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่น/ชุมชนไว้ใน กศน.ตำบล เพื่อเป็นการสืบทอด และอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมนั้นไว้  สิ่งสำคัญส่วนที่สามารถถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้สมควรดำเนินการ

2.  การประยุกต์ใช้กับการสนองนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการจัดการศึกษาอาชีพ   เพื่อการมีงานทำ สมควรพิจารณานำเรื่องศิลปะและวัฒนธรรมมาจัดกระบวนการเรียนการสอน หรือการฝึกอบรมเพื่อประกอบอาชีพได้ เช่น อาหารไทย (ต้มยำกุ้ง)  ก็จะสามารถเชื่อมโยงถึงการผลิตอีกหลายประเภท ได้แก่ การเลี้ยงกุ้งที่มีคุณภาพและปลอดสารพิษ การปลูกข่า ตระไคร้ มะกรูด พริก และมะนาว ก็จะเกิดอาชีพที่หลากหลาย

3. การประยุกต์ใช้กับการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น  ซึ่งอาจต้องประสานงานกับหลายหน่วยงานที่ต้องทำให้ศูนย์ดังกล่าวนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการจัดกิจกรรมกรรมและกบวนการเรียนรู้เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และสามารถจัดเป็นศูนย์ท่องเที่ยวที่สามารถสร้างรายได้ให้กับ  ศูนย์และท้องถิ่น/ชุมชนได้ ตัวอย่างเหมือนกับ  New Treasure Island (Natural Bali Village)  ที่มีลักษณะเป็นศูนย์การศึกษาตามอัธยาศัยที่ให้ทุกคนที่มีความสนใจได้เข้ามาเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติ อาจมีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการท้องถิ่น/ชุมชน แต่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และราชการ  ซึ่งโดยไปจะเป็นลักษณะของการเก็บและแสดง ของเก่าของโบราณ และจัดแสดงนิทรรศการเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีเรื่องของการจัดกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง.

 

คำสำคัญ (Tags): #ดูงานบาหลี
หมายเลขบันทึก: 468528เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2011 12:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณครับ สำหรับกำลังใจที่มอบให้ครับ.

 

อยากไปเที่ยวบาหลีบ้าง แต่ยังไม่พบโอกาสครับ 

ว่าจะไปที่นี่ ก่อน


ขอบคุณมากครับอาจารย์ ผมไปชมมาแล้วที่วัดร่องขุ่น ผมว่าจะหาศิลปะที่งดงามอ่อนช้อยและลงตัวเสมอที่นี้ไม่ได้อีกแล้วในโลกนี้ครับ.

  • ตอนนี้อยู่ประจวบหรือระยองครับ
  • เห็นบาหลีแล้วอยากไปเรียนรู้บ้างครับ

ผมจะเดินทางไปรับตำแหน่งระยองต้นเดือนธันวาคม 2554 ครับ ...                    บาหลีมีศิลปวัฒนธรรม และประเพณีที่น่าศึกษามาก เป็นผู้นับถือศาสนาฮินดู        ในท่ามกลางมุสลิมครับน่าสนใจทีเดียวครับ.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท