ทุนแห่งความสุข


วิกรม กรมดิษฐ์ ต้องถือว่าเป็นตำราชีวิตที่มหาวิทยาลัยโลกนี้ไม่มีสอนแน่นอน

กรณีศึกษา  การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

 

นางวาสนา  รังสร้อย

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

 

            จากมงคลชีวิต 38 ประการที่ถือว่าเป็นธรรมะที่เปิดทางให้แสงสว่างไปยังเป้าหมายชีวิตของการเกิด การมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้กล่าวว่า เกิดมาเป็นคนไม่ใช่เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูง ๆ เพื่อให้มีสติปัญญาที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายเท่านั้นยังไม่พอ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่เกิดจาการเรียนรู้เป็นสิ่งที่นำไปเลี้ยงส่วนที่เป็นร่างกายเท่านั้น  เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ กายและใจ  เมื่อร่างกายหิว ก็ต้องการอาหารเพื่อให้พ้นจากโรค คือ ความหิว  และทำให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโต  ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหารคือ ธรรมะ มาหล่อเลี้ยงเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ  โกรธ  หลง และเพื่อยกระดับจิตใจของคนเราให้สูงขึ้น ก็จะได้พบกับ ความสุข เป็นกุญแจไขความลับของชีวิตอย่างมีสติ ซึ่งมันกลายเป็นพลังที่สามารถเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวเราเอง เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ ไม่มีขายในท้องตลาด อยากได้ก็ต้องทำเอง 

        และในสมัยก่อนนั้นเรายังไม่รู้จักเรื่องสมดุลงานกับชีวิต  จึงได้ทำระบบต่าง ๆ ขึ้นมาเช่น  กิจกรรม 5 ส  TQM  TPM  ISO  KPI/BSC HA GMP  ฯลฯ เป็นต้น การทำระบบดังกล่าวเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจพนักงาน  ทำแบบหลอกตนเอง  หลอกลูกค้า และหลอกผู้ตรวจการประเมิน  คนตรวจประเมินก็ตรวจแบบงานได้ผล คนเสียหาย ทำลายความรู้สึกผูกพัน รู้สึกเครียดกับการทำงาน  คนรอบข้างจะไม่มีความสุข   แต่ถ้ามีส่วนร่วม(Engagement) และความเป็นเจ้าของของพนักงาน ดังนั้นในรูปแบบ HR แล้วต้องพัฒนาให้ทุกระบบเป็นแบบ Play + Learn คือเพลิน  ๆ ถือว่าทุกระบบเป็นการเรียนรู้ มีการแลกเปลียนเรียนรู้   การตรวจการประเมิน (Audit) สบาย  เป็นการสร้างบรรยากาศ  ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรรุ้สึกว่าเป็นเรื่องสนุก  ได้เกิดการเรียนรู้  ได้มีส่วนร่วม  และสิ่งที่ตามมาคือความสุข

         ซึ่งสอดคล้องกับ “เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข”ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ว่า  “ชีวิตของเราทำงานมาก ตั้งแต่อายุ 22-60 ปี เราอยู่ที่ทำงานมากกว่ามาก เราจะทำงานให้มีความสุขได้อย่างไร การมีความรับผิดชอบมากทำให้มีความเครียดมาก ก็ต้องมีเทคนิคที่ทำไม่ให้เครียด คนรอบข้างจะได้มีความสุข   และประเทศไทยควรมี Happiness Capital Institute ประเทศไทยควรเปลี่ยน entertainment เป็นมูลค่าเพิ่ม ธรรมชาติของโลกให้โอกาสด้านความสุขแก่คน แต่ขึ้นอยู่กับว่าควรจะใช้มันอย่างไร แต่คนเก่งมักไม่มีความสุขในการทำงาน  ถ้าความสุขในการทำงานตก productivity ก็จะตก ประโยชน์ของการมีความสุขก็คือ การที่มีความเครียดน้อย จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีสุขภาพดี การที่อาจารย์มีความสุขเท่ากับสร้างโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม ทำให้ทุนทางความสุขกระจายออกไป”ในการสร้างบรรยากาศการทำงาน ให้คนมีความสุขในการทำงาน ความสุขเป็นรากฐานไปสู่ความเป็นเลิศ ความสุข  อยู่ที่เป้าหมายของการทำงาน  และสิ่งสำคัญควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างความสุข ควรคิดในแง่บวก อย่าคาดหวังอะไรที่สูงเกินไป อย่าคิดว่างานเป็นแค่ job หรือ career แต่ต้องคิดว่าเป็น calling (สิ่งที่เราปรารถนา) จะทำให้ทำงานอย่างมีความสุขมากกว่า  

       เมื่อได้ทราบถึงเทคนิคการทำงานอย่างมีความสุขของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ดิฉันได้นึกถึงและประทับใจ  วิธีการบริหารคนของ วิกรม กรมดิษฐ์ ที่มีวิธีการบริหารคน บริหารชีวิตที่น่าสนใจมากที่สุดในเมืองไทยคนหนึ่งเขาเป็นเจ้าของบริษัท อมตะ คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับโลกและในเมืองไทย ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งจากนักธุรกิจจำนวนมากที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน แถมยังข้ามชั้นไปถึงระดับที่สูงกว่าเขาในเวลาไม่กี่ปี

            เขาเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ ความคิดดีๆ ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมต่อประเทศชาติ หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนขึ้นมา  ความคิดที่ผ่านการพูดในรายการต่างๆ ที่รับเชิญ โดยมีคนรุ่นใหม่สนใจที่จะฟังและคิดตามมากที่สุด
คนหนึ่งในเมืองไทยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอีกมากมายที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันสูงในระบบทุนนิยมสุดขั้วในปัจจุบันที่ยากจะปฏิเสธได้

            “วิกรม กรมดิษฐ์ ต้องถือว่าเป็นตำราชีวิตที่มหาวิทยาลัยโลกนี้ไม่มีสอนแน่นอน”  วิกรม  มีวิถีชีวิตของตนเองที่กำหนดขึ้น โดยเขาเปรียบช่วงชีวิตของมนุษย์ว่าเป็นเหมือนผีเสื้อ เขากล่าวว่า  พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้   “ถ้าเราแบ่งชีวิตเป็นสามช่วง  ช่วงแรกสร้างเศรษฐกิจ เหมือนหนอนเกิดมาตอนแรกก็เอาแต่กิน พอครบสี่รอบ เราก็ควรเริ่มสงบเหมือนดักแด้ อย่างผมก็จะเอาแต่นึกฝันและเขียนหนังสือ ผมเขียนวันละสิบชั่วโมงขึ้นไป เขียนอยู่ 10 วันใน 2 สัปดาห์ พอเป็นดักแด้เสร็จสุดท้ายยก็เป็นผีเสื้อ คือลอยละลิ่วไม่ผูกติดกับอะไรอีกแล้ว”

            แต่ก่อนจะปล่อยวางเพื่อจะเป็นผีเสื้อได้  วิกรมเคยเป็นมดงานที่ทำงานหนักมากมาก่อน เขาไต่เต้าขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วค่อยคืนสู่ชีวิตความเรียบง่าย แต่ทว่ากำกับด้วยสติและสมาธิอยู่ในทุกข์ช่วงขณะ

            ทุกวันนี้คุณวิกรมใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่บนแพวิเวก ติดอุทธยานเขาใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ในเวลา 2 สัปดาห์เขาจะเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ประมาณ 1-2 วัน เพื่อประชุมกับทีมบริหารของอมตะ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือผู้บริหารงานด้านนิคมและกลุ่มพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ โดยเรียกเฉพาะผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามความคืบหน้าของงาน ช่วยแก้ปัญหา วางแผน วางเป้าหมาย ให้คำแนะนำ ฯลฯ ที่เขามักพูดเล่นๆเสมอว่า  “...วันนี้จริงๆผมไม่ได้ทำอะไรเลย แค่เป็นคนกำหนดเป้า วางนโยบาย สร้างแรงจูงใจ และคอยบีบพวกพนักงานอีกนิดๆหน่อยๆ...”   เขามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างกว่า  ซีอีโอคนอื่นที่อาจจะต้องตามจี้ ตามเช็คทุกฝีก้าว แต่ในมิติของคุณวิกรมลึกซึ้งกว่านั้นมากเขาเป็นผู้สร้างเกมธุรกิจนี้ขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่สมควรหลังจากถ่ายงานในมือออกสู่ผู้บริหารในระดับต่างๆแล้ว เขาจึงมีหน้าที่คอยเฝ้าดูเกมนี้อย่างคนที่เคยผ่านเกมมาอย่างยาวนาน  เขาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการทำงานในยุคนี้ว่าเขามีเวลาว่างมากขึ้น เขาจึงมองการธุรกิจได้ครบมิติที่ควรจะเป็น   ซึ่งเป็นการพัฒนา HRให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดผลกระทบในระดับสูงที่มีมิติทางเศรษฐศาสตร์  จิตวิทยา  การบริหารจัดการและกลยุทธ์ และท่านได้ยกตัวอย่าง  อย่างเห็นได้ชัดเจนว่า“เหมือนคุณเป็นกัปตันทีมฟุตบอล ผมเป็นโค้ชและเป็นคนดูการมองก็ต่างกันคนที่เป็นกัปตันและนักเตะ มันคิดลำบาก แต่เวลาดูในจอ เราจะเห็นว่าไม่น่าเตะอย่างงั้น ควรทำอย่างงี้ มันก็เกิดอีกมุมมองที่มาเติมให้ครบสามมิติ หรือถ้าเราเป็นกัปตันเรือ ก็ไม่ควรจะไปวิ่งแย้วๆแล้ว ควรนั่งมองเรือของเราทุกด้านดีกว่า แล้วคิดว่าจะต้องแล่นไปทางไหน อย่างไรให้ถึงเร็วและปลอดภัย   จะว่าไปแล้ว มันก็เป็นการปรับหน้าที่ แทนที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ ก็เป็น แอดไวเซอร์ ขณะเดียวกัน พอเราทำน้อยลง ก็มีเวลามากขึ้น ก็มีจินตนาการเรื่องงานมากขึ้น เราก็ยังเป็นถังควมคิด ได้ด้วย ดังนั้นทุกวันนี้เป้าหมายและนโยบายขององค์กรเลยมาจากผมคนเดียว เพราะผมได้มานั่งคิด นั่งฝันอยู่ตรงนี้..”

            สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมาก ถือว่าเป็นสไตล์การบริหารคนของคุณวิกรมคือการ “ซื้อใจ” ลูกน้องแบบใจต่อใจ ที่ผู้บริหารระดับบนของบ้านเราอาจไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือมีคนเคยทำแต่รับรองว่าไม่ได้มากกว่าที่เขาให้ลูกน้องแน่นอน ว่ากันว่าในอดีตเขาเคยถอดสร้อยทองจากคอมอบให้ลูกน้องมาแล้ว

            เพราะเขาถือว่ามูลค่าทางใจมากกว่าเงินที่อยู่ในซอง และในยุคใหม่นี้ ที่”อมตะ” เป็นปึกแผ่นยิ่งใหญ่มั่นคงแล้ว เขามีการใช้วิธีใหม่ที่จุดฝันในการทำงานและครองหัวใจลูกน้องทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม   เพราะเขาเปลี่ยนระบบการให้ที่ทุกองค์กรทำเป็นปรกติอยู่แล้วมาใช้แนวคิดที่เรียกว่า “Success Fee” คือการจูงใจด้วยระบบแบ่งผลประโยชน์ ที่ไม่ใช่โบนัส ที่ให้นำกำไรที่ได้แต่ละปีมาแบ่งให้กับคนในบริษัท และค่าตอบแทนที่นำมาใช้สร้างแรงจูงใจครั้งนี้มีมูลค่าสูงสุดถึงระดับ “การเป็นเจ้าของบริษัทลูกของอมตะ” เลยทีเดียว   หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทที่มีอนาคตที่ดีรออยู่ข้างหน้า ไม่ใช่แค่ดักดานเป็นเพียงลูกจ้างตลอดชีวิต

            เชื่อว่าการตอบแทนลูกน้องแบบที่ คงยากที่ลูกน้องคนไหนจะปฏิเสธความหวังดีที่คุณมอบให้ ซึ่งมีข้อแม้ก็คือ พนักงานที่อมตะที่มีอายุ 50 ปีหรือมีอายุงานกับอมตะมาแล้ว 10 ปี พวกเขาเหล่านั้นจะถูกผลักดันให้ออกไปเป็นซีอีโอ ในบริษัทลูกของอมตะที่เป็นบริษัทใหม่     โดยหลักการคือ ต้องเป็นบริษัทลูกที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่ง ที่จะมาต่อยอดให้ “อมตะ” เป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือธุรกิจของบริษัทแม่ เช่น   ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจสื่อสาร  ธุรกิจสาธารณูปโภค ธุรกิจสุขภาพ ฯลฯ วิกรมตั้งใจแบะตั้งเป้าทั้งหมดไว้ที่ 100 บริษัท โดยปัจจุบันมีอยู่แล้ว 15 บริษัท

            โดยการวางแผนจัดเตรียมให้กับว่าที่ซีอีโอ  แห่งบริษัทลูกของอมตะ เป็นแบบแพ็คเกจสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนที่อมตะจะเป็นผู้ออกให้ก่อน วงเงินกู้ ซึ่งภายใต้ร่มของอมตะ บริษัทใหม่จะได้อนิสงฆ์ทั้งกู้ง่าย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์และดอกเบี้ยต่ำ

            นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายทางธุรกิจติดไม้ติดมือออกไปด้วยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ รวมถึงต้องมีการตกลงในการแบ่งสัดส่วนกำไรกันอย่างชัดเจนระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมาใหม่ การบริหารนั้นก็ให้อยู่ในมือซีอีโอใหม่ บริษัทจะคอยช่วยเหลือเพียงเรื่องเงินลงทุนและให้คำปรึกษาเท่านั้น และหากบริษัทใหม่ดำเนินไปด้วยดีภายใน 3-5 ปี บริษัทมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อหุ้นจาก  บริษัทแม่ๆ ผมถือครองไว้เองก็ยังได้ ในราคาขายที่เป็เงินต้นบวกดอกเบี้ยที่เป็นจริง    เขาเชื่อมั่นว่า ระบบเช่นนี้ย่อมเป็นการจูงใจให้ซีอีโอใหม่ทำงานหนักขึ้น ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รักและหวงแหนบริษัทในภาพรวมมากขึ้น เพราะด้วยความที่เป็นบริษัทของตนเองจริงๆ ได้โดยอัตโนมัติ สำหรับวิกรมแล้ว “เป้าหมายคือเข็มทิศ แรงจูงใจเป็นน้ำมัน และความฮึกเหิมก็เป็นเหมือนไฟคอยผลักดัน” ซึ่งแนวคิดปลุกใจเช่นนี้ให้กำลังใจเขาในการทำงานทุกครั้งและส่งต่อไปในทีมตลอดเวลา   รวมถึงกลยุทธ์สำคัญที่วิกรมใช้เพื่อรักษา ความมั่นคงและความอยู่รอดของบริษัทลูก ก็คือ “การร่วมทุน” กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นการประกันความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง   โดยวิกรมได้คิดระบบ Balance & Checking ขึ้น แล้วสร้างทีมงานที่คัดเลือกมาอย่างดีโดยวิกรม คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน รวมถึงช่วยเหลือให้คำปรึกษากับซีอีโอบริษัทลูกให้ทำงานได้ยอดตามเป้าและลดต้นทุนให้ได้ตามแผน

            เมื่อสื่อมวลชนถามว่าผู้บริหารที่ดี หรือผู้จัดการที่ดีควรจะต้องมีหลักอย่างไร วิกรมตอบแบบสั้นๆแต่ชัดมากนั่นคือ “ทำ(งาน) น้อยลง ได้(กำไร) มากขึ้น”    เขามองว่าผู้บริหารหรือผู้จัดการที่เก่งหรือได้รับการยอมรับว่าเป็นมืออาชีพต้องสร้างระบบขึ้นมา  เพื่อไม่ให้ธุรกิจนั้นไปยึดอยู่กับที่ตัวบุคคล  เป็นศิลปะแห่งการบริหารหรือ  Art   of  Management  ที่มีระบบเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด  ซึ่งไม่ว่าใครจะเข้ามาทำงานก็ต้องยอมรับและอยู่ในระบบนี้ให้ได้

            โดยระบบจะเป็นตัวนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่  แต่องค์กรที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็นองค์กรที่อยู่ตัวมาแล้วระดับหนึ่ง  มีระบบและเครื่องมือตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดี  ทั้งยังต้องมีพนักงงานที่ทั้งเก่งและมีความสามารถอยู่เป็นจำนวนมาก     แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับวิกรมที่อยู่เหนืออื่นใดในการเลือกคนเข้ามากทำงานกับเขาก็คือ  ต้องมีจิตวิญญาณแห่งความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ และการระดมความคิดในการทำงานที่เขาชอบบอกลูกน้องเสมอ ๆว่า “โต๊ะต้องมีหลายขา” การทำงานก็เช่นเดียวกัน  การช่วยกันระดมสมอง  ระดมความคิด  เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย  และไม่มีเรื่องใดที่เป็นไปไม่ได้

            ครั้งหนึ่งเมื่อเขาให้สัมภาษณ์กับ นิตยสารซีเคร็ท(Secret) โดยอุษาวดี  สินธุเสน  ด้วยคำถามที่แหลมคมว่า “หลักในการบริหารงานบริหารคนแบบฉบับของวิกรมเป็นอย่างไร” วิกรมตอบแบบสบาย ๆ ว่า “ผมว่าคนที่จะบริหารงานได้ดี 

1.  จะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์  สามารถตีความและเข้าใจทุกอย่างได้ถูกต้อง 

2.  จะต้องมีความยุติธรรม  ถ้าเรามีความยุติธรรม  ทุกคนก็จะมีความเชื่อมั่นในตัวเราและ

3.  เราต้องคิดเสมอว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้”

            ตื่นนนอนลืมตามาปิ๊ง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร  ให้คิดเสมอว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ เราต้องทำดีไปเรื่อย ๆ ถ้าผู้บริหารไม่หยุดอยู่กับที่  ลูกน้องก็จะไม่อยู่กับที่  และลูกน้องจะมีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าขององค์กรและตัวเองไปด้วยและอีกคำถามว่า “เขามีต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจคือใคร? ที่ทำให้เป็นวิกรม  กรมดิษฐ์ในวันนี้”เขาเฉลยให้ฟังว่า

            “...สิ่งที่ดีของคุณพ่อคือ เป็นต้นแบบของความขยัน  ความรับผิดชอบ เป็นต้นแบบของคนทำงานที่เราควรจะเอาเป็นแบบอย่าง  ฉะนั้นวันนี้ผมประสมผลสำเร็จ  ก็เพราะในตัวผมนี่มียืนของคุณพ่อ  คือมีความอดทน  ความขยัน  ความรับผิดชอบ  มีความฉลาดเฉลียว ซึ่งเป็นสิ่งทีดี”

            ...ผมชอบเอาหลาย ๆ  คนมาผสมกัน  เราเป็นโต๊ะพิเศษก็ต้องมีหลายขา  เราอย่าไปเอาขาเดียวกันไม่มัน  เพราะแต่ละคนเก่งกันคนละอย่าง

            ด้านจิตใจที่มุ่งมั่นต้องเจงกิสข่าน แต่ไม่เหี้ยมเกรียมเหมือนเขานะ  ส่วนการบริหารงานต้อง โรนัลด์  เรแกน  เลือกคนเก่ง ๆ มาทำงานโดยให้นโยบาย  เป้าหมาย  สนับสนุนช่วยเหลือ  เป็นที่ปรึกษาเขา   แล้วคอยตรวจงานเขา  คือเป็นผู้จัดการที่ดี

            อีกคนคือ  เติ้งเสียวผิง  ผมชอบตรงที่เขาไม่แบ่งชั้นวรรณะไม่เลือกว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวขาว  ใครก็ได้ที่เป็นคนเก่ง  ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก  ผมก็ไม่ต้องการให้บริษัทของผมเป็นธุรกิจในครอบครัว จึงกำหนดไว้ว่าจะไม่เอาคนในครอบบครัวทำงานในบริษัทเกิน 2  คน  และต่อไปถ้าคนในครอบครัวผมไม่เก่ง  ก็ให้เอาคนอื่นมาเป็นผู้นำ  นี่เป็นไอเดียที่ได้จากเติ้งเสี่ยวผิง

            อีกคนที่ผมชอบคือ มหาตมะคานธี  ท่านชอบปั่นด้าย  ใส่โจงกระเบน  อยู่อย่างสมถะ  สันโดษ  ผมเป็นคนมีความทะเยอทะยานสูงก็ต้องใจเย็นลง  อยู่อย่างสันโดษบ้าง  ดูอย่างแมงมุมมันยังสร้างรังด้วยตัวมันเอง  ไม่ต้องให้ใครมายุ่ง

            ส่วน  จอร์จ  วอชิงตัน  ผมก็มีความคิดเหมือนเขาในการกลับไปสู่ความเป็นความเป็นตัวของตัวเอง  จอร์จ  วอชิงตัน  เคยเป็นผู้นำกองทัพ  เขาสามารถเป็นกษัตริย์ได้  แต่กลับไปเป็นชาวไร่    ตอนหลังเขาได้รับเชิญให้ไปเป็นประธานาธิบดี   พอทำหน้าที่เสร็จก็กลับไปเป็นชาวไร่เหมือนเดิม  ผมก็เป็นชาววไร่  ทุกวันนี้ผมอยู่ไร่  กลับไปสู่ความเป็นตัวตนที่แท้จริง

            และอีกคำถามหนึ่งน่าจะถูกใจท่านผู้อ่านทุกคน  ถึงข้อแนะนำว่าต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จอย่างวิกรมบ้าง  เข้าตอบว่า”...สำหรับข้อแนะนำที่จะให้ได้ก็คือ

  1.   ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองชอบอะไร  และต้องรู้ความต้องการของตลาดด้วยยกตัวอย่าง บิลล์  เกตส์  ที่เขาประสบความสำเร็จเพราะ เขาทำในสิ่งทีตัวเองชอบและรู้ความต้อการของตลาด”

            ดังนั้นพอเขาทำคอมพิวเตอร์แล้วเขาถึงไปทำซอฟแวร์  ซึ่งตลาดต้องการมาก  เพราะอย่างนี้จึงทำให้อายุสามสิบกว่าเขาก็รวยแล้ว

 2.   จะต้องมีความรับผิดชอบสูง  ทำงานหนัก  ไม่หนีงานและชอบที่จะทำงานหนัก  นี่หมายความว่าเวลาเจองานหนัก ๆ แล้วไม่หนีงาน  พวกที่ทำงานอย่างบ้าเลือดที่เรียกว่า”เวิร์คอะฮอลิก(Workaholic)” ผมคิดว่าคนพวกนี้ไม่รู้จักตัวเองเราต้องทำงานเป็น รับผิดชอบเป็น  รู้จักเลือกงานเป็นแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ  คนที่เป็นผู้จัดการที่ดีคือคนทีทำงานน้อย แต่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด  และต้องรู้จักดูแลตัวเอง  ร่างกายคนมีนาฬิการ่างกายที่เรียกว่า “Body  Clock” เมื่อไรที่เราเพลียเราก็พัก  เราหิวเราก็ทาน  อย่าไปดันทุรัง  คนที่รวย ๆ แล้วตาย ก็เพราะทำงานหนักเกินไปและไม่ดูแลตัวเอง

                 สุดท้ายคือ  มีความเป็นสุภาพบุรุษ  อะไรที่ไม่ดี  ไม่ถูก  ไม่ควรอย่าไปเอาเปรียบคนอื่น  เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเราเองและมีความจริงใจต่อสังคม  เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มาต้องได้มาด้วยความภาคภูมิใจ  ถ้ารวยบนคราบน้ำตาหรือบนซากศพ  พวกนั้นถือว่าไม่เป็นสุภาพบุรุษ...

                 และนี่คือการมองคน  มองงาน  มองโลกแบบวิกรม  กรมดิษฐ์  ที่บอกได้คำเดียวว่า น่าสนใจและน่าลองนำไปใช้กับชีวิตในทุกมิติเป็นอย่างยิ่ง  ซึ่งสอดคล้องกับเรื่อง  HRD ของดร.วรภัทร์  ภู่เจริญ ที่มีลักษณะพิเศษที่สอดคล้องกับทุนแห่งความสุข กล่าวคือ

1.  ปัญญา 3 ฐาน ได้แก่  ฐานกาย  เป็นเรื่องของการฝึกสติ  ความฉลาดในการดูแลร่างกายตนเองได้ และทักษะต่าง ๆ  ฐานใจ เป็นเรื่องของจิตอาสา  จิตสงบ  จิตว่าง  ฉลาดทางอารมณ์และฐานคิด  เป็นการคิดอย่างมีสติ  คิดตอนจิตว่าง  คิดโดยไม่อคติและไม่ลำเอียง คิดและทำในสิ่งที่เป็นกุศล  เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวมด้วยพร้อม ๆ กัน

2.  HRD จะใช้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย “3  ห่วง 2 เงื่อนไข” คือพอประมาณ  มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข  ความรู้และคุณธรรม  ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในองค์กร  ชุมชน ครอบครัวและตนเอง ได้อย่างยั่งยืน ความสุข
            จะเห็นได้ว่าการจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างวิกรม กรมดิษฐ์ ในส่วนตัวนั้นต้องมี ทุนแห่งความสุข(Happiness  Capital)จากทุน 8  ประการของท่าน ศ.ดร.จีระ ซึ่งท่านถือได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีศักยภาพสูง 
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีวิสัยทัศน์  มองไกล  มองลึกและกว้าง  คนที่มีวิสัยทัศน์ย่อมมีความสามารถคิดริเริ่มในสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ทันเหตุการณ์ และสู่ความสุขในทฤษฎี 3 วงกลมของท่าน ศ.ดร.จีระ   ที่วิกรม กรมดิษฐ์ได้นำหลักตามทฤษฎีมาใช้ ซึ่งเป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยน แปลงหรือ Change  Management และการดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันสูงในระบบทุนนิยมสุดขั้วในปัจจุบันที่ยากจะปฏิเสธได้อย่างมีความสุข ดังนี้
            วงกลมที่   1   contex   วิกรม กรมดิษฐ์  เขาเป็นผู้สร้างเกมธุรกิจนี้ขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่สมควรหลังจากถ่ายงานในมือออกสู่ผู้บริหารในระดับต่างๆแล้ว เขาจึงมีหน้าที่คอยเฝ้าดูเกมนี้อย่างคนที่เคยผ่านเกมมาอย่างยาวนาน  รู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองชอบอะไร  และต้องรู้ความต้องการของตลาดด้วยยกตัวอย่าง บิลล์  เกตส์  ที่เขาประสบความสำเร็จเพราะ เขาทำในสิ่งทีตัวเองชอบและรู้ความต้อการของตลาด”

            วงกลมที่   2   Competencies  เป็นทฤษฎีเพิ่มศักยภาพ มีความรับผิดชอบสูง  ทำงานหนัก  ไม่หนีงานและชอบที่จะทำงานหนัก  รู้จักเลือกงานเป็นแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ  เป็นผู้จัดการที่ดีคือทำงานน้อย แต่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด  และรู้จักดูแลตัวเอง  การเลือกคนเข้ามากทำงานกับเขาก็คือ  ต้องมีจิตวิญญาณแห่งความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ และการระดมความคิดในการทำงาน

            วงกลมที่   3   Motivation  วิกรม  มีเครือข่ายทางธุรกิจติดไม้ติดมือออกไปด้วยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ รวมถึงต้องมีการตกลงในการแบ่งสัดส่วนกำไรกันอย่างชัดเจนระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมาใหม่ การบริหารนั้นก็ให้อยู่ในมือซีอีโอใหม่ บริษัทจะคอยช่วยเหลือเพียงเรื่องเงินลงทุนและให้คำปรึกษาเท่านั้น และหากบริษัทใหม่ดำเนินไปด้วยดีภายใน 3-5 ปี บริษัทมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อหุ้นจาก  บริษัทแม่ๆ ผมถือครองไว้เองก็ยังได้ ในราคาขายที่เป็นเงินต้นบวกดอกเบี้ยที่เป็นจริง    เขาเชื่อมั่นว่า ระบบเช่นนี้ย่อมเป็นการจูงใจให้ซีอีโอใหม่ทำงานหนักขึ้น ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รักและหวงแหนบริษัทในภาพรวมมากขึ้น เพราะด้วยความที่เป็นบริษัทของตนเองจริงๆ ได้โดยอัตโนมัติ

           จากกรณีศึกษา เกี่ยวกับทุนแห่งความสุข (  Happiness Capital) จะต้องมีการเสียโอกาสวันนี้เพื่อจะได้มาในวันหน้า เช่น  กลยุทธ์สำคัญที่วิกรมใช้เพื่อรักษาความมั่นคงและความอยู่รอดของบริษัทลูก ก็คือ “การร่วมทุน” กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นการประกันความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง   โดยวิกรมได้คิดระบบ Balance & Checking ขึ้น แล้วสร้างทีมงานที่คัดเลือกมาอย่างดี  โดยวิกรม คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน รวมถึงช่วยเหลือให้คำปรึกษากับซีอีโอบริษัทลูกให้ทำงานได้ยอดตามเป้าและลดต้นทุนให้ได้
ตามแผน  ดังนั้น คำว่าทุนจึงเป็นหลักการที่จะทำอย่างไรที่เราจะได้รับประโยชน์จากมัน  สถานการณ์โลก และบ้านเมืองที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน จึงทำให้คนหันมาสนใจธรรมะมากขึ้นเพื่อว่าจะทำให้ภาวะจิตใจที่เร่าร้อนไปตามสถานการณ์ อ่อนลงหรือ เย็นลง มีเหตุผล  ถ้อยทีถ้อยอาศัย  เช่น สถานการณ์น้ำท่วมถ้าใช้ระบบของ Covey หรือระบบของ Synthesis ก็อาจจะหาทางออกที่ดีได้  โดยเฉพาะใส่แว่นตาให้คนไทยที่อยู่ในโลกของความไม่งมงาย เชื่ออะไรง่ายๆ  มองสิ่งที่เป็นความจริงมากขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 468170เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2011 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท