น้ำท่วมรถ... รถน้ำท่วม


ทำอย่างไรกับรถโดนน้ำท่วม.. ???

น้ำท่วมรถ... รถน้ำท่วม

          .... ปีนี้ฝนตกทั้งปีไม่สร่าง  กบเขียดร้องครางเคล้าเสียงอึ่งอ่างระงม..

...... อึ่งอ่างระงมด้วยความอิ่มเอมใจ  ที่ฝนมาฟ้าใหม่สดใสกว่าแล้งที่เพิ่งผ่านไป    

...... แต่ปี 2554 เสียงระงมไม่ใช่เสียงอึ่งอ่างเสียแล้ว  แต่เป็นเสียงชาวไทยที่ระงมด้วยทนทุกข์กับน้ำหลาก  กระชากทรัพย์สินและวิญญาณ มาตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน จนลุล่วงเข้ากลางเดือนพฤศจิกายนเป็นอย่างน้อย  

...... สร้างความเสียหายยับเยินเกินกว่าคาดหมายตั้งแต่เชียงใหม่  นครสวรรค์  ลพบุรี อโยธยา จนเข้าสู่กรุงเทพและปริมณฑล

...... ทำไม  ทำไม  ทำไม ???  คำถามมากมายที่พรั่งพรูออกมา  คำตอบก็มีมากมายหลายสาหตุ  ตั้งแต่ฝนฟ้าจากธรรมชาติ... วิสัยทัศน์ของมนุษย์ ... พฤติกรรมมนุษย์.. ...  สาระพัดสาระเพที่นำมากล่าวกัน..

... เอาล่ะด้วยอะไรก็ตาม.. ผลที่ออกมาคือโดนน้ำท่วมเป็นวงกว้าง ความเสียหายมากมายตั้งแต่ที่อยู่อาศัย  ที่ทำกิน  ที่ค้าขาย  ที่สังคกรรมทางสังคม  และอื่นๆ อีกทั้งมีหลายระดับมากบ้างน้อยบ้าง  บ้างป็นแค่น้ำหลาก  บ้างเป็นที่น้ำท่วม  บ้างเป็นที่น้ำแช่ขัง  ความเสียหายก็แตกต่างกันออกไป  แต่หนึ่งในนั้นที่เสียหายเกิดขึ้นคือปัจจัยที่ 5 ของคนยุคใหม่...  "รถยนต์"  .. เป็นอะไรที่ราคาแพง  เป็นอะไรที่เราเข้าใจยาก  เป็นอะไรที่ยอมลงทุนให้มีมันมาคู่กายคู่ชีวิต..  วิถีคนยุคใหม่

... ความเสียหายเกิดขึ้นแน่นอนกับรถที่จมน้ำไม่ว่าระดับน้ำหลาก น้ำท่วม หรือ น้ำแช่ขัง   แล้วหลังจากน้ำลดจะทำการฟื้นฟูกลับไปได้อย่างไร ??

... การแก้ไขไม่ถูกต้องจะบานปลาย  เสียหายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามมา..  นำไปใช้ก็ไม่มั่นใจ  จะขายไปก็ไม่ได้ (ไม่มีเงินซื้อคันใหม่ ..  มือสองก็คงเจอรถจมน้ำมาขายอีกแน่นอน..) ดังนั้นคงต้องฟื้นกลับมาให้มีสภาพเท่ากับหรือดีกว่าก่อนน้ำท่วมด้วยซ้ำ  เพราะของใกล้หมดอายุ คราวนี้ต้องเปลี่ยนแล้วเลยดีกว่าก่อนท่วม.. จริงไหม ?

... เอาละครับผมขอเสนอกระบวนการแก้ไขเท่าที่ตนเองเคยประสบกับรถตัวเองที่เป็นรถดำน้ำอยู่ 3 วันเต็มๆๆ เมื่อปี 2549  เป็นรถดำน้ำจริงๆ เพราะหลังคาก็ไม่เห็น.. จึงได้ฟื้นฟูรถตัวเอง คุยกับเพื่อนๆ หาข้อมูลเพื่อกู้รถที่ไม่มีประกันภัยชั้น 1  ถึงมีประกันก็เถอะ  ประกันก็ทำให้รถวิ่งได้เท่านั้น  ทำได้ไม่ดีเท่าเราจัดการเอง

... การฟื้นฟูแพงมากน้อยแค่ไหน  ขึ้นกับป้องกันก่อนน้ำมาถึงอยู่ในระดับใด  เช่น ยกรถในสูงพ้นน้ำแค่ไหน  ถอดแบตเตอรี่ออก  ถอด ECU ออก ถอดอุปกรณ์เครื่องเสียงออก  ถอดโคนไฟหน้า-หลังออก... และอื่นๆ ที่ถอดได้  อย่างโคมไฟนี่พอน้ำเข้าล้างเท่าไร  เป่าให้แห้งอย่างไรก็ไม่ใสแจ่มนะครับ...  ส่วนใครซื้อถุงท๊อฟฟี่มาห่อไว้และรถไม่ลอยหายไปไหนก็ สบม. แกะกระดาษห่อท๊อฟฟี่มาอมซะ.. หวาน..

  

ข้อปฏิบัติหลังน้ำลดควรสั่งให้ช่างทำ

     ย้ำ... ส่งเข้าศูนย์หรือช่างชำนาญงานที่อู่คุ้นเคยและมั่นใจว่าไม่ฟันเราเท่านั้นพร้อมอุปกรณ์ทุกชิ้นที่ถอดออกมาด้วย  ข้อระวังอย่างยิ่ง  อย่าจนแต้มให้ช่างที่ไม่คุ้นเคยรถรุ่นของเราทำโดดเด็ดขาด  รถจะช้ำและเสียหายมากขึ้น  เพราะรถต้องถอดน๊อตทุกตัว  กิ๊บทุกชิ้น  เพื่อเอาออกมาทำความสะอาด  ช่างไม่คุ้นรถจะงัดแงะทำให้กิ๊บล๊อคต่างๆ เสียหาย  เมื่อใส่คืนกลับไปไม่เข้าที่  ทำให้เงิง  มีเสียงขณะกระเทือน  และบางชิ้นเมื่อเสียต้องซื้อมากับชุดใหญ่  เสียเงินมากทีเดียว  เช่น ตัวที่เป็นซี่ๆ เล็กๆ ที่เราใช้ผลักปรับทิศทางลมแอร์  บางรุ่นไม่มีชิ้นส่วนซ่อม  ต้องยกมาพร้อม Dashboard ทั้งหมด.. ลมใส่..

..... หลักการเบื้องต้น.. เปลี่ยนของเหลวทุกชนิดใหม่หมด .. น้ำมันเชื้อเพลิง  น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเกียร์เฟืองท้าย  น้ำมันเพาเวอร์พวงมาลัย รวมทั้งสารหล่อลื่นทั้งหมด เช่น จารบีลูกปืนล้อ

เอาละครับมาดูว่าเราจะสื่อสารกับช่างที่จัดการกับรถเราอย่างไร ลงลึกแค่ไหนอยู่กับแช่น้ำนานแค่ไหน  ช่างจะประเมินได้

1. ระบบเชื้อเพลิง ..  ถ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ล้างถังใหม่ เปลี่ยนกรองเบนซิน ถ้าน้ำเข้าเต็มถัง ควรล้างปั๊มเชื้อเพลิงและหัวฉีด  รุ่นเก่าก็เป็นคาบูเรเตอร์

2. เครื่องยนต์ .. เปลี่ยนกรองอากาศใหม่  ถ่ายน้ำมันเครื่องใหม่พร้อมใส่น้ำยาล้างเครื่อง  ถ่ายทิ้งให้เกลี้ยง  เปลี่ยนกรองน้ำมันเครื่องใหม่  ไล่น้ำที่ค้างบนหัวลูกสูบออกให้หมด  (ตรงนี้ก่อนติดเครื่องยนต์ ควรหยอดน้ำมันเครื่องลงบนหัวลูกสูบ 15-20 ซีซี)   

3. เกียร์  เฟืองท้าย และกระปุกพวงมาลัย  ถ่ายออกให้หมด แล้วเติมน้ำมันตามกำหนดเข้าไปใหม่  แต่ถ้าแช่อยู่นานควรล้างด้วยน้ำมันก๊าดให้เอี่ยม ทิ้งให้แห้งสนิท  แล้วค่อยเติมน้ำมันตามบริษัทกำหนดเข้าไปใหม่  

4. เบรก เปลี่ยนน้ำมันเบรคใหม่  ถอดอุปกรณ์ออกทุกชิ้น  ล้างกระบอกลูกสูบ  ยางหุ้มกันฝุ่น เอาผ้าเบรคตากแดดให้แห้งสนิท  ถอดท่อน้ำมันเบรคแล้วเป่าลมเข้าไปให้แห้งสนิท เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยก็ประกอบคืน  อย่าลืมทาจาระบีบางๆ ที่กระบอกสูบให้ด้วย  อ้อ ... อย่าลืมจัดการะบบเบรคมือด้วย ล้างทำความสะอาดและหยอดน้ำมันหรือดึงสายสลิงออกมาทาจาระบีเสียด้วย

    ตรงนี้อยู่ที่ล้ออยู่แล้วก็ถอดลูกปืนล้อออกมาเปลี่ยนจาระบีเสียใหม่  ไม่งั้นวิ่งไปไม่นานจะส่งเสียงหอนตามมาหลอกหลอนเราจนปวดหัวได้

5. อุปกรณ์ไฟฟ้า .. แบตเตอรี่ คว่ำเอาน้ำกลั่นทิ้งไป  เปลี่ยนใหม่ 1-2 รอบ แล้วจึงใสน้ำยาลงไปให้ได้ระดับตามกำหนด  ... ไดชาร์ต  ไดสตาร์ท และ อื่นๆ เอาไดร์เป่าผมมาเป่าให้แห้ง  ส่วนที่แกะเป็นชิ้นส่วนได้ (ไดชาร์ต ไดสตาร์ท) แกะออกมาทำความสะอาดให้หมด  แล้วทาจาระบีใหม่หมด  และถือโอกาสเปลี่ยนทุ่นถ่านเสียเลยก็เป็นการดี  ส่วนปลั๊กต่างๆ ก็ถอดมาทำความสะอาดขั้วและไล่ความชื้นออกให้หมด  ใช้น้ำยา W-40  ก็ไล่ความชื้นและหล่อลื่นได้ดี

6. ตัวถัง  .. รื้อเบาะที่นั่ง  พรมทุกชิ้น รวมทั้งพรมปูรถ และแผงประตูข้าง  มาทำความสะอาด  ตากแดดให้แห้ง  ตัวรถเปิดประตู ทั้งสี่บาน ฝากระโปรง ทิ้งให้แดดส่องถึง  ถ้าแดดไม่เข้าลองหากระจกเงามาวางทำมุมให้สะท้อนแสงยิงเข้าไปในตัวรถได้ยิ่งดี   

      ที่ปวดหัวที่สุดอยู่ที่แผงหน้าปัด ต้องค่อยๆ แกะ ค่อยๆ ทำ เพราะอุปกรณ์ละเอียดอ่อนมาก

      บานพับทุกชิ้นล้างแล้วป้ายจาระบีเข้าไป  รวมทั้งที่เสียดสีต่างๆ ด้วย

      ตรงนี้สิ่งที่รถน้ำท่วมเจอะเจอแน่นอนกับตัวถัง คือ เมื่อใช้ไปอีกไม่นาน 5-6 ปี กาวที่ใช้ติดอุปกรณ์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดการอ้า / การเงิง ของชิ้นส่วนให้เห็น  เช่น ผ้า หรือ หนัง หุ้มแผงประตู เป็นต้น

7. ระบบเลื่อนบานกระจก  ถ้าเป็นระบบธรรมดาก็ถอดมาล้างให้สะอาดแล้วทาจาระบีแล้วประกอบกลับไป  ส่วนที่ใช้ไฟฟ้า  ต้องทำความสะอาดสวิทช์ปิดเปิดทุกตัว  และทำความสะอาดมอเตอร์ไฟฟ้า  ทาจาระบีใหม่ให้คล่องเหมือนเดิม  ข้อระวังอย่างยิ่งคือทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ติดคราบน้ำมันหรือจาระบีไว้บางๆ  ไม่เช่นนั้นไม่เกิน 2 ปี สนิมจะตามถามหาและขอมาอยู่ร่วมด้วย

8. ระบบแอร์  อันว่าระบบแอร์รถยนต์นั้นน้ำไม่เข้าไปในระบบ  เราไม่ต้องยุ่งกับระบบตรงนั้น แต่สิ่งที่ต้องทำ คือ ล้างครีบระบายความร้อน-ความเย็น ทั้งตัวในห้องโดยสารที่เรียกว่าตู้แอร์ กับตัวนอกที่อยู่กับหม้อน้ำ  รวมทั้งล้างครีบระบายของหม้อน้ำเสียด้วยทีเดียว  มิฉะนั้นแอร์จะเย็นน้อยลงมากๆๆ  และ รถบางคันที่มีกรองอากาศแอร์ (อยู่กับตู้แอร์ในตัวรถ.. รถรุ่นใหม่ๆ จะมี  รุ่นเก่าหน่อยไม่ค่อยมี) ก็ต้องเปลี่ยนใหม่เลยนะครับ 

 

    ..... ขอให้ไม่เสียหายมากนะครับ

    ..... และ ให้พบช่างที่ประณีต  ใจเย็น ตรงไปตรงมา 

    ..... โชคดีครับ .....

หมายเลขบันทึก: 467740เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

สวัสดีค่ะ 

Ico64

 แวมาอ่านมาชื่นชมแนวคิดที่ดีเพื่อดูแลช่วยเหลือตนเองในป้องกันก่อนน้ำจะท่วมรถ...อ่านจบ ทำให้ใจเย็นมาก ๆค่ะ...ขอบคุณค่ะ

  • ดิฉันเองก็เหมือนสุภาพสตรีส่วนใหญ่ที่ขับรถเป็น แต่ดูแลรถไม่เป็นค่ะ
  • แต่ก็เข้ามาอ่านหาความรู้ตามคติที่ตนเองยึดเสมอว่า "รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม" จนคนใกล้ชิดบ่นว่า ทำไมอายุขนาดนี้แล้วยังไม่พักไม่ผ่อน ทำอะไรนักหนา  
  • และก็เห็นว่า บันทึกนี้เป็นน้ำใจจากผู้มีประสบการณ์ (เคยมีรถดำน้ำ) ที่นำมาแบ่งบันให้กับกัลยาณมิตรผู้ที่อาจมีแค่รถจมน้ำ หรือมีรถดำน้ำ อย่างเดียวกัน
  • ขอชื่นชมในการมี "อัตถจริยา" หนึ่งใน "ความดีงามบนความหายนะ" ตามที่ดิฉันได้เขียนไว้ในบันทึกเรื่อง "น้ำท่วม...ความดีงามบนความหายนะ" ค่ะ  
  • ดูจากปีที่ท่านเริ่มรับราชการที่ วิทยาลัยครู (มหาวิทยาลัยราชภัฏ) ถ้าท่านจบปริญญาตรีแล้วบรรจุที่วิทยาลัยครูทันที ก็แสดงว่าท่านจบปริญญาตรีก่อนดิฉัน 1 ปี ตอนนี้ยังรับรชการอยู่ไหมคะ

สวัสดีค่ะ...ท่าน ผศ.เชาว์

ขอบคุณแทนคนไทยทุกคนที่มีรถดำน้ำแบบอาจารย์ในปีนี้มากมาย

เป็นข้อมูลที่หลายๆคนที่ไม่เคยประสบเหตุเช่นนี้ควรอ่านอย่างยิ่ง

ขอแชร์ความรู้นี้สู่เพื่อนพ้องและกัลยาณมิตรจะได้เบาใจ

อย่างไรก็มีหนทางแก้ไข รถดำน้ำของพวกเขาแน่ๆ ขอบคุณค่ะ

.... ขอบคุณ ท่านพยาบาล namsha ดร.พจนา แย้มนัยนา ผศ.วิไล แพงศรี และ คุณครูเล็ก ที่เสียสละเวลาเข้ามาอ่านและให้ความเห็นครับ เห็นใจคนที่เพิ่งประสบเหตุการณ์และอยู่ในภาวะตกใจ คิดอะไรไม่ทัน จะได้ไม่วิตกมากเกินไป และ รถที่ได้รับการแก้ไขที่ดีก็สามารถใช้งานได้ดีตามปกติครับ รถผมจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ร่วม 5 ปี ไม่มีปัญหาใดใดให้กวนใจ (รถ Peugeot 406 รุ่น D9) ทั้งๆ ที่เป็นรถยุโรป ใครๆ ก็ว่างอแงเก่ง ดังนั้นยิ่งเป็นรถญี่ปุ่น ก็ไม่น่าเป็นประเด็นให้น่าตกใจเกินเหตุ แต่ขอย้ำครับว่า ต้องเป็นช่างที่เชี่ยวชาญรถรุ่นของเราครับ... รถไม่ช้ำ และ ใช้งานได้ดีดังเดิม

.... เรียน ผศ.วิไล แพงศรี ครับจบแล้วทำงานเลยครับ ตอนนี้เกษียณแล้ว แต่พวกเด็กๆ มาลากไปใช้งานอยู่ 2 ปีมาแล้ว ยังไม่ได้พักเลย ต้องเข้าไปช่วยสอนอยู่ ให้หาคนมาแทนก็ยังอิดออดอยู่ เคยบอกเขาว่าอาจารย์ไม่ได้เป็นเหมือน "ไก่เฒ่า" ในนิทานสอนใจของชาวญี่ปุ่นที่เฝ้าบอกไก่รุ่นหลังว่า "พระอาทิตย์ขึ้นเพราะฉันขันนะ ถ้าฉันไม่ขันแล้วพระอาทิตย์จะขึ้นได้อย่างไร ??"

.... ท่านครูเล็กครับ ยินดีและขอบคุณถ้าได้นำไปกระจายให้คนอื่นๆ ได้รู้ด้วยครับ ...

... ขอให้ทุกท่านสุขภาพกายสุขภาพจิตแข็งแรงตลอดไปครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • ได้ประโยชน์ และความรู้มากเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

...ยายว่า..อัดขายเป็น..ขยะรีไซเคิล..น่าจะประหยัดกว่า..ระยะยาว..แล้ว..ผลิตใหม่ให้เป็นรถและเรือไปในตัว..แล้วก็ห้ามใช้พลังเดิม..เปลี่ยนใช้เป็นพลังขาพลังมือแทน...อิอิ

  • มาคารวะอาจารย์
  • ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
  • ไม่ได้เจออาจารย์นานมากๆๆ

*** ขอบคุณที่มาทักทาย ***

*** ยินดีที่ทำงานตรงที่ตนเองปรารถนา ***

*** คารวะการมีน้ำใจมากล้น จนเหลือเผื่อแผ่เพื่อนมนุษย์ด้วยความจริงใจ (เห็นจิตอาสามากมาย) ***

*** ขอให้กำลังใจ สู้ต่อไป..กรรมมีจริง .. ทำดีได้ดีมีแน่นอน ... ***

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท