ครูกับนักเรียน-บรรยากาศในสังคมเรียนรู้ในห้องเรียน


การชมเชยหรือรางวัลแม้จะนำมาซึ่งความรู้สึกในแง่บวก แต่ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญและไม่เป็นสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้น "จิตใจใฝ่รู้" ให้เกิดขึ้นในเด็ก

การที่นักเรียนรู้ว่ามีผู้อื่นสนใจดูอยู่ เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะกระตุ้นการเรียนรู้ได้  ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบริบทที่เหมาะสม การให้ความสนใจต่อนักเรียนเป็นสิ่งที่สะท้อนบอกให้นักเรียนรู้ว่าพฤติกรรมของตนเองเป็นอย่างไร  แต่สิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งก็คือกิจกรรมของครู  ไม่ว่าจะเป็น การให้คะแนน  การให้รางวัล  การชมเชย  หรือการตำหนิ   สิ่งเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นหลังกระบวนการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง  คล้ายเป็นการตัดสิน  ว่าที่ผ่านมาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างไร  ถ้าเป็นการให้คะแนนและการชมเชยก็แสดงว่าครูพอใจ  ขณะที่การตัดคะแนนและการกล่าวตำหนิก็เป็นการแสดงความไม่พอใจ  ซึ่งน่าจะลองพิจารณาทบทวนดูว่าในกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนใฝ่หาคะแนนหรือคำชมหรือเปล่า  และในทางกลับกันเขาหวาดกลัวการตัดคะแนนและคำตำหนิหรือเปล่า   คำตอบอาจแตกต่างกันไป  ในเด็กแต่ละคน  และบางทีก็จะได้ยินคำตอบประเภทว่า  "ชินเสียแล้ว"  อยู่บ้าง

คำสำคัญ (Tags): #kmpprep
หมายเลขบันทึก: 467579เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2011 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท