เรียนรู้ ดูเป็น...ในช่วงมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ ตอนที่ ๒


“เหตุเกิดจากภัยพิบัติ สามารถยอมรับได้ แต่เหตุเกิดจากการบริหารจัดการภัยพิบัติไม่ได้ เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้”

ตอนที่ ๑

          ในขณะที่เราไม่สามารถพึ่งพาการจัดการปัญหาของภาครัฐและส่วนท้องถิ่นได้มากนัก เพราะข้อมูล (ที่เป็นจริง) มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา การบริหารจัดการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเฉพาะหน้า การสื่อสารต่างๆ ล้วนแต่ทำให้ผู้เขียนค่อนข้างผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง

          เราจึงได้เห็นภาพความทะลักทุเลของการช่วยเหลือ 

          เราจึงได้เห็นความไม่พร้อม และชุลมุนวุ่นวายที่ศูนย์อพยพ ที่รัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ จัดหาเตรียมไว้ ที่ต้องอยู่อาศัยอย่างแออัดยัดเยียด ผู้ประสบภัยต้องย้ายแล้วย้ายอีก

          ผู้เขียนจึงเข้าใจว่า ทำไมผู้ประสบภัยหากไม่เดือดร้อนจนอยู่อาศัยที่บ้านตัวเองไม่ได้จริงๆ จึงไม่มีใครอยากไปอยู่ที่ศูนย์อพยพต่างๆ เหล่านั้น ซึ่งจริงๆ แล้วทางเลือกของการเป็นผู้ประสบอุทกภัย ไม่ได้มีทางเลือกเดียว คือ การอพยพตามคำประกาศของหน่วยงานรัฐเท่านั้น

          เราจึงได้เห็นภาพที่ชาวบ้านในชุมชนบางแห่งทะเลาะกันเอง หรือแม้กระทั่งประท้วงภาครัฐ เพราะชาวบ้านได้เรียนรู้แล้วว่า การจัดการปัญหาของภาครัฐและท้องถิ่นไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในครั้งนี้ได้ พวกเขาจึงต้องรวมตัวแสดงพลังแสดงความคิดเห็นต่อรัฐและส่วนท้องถิ่นเช่นนี้

          และอีกหลายภาพการบริหารจัดการแบบไม่เป็นมืออาชีพและขัดแย้งกันตลอดเวลาของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาวิกฤติมหาอุทกภัยในครั้งนี้

          (ติดตามตอนต่อไป)

หญิง สคส.

๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔

คำสำคัญ (Tags): #น้ำท่วม
หมายเลขบันทึก: 467394เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2011 11:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2014 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใช่เลยค่ะ ที่น้องเขียนมาภาพจริงหมดเลย อยากเห็นคนไทยพึ่งตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ครั้งนี้อยากให้เกิดบทเรียนนี้ขึ้นในชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท