โรคติดต่อที่่มากับน้ำท่วม


น้ำท่วม โรคติดต่อ WHO

โรคติดต่อที่มากับน้ำท่วม

เรียบเรียงจาก WHO fact sheet โดยนายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล

การประเมินความเสี่ยงและการป้องกัน

การประเมินความเสี่ยง

น้ำท่วมจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดต่อดังนี้:

  • โรคที่มากับน้ำ เช่นโรคไข้ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค โรคฉี่หนู และโรคตับอักเสบชนิดเอ
  • โรคที่มีพาหะพามา เช่นมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้เหลือง และไข้ไวรัสชนิด West Nile

โรคติดต่อทางน้ำ

น้ำท่วมจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อซึ่งค่อนข้างต่ำเนื่องจากประชาการไม่ค่อยย้ายออกจากเขต จากน้ำท่วมใหญ่ 14 ครั้งตั้งแต่ปี 1970-1994 พบว่ามีเพียงครั้งเดียวที่ประเทศซูดานในปี 1980 ที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงระบาดครั้งใหญ่ ทั้งนี้เกิดจากการเคลื่อนย้ายประชากรที่อยู่ในเขตน้ำท่วม น้ำท่วมในประเทศโมซัมบีคในเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2000 ทำให้มีการเพิ่มอุบัติการณ์ของโรคท้องร่วงและในปี 1998 น้ำท่วมในรัฐเบงกอลตะวันตกทำให้มีการระบาดของอหิวาต์ครั้งใหญ่  (โดยเชื้อชนิด 01,El Tor, Ogawa).

ความเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดในภาวะน้ำท่วมเกิดจากการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งสามารถป้องกันได้ เช่นในรัฐไอโอวา และมิซูรี่ ในปี 1993 ความเสี่ยงในการระบาดนั้นถูกควบคุมถ้าสามารถระบุสถานที่และให้ดื่มน้ำสะอาดได้ทันท่วงที ในประเทศทาคิสถานเมื่อปี 1992 น้ำท่วมที่กำจัดน้ำเสียและมีการปนเปื้อนลงในแม่น้ำ แต่ไม่มีอุบัติการณ์ของโรคท้องเสีย ใต้ฝุ่นในตำบลทรัค ในเขตปกครองตนเองทรัสในแปซิฟิก ทำให้ต้องกินน้ำใต้ดินซึ่งปนเปื้อนอุจจาระหมูแทนน้ำปกติ ทำให้เกิดการระบาดของ balantidiasis ซึ่งเป็นโปรโตซัวของลำไส้ พายุไซโคลนซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมในประเทศมาริติเตียสในปี 1980 ทำให้เกิดการระบาดของไข้ไทฟอยด์

มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากโรคที่มีทางน้ำโดยการสัมผัสกับน้ำที่สกปรก เช่น การติดเชื้อบาดแผล ผิวหนังอักเสบ ตาแดง และโรคติดเชื้อทางหู คอ จมูก  อย่างไรก็ตามโรคเหล่านี้ไม่น่าจะกลายเป็นโรคระบาด

โรคที่สัมผัสโดยตรงจากน้ำแล้วกลายเป็นโรคระบาดได้คือโรคฉี่หนู (leptospirosis) โดยเกิดจากการสัมผัสกับผิวหนัง เยื่อบุต่างๆของตา จมูก คอ กับน้ำหรือดินที่มีปัสสาวะของสัตว์พวก rodent มีการระบาดใหญ่ที่ประเทศบราซิล (1983, 1988 และ 1996) ประเทศนิคารากัว (1995) ในเขตคราสโนดาของประเทศรัสเซีย (1997) เมืองซานตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา (1998)  เมืองโอริสสา ประเทศอินเดีย (1999) และประเทศไทย (2000) เป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมทำให้มี rodent เพิ่มขึ้น และเป็นตัวที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

โรคจากพาหะนำโรค

น้ำท่วมยังทำให้มีการเพิ่มของพาหะนำโรคต่างๆ น้ำนิ่งหลังฝนตก หรือจากการเอ่อท่วมของแม่น้ำ ลำคลอง จะเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของยุงหลายชนิด ดังนั้นจะทำให้คนที่อยู่ในน้ำหรือเข้าไปช่วยคนที่อยู่ในน้ำติดเชื้อที่มาจากยุงเช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้ West Nile เป็นต้น ในระยะแรกน้ำท่วมจะชะเอาลูกน้ำออกไปแต่ต่อมาเมื่อน้ำหยุดมันจะขยายพันธ์ได้อีก จะมีระยะเว้นประมาณ 6-8 สัปดาห์ก่อนจะมีการระบาดของไข้มาลาเรีย

  • พบการระบาดของมาลาเรียในช่วงอุทกภัยได้บ่อยในบริเวณซึ่งมีมาลาเรียเป็นเชื้อท้องถิ่น เช่น ในกรณีแผ่นดินไหว และมีอุทกภัยตามมาในสาธารณรัฐโดมินิกันในปี 2004
  • การที่มีน้ำท่วมหลายครั้งซึ่งเกิดจากปรากฏการณ์ El Nino-Southern Oscillation (ENSO) ทำให้มีการระบาดของมาลาเรียในแถบทางเหนือของประเทศเปรูซึ่งเป็นพื้นที่แห้ง และมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในตลอด 10 ปี ตลอดทั้งทวีปอเมริกา
  • มีการระบาดของไข้ West Nile ในทวีปยุโรปหลังจากฝนตกหนักและมีน้ำท่วม โดยมีการระบาดในประเทศโรมาเนียในปี 1996-97 ในสาธารณรัฐเชคในปี 1997 และอิตาลีในปี 1998

ความเสี่ยงต่อการระบาดจะเพิ่มขึ้นมากด้วยปัจจัยแทรกซ้อนต่างๆ เช่น พฤติกรรมของมนุษย์ (ถูกยุงกัด ไม่กางมุ้งนอน หรืออาศัยในสถานที่แออัด) หรือการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ซึ่งมีการขยายพันธ์ของยุง เช่นในบริเวณที่มีน้ำนิ่ง หรือบริเวณที่โค่นป่า)

ความเสี่ยงจากศพ

ศพจะไม่เป็นแหล่งแพร่เชื้อจนเป็นโรคระบาดหลังจากเกิดอุทกภัยหรือภัยต่างๆ เชื้อโรคต่างๆจะตายตามคนภายในเวลาไม่นานนัก (ยกเว้นเชื้อโรคเอดส์สามารถอยู่ได้ถึง 6 วัน) และแหล่งของการติดเชื้อมักจะเป็นผู้รอดชีวิต ศพหรือชิ้นส่วนของมนุษย์จะมีความเสี่ยงต่อโรคเฉพาะบางอย่างเช่นการตายจากอหิวาตกโรคหรือไข้เลือดออก

อย่างไรก็ตามคนงานซื่งทำงานกับศพอาจมีความเสี่ยงในการติดต่อเชื้อวัณโรค ไวรัสบางชนิดที่ติดต่อทางเลือดเช่นไวรัสตับอักเสบบี และ ซี และเชื้อโรคเอดส์ และ โรคติดเชื้อต่อกระเพาะและลำไส้ เช่น โรคท้องเสียจากโรตาไวรัส เชื้อซาโมเนลลา เชื้ออี โคไล ไทฟอยด์/พาราไทรอยด์ ตับอักเสบชนิดเอ โรคชิเกลโลสิสและอหิวาตกโรค)

  • วัณโรคติดต่อทางการหายใจ (จากลมหายใจที่ยังหลงเหลือในปอด ซึ่งออกมาทางจมูกและปากขณะขนส่งศพ)
  • มีการสัมผัสเลือดจากศพ โดยการสัมผัสแผล หรือน้ำจากกระดูกที่ฉีกแตกออกมาขณะขนส่งทำให้ติดเชื้อไวรัสที่มาพร้อมกับเลือด
  • การติดเชื้อโรคจากกระเพาะและลำไส้ เกิดจากการใหลของอุจจาระหรือเสื้อผ้า จากการปนเปื้อนบริเวณใกล้เคียง ซึ่งผู้ขนส่งศพ ไม่ได้ทำความสะอาดมือตนเอง หรือรักษาสุขอนามัยที่ดี นอกจากนี้ยังเกิดจากการปนเปื้อนแหล่งน้ำจากศพ

บุคลากรด้านสาธารณสุขและด้านฉุกเฉิน จะต้องทำงานอย่างมีสติ และไม่ตื่นตระหนก ในการจัดการกับศพ เพื่อการป้องกันตนเอง และผู้อื่นจากการติดเชื้อ

ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากอุทกภัยอื่นๆ

  • ได้แก่การจมน้ำและการบาดเจ็บ ทำให้ต้องระวังโรคบาดทะยัก แต่ไม่แนะนำให้ป้องกันโดยการใช้การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก อย่างไรก็ดีอาจจะฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นในคนที่เคยฉีด และมีแผลเปิด
  • ในเด็กอาจจะต้องระวังปัญหาอุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะในเด็กที่แช่น้ำอยู่นาน และเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • การติดไฟ จะทำให้การทำน้ำประปาด้อยคุณภาพลงและมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อจากน้ำ
หมายเลขบันทึก: 467182เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2011 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท