เกาลัด ก่อ พี่น้องร่วมสายพันธุ์


หลายคนเข้าใจผิดว่า เกาลัด และ ก่อ เป็นชนิดเดียวกัน

     เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้ไปจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเกษตรกรศูนย์ส่งเสริมผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนที่อำเภอแมริม ใช้บ้านของเกษตรกรเป็นสถานที่อบรม ได้เจอไม้ยืนต้น ที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก กำลังติดดอกออกลูกสะพรั่ง หลายคนปลูกต้นไม้นี้เพื่อเป็นไม้ประดับเพราะไม่ผลัดใบ ใบสวย ทรงต้นสวย แต่ไม่รู้คือต้นอะไร  ลองดูรูปแล้วทายเล่นๆก็ได้ครับก่อนดูเฉลย

ต้นไม้ และลูกไม้ที่เห็น คือ ต้นเกาลัด ครับ

     -หลายนเข้าใจว่า  เกาลัด คือ ลูกก่อ อันที่จริงไม่ใช่ครับ แต่ก็เป็นพันธุ์ไม้ที่เป็นเครือญาติเดียวกัน

     -ข้อแตกต่างของเกาลัด และก่อ คือ ก่อมีเปลือกเป็นหนามแหลม เป็นไม้พื้นถิ่นที่พบได้ทั่วไปในป่าทางเหนือ สูงกว่าระดับน้ำทะเล เวลาจะเอาเมล็ดต้องทุบเอาเปลือกที่เป็นหนามออก เด็กบนดอยใชวิธีขนมาวางบนพื้นถนน ปล่อยให้รถยนต์ที่วิ่งไปมาทับแล้วค่อยเก็บลูกไปวางขาย เป็นภาพที่พบเป็นประจำในฤดูกาลนี้ของปี การเก็บลูกก่อมาวางขายถึงแม้จัดได้ว่าเป็นการนำของป่ามาวางขาย แต่ถือว่าไม่เป็นการทำลายป่าธรรมชาติแต่อย่างใดเพราะไม่ได้ทำลายต้นก่อให้เสียหาย คงคล้ายกับการเก็บเห็ดป่ามาวางขาย แต่แตกต่างจากการนำกิ่ง ต้นก่อ มาเพาะเห็ด ซึ่งเป็นการทำลายป่าอย่างเห็นได้ชัด กรณีหนึ่ง แม้ว่าเห็ดที่เพาะได้ จะเป็นเห็ดเมืองหนาวที่มีราคาแพง เช่น เห็ดหอม เห็ดลม เพิ่มรายได้แก่ชุมชนบนดอยสูง แต่เทียบกับความสูญเสียของป่าก็มักไม่คุ้ม  

-เกาลัดที่ปลูกในเมืองไทย มีสายพันธุ์จากเมืองจีน ใน อ.ฝาง และ แม่อาย มีสวนเกาลัดที่ปลูกจำหน่ายเมล็ดมานมนานแล้ว เนื่องจากเกาลัดชอบอากาศเย็น ต่อมาเนื่องจากต้นเกาลัดมีใบใหญ่ รูปไข่  สีเข็ม ไม่ทิ้งใบในฤดูหนาว จึงมีคนขยายพันธุ์มาปลูกเป็นไม้ประดับ เดียวนี้เริ่มได้เห็นต้นเกาลัดปลูกเป็นไม้ประดับในบ้านจัดสรรบ้าแล้ว การติดดอกติดลูกก็มีบ้างแต่ไม่ดกเหมือนที่ปลูกในพื้นที่หนาว และนอกจกนั้นก็ไม่มีการเก็บเมล็ดมารับประทานแต่อย่างใด

-ส่วนของเกาลัดทีใช้รับประทาน คือเนื้อในเมล็ดแข็ง มีสีขาว รสชาดมัน หวานไม่จัด อร่อย แตกต่างจาก ก่อ คือเมล็ดเกาลัดอยู่ในผัก เมื่อฝักแก่จะเป็นสีน้ำตาลม่วงและแตกออกสลัดเมล็ดตกลงใกล้ต้น สามารถเก็บมาคั่ว รับประทาน นอกจากนั้นใช้ประกอบาหารจีนลายชนิด

-เกาลัด เป็นอาหารฤทธิ์อุ่นตามควมเชื่อชาวจีน มีสรรพคุณ บำรุงร่างกาย บำรุงกระเพาะ

-เกาลัดของคนจีน หรือ ก่อ มีรูปร่าง และเนื้อคล้ายกัน รสชาดต่างกันบ้าง แต่มีกินพร้อมๆกันในฤดูกาลนี้ (ฤดูหนาว) เพียงปีละครั้ง ลองชิม อุดหนุนเกาลัด และ ก่อ ของคนเหนือซักครั้งซิครับ

หมายเลขบันทึก: 466845เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2011 15:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 07:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เกาลัดเหนือ และเกาลัดจีน

ต้องประชันกันหน่อยแล้วซิครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท