งานอันมีลิขสิทธิ์ของต่างประเทศจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยได้หรือไม่ อย่างไร


Creative work, งานอันมีลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ, ความคุ้มครองตามกฎหมายไทย, จุดเกาะเกี่ยว(Connecting Points), พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มีหลักในการพิจารณาดังนี้

1. พิจารณาว่างานนั้น “เป็นงานสร้างสรรค์(Creative work)” หรือไม่

งานสร้างสรรค์จะต้องเกิดจากความคิดริเริ่มของผู้สร้างสรรค์ (Idea) มีการแสดงออกมาเป็นรูปธรรมซึ่งความคิด (Expression of Idea) มีการคิดที่เกิดจากตนเอง (Originality) ใช้ความวิริยะอุตสาหะการพยายามในการทำงาน (Creative effort)ซึ่งสิ่งต่างๆที่กล่าวมาอาจเกิดจากการที่ได้สะสมประสบการณ์ในการดูสิ่งต่างๆและนำมาสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ (Standing on the shoulder of giant)  ก็ถือว่าเป็น “งานสร้างสรรค์” (Creative work)

 

2. พิจารณาว่างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์(Copy rights)หรือไม่

โดยพิจารณาจากมาตรา 6 ประกอบมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 6 “งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด

การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คลุมถึงความคิด หรือขั้นตอน กรรมวิธีหรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์”

 

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

“ผู้สร้างสรรค์” หมายความว่า ผู้ทำหรือผู้ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้

“ลิขสิทธิ์” หมายความว่า สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำการใด ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

 

 


3. พิจารณา “การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์”

ปกติการสร้างสรรค์งานย่อมตกได้แก่ผู้ก่อหรือทำให้เกิดงานสร้างสรรค์ ตามมาตรา 4 ประกอบมาตรา 8 แต่มีข้อยกเว้นที่ลิขสิทธิ์ตกแก่ผู้อื่น ตาม มาตรา 9 ถึงมาตรา 14

 

ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

มาตรา 8 “ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้นภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้

(1) ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการโฆษณางาน ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยหรืออยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้มีสัญชาติหรืออยู่ในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย ตลอดระยะเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ในการสร้างสรรค์งานนั้น

(2) ในกรณีที่ได้มีการโฆษณางานแล้ว การโฆษณางานนั้นในครั้งแรกได้กระทำขึ้นในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หรือในกรณีที่การโฆษณาครั้งแรกได้กระทำนอกราชอาณาจักรหรือในประเทศอื่นที่ไม่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วย หากได้มีการโฆษณางานดังกล่าวในราชอาณาจักรหรือในประเทศที่เป็นภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองลิขสิทธิ์ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ด้วยภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีการโฆษณาครั้งแรก หรือผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ในขณะที่มีการโฆษณางานครั้งแรก

 

ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย ถ้าผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล นิติบุคคลนั้นต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย”

 

4. พิจารณาจากจุดเกาะเกี่ยว(Connecting Points)

ใน 3 หลักคือ หลักสัญชาติ หลักถิ่นที่อยู่(ในการสร้างสรรค์งาน) และ หลักการโฆษณางานครั้งแรก และ การเป็นสมาชิก Berne Convention & TRIPs

สำหรับคนนอก กรณีโฆษณาในประเทศไทยภายใน 30 วัน และ กรณีโฆษณาในประเทศสมาชิกภายใน 30 วัน

รวมทั้งหมด 8 ช่องทาง  ซึ่งต่างประเทศย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยอยู่ ตามปกติ 6 ช่องทาง (ตามตารางช่องทางที่ 3-8)  

รวมช่องทางที่ 2 กรณีต่างด้าวมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ดังนั้นรวม 7 ช่องทาง  ตามตาราง

 

ช่องทางที่ 

หลักสัญชาติ 

หลักถิ่นที่อยู่ 

หลักการโฆษณางานครั้งแรก 

สัญชาติปท.อื่น 

หมายเหตุ

1

ไทย

 

ไม่

 

 

2

 

ไทย

ไม่

 

 

3

ปท.ภาคี

 

ไม่

 

 

4

 

ปท.ภาคี

ไม่

 

 

5

 

 

โฆษณาปท.ไทย

 

 

6

 

 

โฆษณาปท.ภาคี

 

 

7

 

 

โฆษณาปท.อื่น

โฆษณาปท.ไทย

ภายใน 30 วัน

8

 

 

โฆษณาปท.อื่น

โฆษณาปท.ภาคี

ภายใน 30 วัน

 

หมายเลขบันทึก: 466569เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2011 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2013 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เพื่อเป็นการตอบสนองต่อคำร้องเรียนที่เราได้รับเกี่ยวกับ Digital Millennium Copyright Act ของสหรัฐอเมริกา เราได้ลบผลการค้นหาจำนวน 1 รายการออกไปจากหน้านี้ หากต้องการ คุณสามารถอ่านคำร้องเรียน DMCA ที่เป็นสาเหตุครั้งนี้ได้ที่ChillingEffects.org

=============================================

http://www.google.com/

What is Intellectual Property?

http://www.wipo.int/about-ip/en/

Intellectual property (IP) refers to creations of the mind: inventions, literary and artistic works, and symbols, names, images, and designs used in commerce.

IP is divided into two categories: Industrial property, which includes inventions (patents), trademarks, industrial designs, and geographic indications of source; and Copyright, which includes literary and artistic works such as novels, poems and plays, films, musical works, artistic works such as drawings, paintings, photographs and sculptures, and architectural designs. Rights related to copyright include those of performing artists in their performances, producers of phonograms in their recordings, and those of broadcasters in their radio and television programs. For an introduction to IP for non-specialists, refer to:

Understanding Copyright and Related Rights

Understanding Industrial Property

WIPO Intellectual Property Handbook (a comprehensive introduction to the policy, law and use of IP)

The innovations and creative expressions of indigenous and local communities are also IP, yet because they are “traditional” they may not be fully protected by existing IP systems. Access to, and equitable benefit-sharing in, genetic resources also raise IP questions. Normative and capacity-building programs are underway at WIPO to develop balanced and appropriate legal and practical responses to these issues. For more information, refer to:

IP and Traditional Knowledge

IP and Traditional Cultural Expressions/Folklore

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์. "ความเรียบง่ายงดงาม (ORIGINALITY)." 21 กันยายน 2554. ใน www.siamintelligence.com [Online] Available URL :

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/461920

 

ยิ่ง เรื่องนั้นมีความสำคัญเท่าไร นิสิตยิ่งสนใจทำมาก พอทำออกมา 10 คนจะได้ผลงานที่มีความคล้ายคลึงกัน โดยไม่เกิดประโยชน์อันใด และแต่ละส่วนก็ไม่ค่อยมีคุณภาพเนื่องจากไม่สามารถทุ่มเททรัพยากรไปวิเคราะห์ อย่างถึงแก่น

 

Glossary R2R-R&D

 

กองบรรณาธิการวารสาร หมออนามัย. "คุณค่าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย." บทความพิเศษ ปีที่18 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม - สิงหาคม 2551. [Online] Available URL : http://www.mohanamai.com/UserFiles/File/mnm18-1-51/AW_7-32indd.pdf

 

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ประชาธิป กะทา และคณะ. "วิจัยเชิงคุณภาพ : การเรียนรู้จากงานประจำ แนวคิดและบทเรียนจากการอบรมการวิจัยเชิงคุณภาพต่อเนื่อง (On The Job Training) ในงานสุขภาพปฐมภูมิ บริการปฐมภูมิ."  เอกสารประกอบการประชุม “จากงานประจำสู่งานวิจัย (routine to research)” ระหว่างวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร, จัดโดย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และภาคีเครือข่าย สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.).  [Online] Available URL : http://www.shi.or.th/content/9937/1/

 

จรวยพร ศรีศศลักษณ์."รูปแบบและวิธีทำ R2R." สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 23 กรกฎาคม 2552 บรรยาย ณ  สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. [Online] Available URL : http://r2r.hsri.or.th lms.kmddc.go.th/

 

จรวยพร ศรีศศลักษณ์ และ อภิญญา ตันทวีวงศ์(บรรณาธิการ)."สยบงานจำเจด้วยการวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ(R2R : Routine to Research)." กรกฎาคม 2551. [Online] Available URL :

http://www.dentistry.kku.ac.th/dt2008/research/html/download/news/r2r.pdf

 

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. "Routine-to-Research (R2R)." มปป. [Online] Available URL :

http://www.stou.ac.th/offices/ord/New/seminar/download/sem102.pdf

 

นภาพร อภิรดีวจีเศรษฐ์. "Routine to Research(R2R)." พยาบาลโรงพยาบาลศิริราช, มปป. [Online] Available URL : www.si.mahidol.ac.th/km/etnurse/08_Routine%20to%20Research.pdf

 

นฤมล  รื่นไวย์. "มารู้จัก R2Rกันสักหน่อย." 17 กันยายน  2553. [Online] Available URL : http://kmlite.wordpress.com/2010/09/17/v3i4-06/

 

ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ . "R2R : Routine to Research." วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม (R&D Newsletter) ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 เมษายน - มิถุนายน 2552. [Online] Available URL :

www.gpo.or.th/rdi/html/RDINewsYr16No2/3.pdf

 

ปรัชญนันท์ นิลสุข. “การวิจัยเพื่อพัฒนา หรือการวิจัยพัฒนา (Research and Developmnet : R&D) ทางการศึกษามีน้อย.” ภาค วิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28 พฤษภาคม 2550. [Online] Available URL :  http://www.researchers.in.th/blogs/posts/243

 

เพ็ญแข ลาภยิ่ง. "R2Rความหมายและประเภท(การอบรมวิจัยและเขียนบทความวิชาการจากงานประจำ)." สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย, 2552. [Online] Available URL :

http://www.nkphc.com/index.php?mo=21&detail&fid=117201&catid=5124

 

รุจโรจน์ แก้วอุไร. “การวิจัยและพัฒนา(Research and Development).” มปป. [Online] Available URL :  http://www.edu.nu.ac.th/techno/rujroadk/research&development.pdf

 

วรพล หนูนุ่น. ““การทำวิจัยในงานประจำ (R2R)” กับ “ความหมาย” ตามที่พยายามจะเข้าใจ.” มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 25 กุมภาพันธ์ 2551. [Online] Available URL : http://gotoknow.org/blog/tri-paki/167244  or

http://chinekhob.wordpress.com/2008/02/25/การทำวิจัยในงานประจำ-r2r-ก/

 

วิจารณ์ พานิช. “ชีวิตที่พอเพียง : 1450ก. R2R ประเทศไทยในอนาคต.” 10 ธันวาคม 2554. [Online] Available URL : http://www.gotoknow.org/profiles/users/vicharnpanich

 

วิจารณ์ พานิช.  “R2R : ยกระดับความรู้สู่การตีพิมพ์ : ๑๐. อย่าตีพิมพ์ซ้ำ.” 10 กันยายน 2551. [Online] Available URL : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/207042

 

วิจารณ์ พานิช.  “R2R : ยกระดับความรู้สู่การตีพิมพ์ : ๑๑. ระมัดระวังอย่าให้ถูกกล่าวหาว่าขโมยความคิด.” 10 กันยายน 2551. [Online] Available URL : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/207473

 

ศิริพร จิรวัฒน์กุล. "การวิจัยในงานประจำ(Routine to Research)." คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 20 เมษายน 2552. [Online] Available URL : http://advisor.anamai.moph.go.th/conference/PMQA2552/data/Meeting02/RtoR01.pdf

 

สถาบันคลังสมองของชาติ. “การพัฒนาระบบวิจัยกับการสร้างนวัตกรรม : บทเรียนจากฟินแลนด์.” 29 มีนาคม 2554. [Online] Available URL :  http://www.norsorpor.com/ข่าว/

 


Glossary Originality

 

Duplex(นามแฝง). "ความคิดริเริ่ม (Originality)." 18 กุมภาพันธ์ 2552. [Online] Available URL :

http://www.oknation.net/blog/Duplex/2009/02/18/entry-1

 

"English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]." [Online] Available URL : http://dict.longdo.com/index.php?lang=th&search=ORIGINALITY

 

Novabizz. "ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)." มปป. [Online] Available URL :

http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Creative_Thinking.htm

 

novabizz. "เทคนิคในการแก้ปัญหาและพัฒนางานต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ." มปป. [Online] Available URL :

http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Creative_Thinking.htm

 

เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์. "ความเรียบง่ายงดงาม (ORIGINALITY)." 21 กันยายน 2554. ใน www.siamintelligence.com [Online] Available URL :

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/461920

 

นินนาท บุญยะเดช. "หลัก Originality (1)." ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย, 29 พฤศจิกายน 2549. [Online] Available URL :

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/64047

 

มหาวิทยาลัยบูรพา. "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ขององค์กร (Creative Economy)." มปป. [Online] Available URL : www.mt.buu.ac.th/th/download/ECO_cre/CreativeEconomy.pptx  or

http://gems.chanthaburi.buu.ac.th/news/documents/km/Creative_Economy.pdf

 

วรากรณ์ สามโกเศศ. "เอกสารประกอบการบรรยาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์จันทบุรี." 7 พฤษภาคม 2553, จัดพิมพ์โดยสำนักงานคลังจังหวัดจันทบุรี

 

วิกรม กรมดิษฐ์. "บทความ เซอร์ ไอแซค นิวตัน Sir Isac Newton." มูลนิธิอมตะ, มปป. [Online] Available URL : http://atcloud.com/stories/83950 or  http://www.neutron.rmutphysics.com/scie ...

 

 

จักรกฤษณ์ ศรีวลี (บ๊อบบุญหด). "Originality(1)." 3 พฤษภาคม 2549. [Online] Available URL : http://www.kanzuksa.com/futfit44.asp?fit=72

ศัพท์สังคมศึกษา
somprasong nuambunlue สมประสงค์ น่วมบุญลือ
Wednesday, August 19, 2009 7:25:58 AM


http://my.opera.com/somprasong/blog/index.dml/tag/ศัพท์สังคมศึกษา


สร้างสรรค์

Creative : (Enc) Latin creat-, past participle of create "bring forth"

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจาก (การดึง)ความชำนาญ (ออกมา) รู้จริง ทำได้ แปลกใหม่ ไม่ยึดมั่น และเป็นประโยชน์

"ความคิดสร้างสรรค์."

สุภาพร ศรศิลป์ ครูโรงเรียนชะอวด

7 ตุลาคม 2555

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/504812

ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity ) คือ

การใช้ความรู้ ความคิด และประสาทสัมผัสที่มีอยู่ทั้งหมดมาสร้างขึ้นเป็นความคิดหรือแนวคิดใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่สิ่งหายาก มันมีอยู่รอบๆตัวเรา แม้แต่ในตัวเราเอง ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่ก่อนยุดหินแล้ว ตั้งแต่ลิงเริ่มไต่ลงจากต้นไม้มาเดินบนดิน จนกระทั่งมนุษย์อย่างทุกวันนี้ อารยธรรม พิธีกรรม ความรู้ และวิธีการต่างๆ ก็ล้วนแต่ได้รับความช่วยเหลือจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งนั้น

ความคิดสร้างสรรค์ คือ "ความสามารถในการหมุนโลก" พลังแห่งความคิดสร้างสรรค์ในมนุษย์เป็นสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด ความสามารถในการริเริ่ม นับเป็นหนึ่งในความสามารถหลักของความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อเกิดมีความคิดสร้างสรรค์ขึ้นมาแล้ว หากได้รับการต่อยอดโดยความรู้ที่สั่งสมมาบวกกับความพยายามในการประดิษฐ์สิ่ง ที่เราคิดออกมาให้เป็นรูปธรรมและผ่านการทดลองซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์กับสังคม สิ่งนี้เรียกว่า "นวัตกรรม"

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท