ศีลมัย


เช้านี้ทบทวนตนเองในเรื่อง "บุญกิริยาวัตถุ ๑๐"...

เสมือนกับการ Check บุญ ของตนเองว่าวันนี้ได้ถึงในพร้อมในเรื่องอะไรบ้าง และเริ่มต้นแห่งวันนั้นด้วยเรื่องอะไรบ้าง

หากจะว่าไปแล้ว ไม่ว่ากิริยาใดใด พึงเพียรให้ได้ครบทั้งหมด หรือทำไปพร้อมๆ กันไม่ให้ขาด

นอกจาก Check บุญแล้ว สิ่งที่ทำจนเป็นปกตินิสัย ก็คือ

การพิจารณาใคร่ครวญ (วิมังสา) ในตนเองในเรื่อง มรรคแปด เพื่อประเมินตนเองว่ามีสิ่งใดถึงพร้อมบ้าง หรือยังบกพร่องอยู่ และสิ่งที่ถึงพร้อมได้ผลเป็นอย่างไร ...

การฝึกฝนเช่นนี้ ข้าพเจ้ามักใช้คำคล้ายหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ว่า "Engaged Budhhism" คือ การเนียนเนื้อวิถีพุทธเข้าสู่วิถีชีวิตประจำวัน ดำเนินตนให้เป็นไปตามเส้นทางแห่งมรรค

เป็นการฝึกฝนตนเองให้ถึงพร้อมด้วยต้นทุน...

เพียรเท่าศักยภาพที่มีอยู่ นั่นคือ ทำอย่างเต็มกำลัง เต็มความสามารถนั่นเอง

ศีลมัย = ความหมายสั้นๆ ก็คือ การทำบุญด้วยการรักษาศีลหรือประพฤติดี
ตั้งใจเอา กำหนดเอาว่า เราจะตั้งใจฝึกฝนปฏิบัติตน อย่างน้อยกี่ข้อ โดยเริ่มต้นตั้งศีล ๕ หรือจะศีล ๘ ...เพียรเอาฝึกฝนเอา
ส่วนระดับการฝึกฝนจะเป็นหยาบ กลาง หรือละเอียดนั้น ขึ้นอยู่กับความละเอียดของจิตใจเรา หากจิตอย่างหยาบก็ปฏิบัติไปแบบอย่างหยาบ หากละเอียดก็ดำเนินไปอย่างละเอียด...
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร
เรา...จะรู้ได้ด้วยตัวเราเอง ..."สติ" จะเป็นตัวกำกับเองว่า สิ่งที่เรากระทำ พูด หรือคิด นั้นเป็นไปตามศีลหรือไม่เป็นไปตามศีล
ฝึกฝนไปเรื่อยๆ มันก็จะละเอียดขึ้น ละเอียดขึ้น...
ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ...
...
ศีลมัย
๒๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔
หมายเลขบันทึก: 466525เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2011 09:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท