อะไรคือความต่างของพยาบาล ในการทำงาน รพช หรือ รพ.สต


ค่าตอบแทนของผู้ทำงาน สร้างนำซ่อม ต่างจาก ค่าตอบแทน ของคนทำงาน ซ่อม ซ่อม แล้ว ซ่อม อีก จน ตาย จากไป

         ประสบการณ์การทำงานหลังจากย้ายมาอยู่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 10 ปี ๗ เดือน  จาก พยาบาลวิชาชีพที่จบออกมาแล้ว ไม่ได้ทำงานที่สัมผัสกับคนไข้ ขณะอยู่โรงพยาบาลทำงานเบื้องหลังที่ป้องกันไม่ให้คนไข้เกิดการติดเชื้อจากเครื่องมือทางการแพทย์

          เมื่อมาอยู่ สสอ.รับงาน คบส แพทย์แผนไทย งานรักษา งานNCD(โครงการสนองฯและโครงการพระสงฆ์)งานสุขภาพจิต ชมรมสร้างสุขภาพ  โครงการสายใยรัก งานวางแผนครอบครัว(มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ) งานอนามัยแม่และเด็ก

         เป็นผู้ควบคุม กำกับ ประสาน และปฎิบัติในพื้นที่ ๒๖ สถานบริการ

นำน้องๆพยาบาล น้อง นวก จพง ปรับเปลี่ยนบทบาทด้านการทำงานเชิงรุกและสำคัญที่สุดคือการใส่ชุดทำงาน ชุดพยาบาล ชุดสีฟ้า เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่

 พยาบาล ใน รพช-รพท-รพศ-รพ.สต ต่างกัน แค่ หน้าที่รับผิดชอบ ในงาน

 พยาบาล รพ.สต.รับงานมากกว่า ตามลำดับ

การแต่งกายชุดขาวสวมหมวกของพยาบาล ไม่มีใครที่จะมาสั่งห้ามว่าถ้าอยู่ รพ.สต.ห้ามใส่ชุดขาว นี่คือเหตุผลของการเป็นวิชาชีพ

ฉะนั้น พื้นที่ รพ.สต อำเภอเวียงสา จะเห็นน้องๆพยาบาลสวมใส่ชุดขาว วันจันทร์ พุธ ศุกร์ แล้วแต่กรณี

สิ่งที่เห็นได้ชัด: พยาบาลที่ทำงานใน สสอ บางอำเภอ บางจังหวัด จะไม่มีสิทธิ์รับเงินตำแหน่ง เงิน พตส หรือเงิน ๑๘๐๐

คำถาม:หากใครอ่าน ช่วยตอบหน่อย ว่า :พยาบาลที่ทำงานเกือบทุกกรม ของกระทรวงสาธารณสุข ต่างจากพยาบาลที่ทำงานหน้าเดียว ใน รพช-รพท-รพศ อย่างไร

                      พยาบาลใส่ชุดฟ้า กับพยาบาลชุดขาว ต่างกันตรงไหน

                      หัวหน้าพยาบาลใน รพช ได้ ซี ๘ แล้ว หัวหน้าพยาบาล ใน รพ.สต ที่รับผิดชอบ รพ.สต ๒๖ แห่ง ต่างกันตรงไหน

หากพยาบาลคนไหนต้องการได้เงินค่าตอบแทนครบ ให้ย้าย จ.๑๘และลงไปทำงานที่ รพ.สต ทำงานด้านบริการ รักษา จ่ายยา

  แล้วนโยบาย สร้างนำซ่อม ไปอยู่ที่ไหน

พยาบาลที่แต่งชุดขาวใน รพช. ทำงานตามคำสั่งบนลงล่าง แทบไม่ได้คิดอะไรเอง ได้ทุกอย่างครบสมบรูณ์

วงการพยาบาล: หรือ สภาการพยาบาล ที่เป็นผู้ประสานก็ไม่เคยคิดเรื่องเหล่านี้

คัดเลือกพยาบาลดีเด่น ปี ๒๕๕๔ ลองเข้าไปดู มีแต่พยาบาลใน รพช-รพท-รพศ แต่ รพ.สต

วงการพยาบาล ตั้งแต่ไหนแต่ไร เกิดความริษยา ต่อตำแหน่ง ต่อสถาบันที่จบ 

จบเทคนิค เป็นเบี้ยล่างของ วิชาชีพ จบวิชาชีพ ต้องดูว่ามาจากสถาบันไหน ถ้ามาจาก มสธ ก็จะโดนไถถาก(แต่ต้องย้อนดูว่าการทำงานใครที่เจ๋งกว่ากัน)

พยาบาลจบโท ก็ไปอีกแบบ เจอหน่วยงานที่ใจคับแคบ ก็ไม่ได้ผุดได้เกิด กล้วเก่งเกินหน้า งานเหมือนเดิม

ระบบพยาบาลจะเป็นแบบนี้ ที่ไหน ที่ไหนจะคล้ายกัน มากๆๆๆๆๆ

แต่: ตัวเองกลับมองใหม่ มอง และปรับ ให้พยาบาลใน รพ.สต มีคุณค่า ยากที่จะให้ใครมาดูถูก 

  • เรามีพยาบาล ที่จบ NP ทั้งหมด เกือบ๓๐ คน ทุกคนมีคุณภาพ
  • เราเป็นเหมือนพี่พยาบาลเป็นตัวแทนของน้อง ได้รับเลือกให้นำเสนอผลงานในหลายๆเรื่องหลายๆเวที ตามที่เราทำและก็สำเร็จ
  • เราลงชุมชน ทำงานเชิงรุก ลุกจากที่นั่ง ลุยถึงที่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีสุขภาพที่ดี
  • เราทำงานเป็นทีม รู้จักฟัง รู้จักเห็นใจ เข้าใจ ชาวบ้าน เรารู้จักยืดหยุ่น เรามีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เริ่มจาก ผอ.รพ.สต ที่มีตำแหน่งที่น่ายกย่อง ทำงานหนักสมกับตำแหน่งที่ได้ใหม่ แต่ ไม่มีเงินตำแหน่งให้ ๓๕๐๐ บาทก็ยังดี   มีสาธารณสุขอำเภอที่ทำงานทั้งบริหาร และทำงานกับ อปท เอกชน ชุมชน ทำทุกเรื่อง ทราบทุกอย่าง
  • แต่ พวกเรา กลับ ไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านค่าตอบแทน  ดูจะเป็นคนที่ห่างไกลค่าตอบแทนอย่างสิ้นเชิง
  • แต่ มีงานนโยบาย งานยุทธศาสตร์ งานที่สำคัญ ผู้ที่ทำงานให้กระทรวงสาธารณสุขสำเร็จได้ผลลัพธ์ เป็นที่ยอมรับ น่าชมเชยกลับมาจากพวกเราและอสม

นวก และ จพง ที่ผันตัวเองไปเรียน พยาบาลวิชาชีพ จบ ต่อ NP ไม่มีผลต่อตำแหน่ง ใช้ตำแหน่งเดิม หัวใจไปไกลเกินฝัน เพราะ ประชาชน ต้องการอาชีพเหล่านี้ที่จะทำให้เขาได้รับการบริการ ใกล้บ้านใกล้ใจ

สภาการพยาบาล ที่เราหวังให้เป็นสถาบันที่ให้ความช่วยเหลือ พวกเรา เราสมัครเป็นสมาชิก เราทำตามทุกอย่าง แต่เรากลับไม่ได้รับการช่วยเหลือประสานงาน ให้ คนเหล่านี้ได้รับตำแหน่งใหม่ตามที่เรียนมา

เกิดอะไรขึ้น ใน พื้นที่ รพ.สต   เกิดแน่นอน  เพราะ พยาบาลใน รพ.สต เป็นคนเดียวที่ได้รับเงิน ตำแหน่ง เงิน พตส สำหรับ จพง-นวก-ผอ.รพ.สต ไม่มี มีแต่ ๑๘๐๐บาท

ทำงานเหมือนกันตรวจคนไข้เหมือนกันลงพื้นที่เหมือนกัน ตรวจแทนกันได้ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันมาตลอด ในบางพื้นที่อาจจะมีปัญหาในการทำงาน ที่ต้องมอบให้พยาบาลต้องหนักกว่าคนอื่น แต่ที่ เวียงสา ไม่มี  นี่แหละเขาเรียกว่า  จิตใจอันยิ่งใหญ่ของคำว่า “หมออนามัย”

ฉะนั้น

๑. นวก ชำนาญการ=ซี 7 +ประสบการณ์การครองตำแหน่ง+อวช ๗ ผ่าน ควรได้ค่าตำแหน่ง ๓๕๐๐ บาทเหมือนครูซี๗

๒.ผอ.รพ.สต ได้เงินตำแหน่ง๑๐๐๐ บาทถ้าหากใครได้ตำแหน่งตามข้อ ๑ มาก่อนได้๓๕๐๐ บาท+ ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต ๑๐๐๐ บาท รับไปเลย ๔๕๐๐ บาท จะเหมาะสมอย่างยิ่ง

๓ แล้ว จพง หละ ข้อนี้ ขอให้คุณไปเรียนด้านสาธารณสุข ปริญญาตรีหรือต่อพยาบาลวิชาชีพ ไต่เต้าให้ไปถึงฝั่งก่อน หรือ ครอง จพง ชำนาญการ ครบ ๑๐ ปี จบตรีสาสุข ทำ อวช รองรับ ผ่าน รับไปเลย ๓๕๐๐ บาท

ถ้าเป็นเช่นประการนี้แล  เจ้าหน้าที่ สาสุข ที่ทำงานกับชุมชนไม่ย้ายไปไหนแน่ๆ  สู้ฝ่าฟัน ร่วมทุกข์สุขด้วยกัน  แต่ตอนนี้หนีไป สอบอยู่ อปท กันหมด สิ้นปีได้โบนัสมากกว่าเราอยู่ โอที ถึง ๓-๕ ปี ด้วยซ้ำ   แล้วใครหละ จะเสียโอกาสแบบนี้

สิ่งที่เราทำ เรามีความสุข คือ การที่ผู้รับบริการหรือชาวบ้านมีสุขภาพที่ดี  พึงพอใจ ในการกระทำของเรา รักเรา ศรัทธาในความตั้งใจ ความมุ่งมั่นของพวกเรา ก็จริง แต่เศรษฐกิจ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลง สิ่งแวดล้อม ที่เข้ามารุม มาตุ้มพวกเรา ก็ทำให้พวกเรามีแว๊บ แว๊บ บ้าง

พวกเรา ทรหดกับการทำงานทั้งกระทรวง ทรหดกับการทำงานตามนโยบายที่เปลี่ยนตามผู้บริหาร เอาใจทุกอยาง จนสุขภาพของชาวบ้านเริ่ม งง ว่าจะเป็นโรคอะไร หรือ จะเป็น หรือจะไม่เป็น  เช่น ไอโอดีน ตรวจสอบ ไอโอดีนในผลิตภัณฑ์ เกลือ น้ำปลา เครื่องปรุงรส เป็นกฎหมายต้องผสมไอโอดีน

แต่ เมื่อมีครบ บริษัททำตามนโยบายและกฎหมาย  แต่ขายไม่ได้ เช่นน้ำปลา หากเติมเข้าไป ติดฉลาก แม่ค้าไม่ซื้อด้วยเหตุผลเพียง ใส่แล้วอาหาร ขม ทันที 

เกลือบางบริษัทใส่เยอะมาก เกือย ๑๐๐% 

การทำงานของเราในพื้นที่ทำทุกอย่าง เอาใจทุกเรื่อง มีเรื่องเดียวที่พวกเราอยาก ขอ

ขอเถอะ ให้พวกเราได้ค่าตอบแทนเหล่านี้ ด้วยความยุติธรรม

เมื่อมีโอกาส   จะขอเข้าไปนำเสนอให้ผู้บริหารกระทรวง ผู้บริหารสภาการพยาบาล ได้รับรู้ถึงเรื่องเหล่านี้

แล้ว ผู้ที่ทำงานในพื้นที่ ปฐมภูมิ จะมีกำลังใจ มากกว่าทุกวันนี้แน่นอน ขอเป็นตัวแทนที่จะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้

จะไปขอตำแหน่งที่ให้ได้เหมือน รพช

 

ขอความคิดเห็น:ไม่มีถูก ไม่มีผิด นี่คือส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่เจอ และพบเห็นเป็นเรื่องจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ในหลายๆจังหวัด

 

หมายเลขบันทึก: 466372เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2011 14:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เรามีความสุขที่ใจจ๊ะ ที่ได้ดูแลประชาชนเสมือนญาติของเรา ได้คิดเองทำเอง ไม่ต้องอยู่ใต้มือของใคร สุขใจนะ ไม่งั้นก็

กลับเข้า รพ.ไปเอาซีเอาขั้นเอาเงิน ตั้งนานแล้ว ไม่อยู่ถึงตอนนี้ก็ 25 ปีแล้วที่อยู่ สอ. เป็นพยาบาล จพง. นวก. จนเป็น ผอ.รพ.สต.

สนับสนุนค่ะคุณพี่ ที่ออกมาแสดงข้อเท็จจริงให้สาธารณชนทราบ แม้ใคร .เห็น..แต่ไม่.. มอง.. ให้ความสำคัญแก่เรา เราก็ไม่สนใจ

ขอเพียงประชาชนรักเราก็พอ..สุขใจแล้ว....วงเดือน นวลแก้ว

ขอบคุณค่ะ ได้เขียน ได้บอก อย่างน้อยก็มีกำลังใจ ที่จะทำต่อ

อย่างน้อยในหลายๆคนจะได้ไปโยกย้าย จากประชาชนไปไหน

ถึงจะเป็นเพียงความฝัน ที่เราอยากให้มี ฝันจะสลายไม่ใช่สิ่งสำคัญเท่ากับ

ทำอย่างไรให้ประชาชนเป็นสุข ทั้ง ใจ และกาย

และที่อยากได้มากกว่ารางวัลที่หนึ่ง คือ ความสามัคคีของคนไทย

ความรักและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ของคน ทุกคน

ดิฉันเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะ และถ้ามีโอกาสอยากจะไปร่วมทำงานในรพสต ด้วยคนคะ 

ดิฉันเห็นด้วยมากคะ ดิฉันเป็นพยาบาลทำงานในรพ.สต. เป็นงานที่เข้าถึงชุมชน คน ได้มากได้ใช้ความสามารถที่แตกต่างไม่มีแบบแผนที่ตายตัว แต่สิ่งที่พยาบาลรพ.สต.ได้ทำคือทำจากสิ่งที่เหนแก้ไขตามบริบทชุมชน... สิ่งที่บอกเล่าถึงความก้าวหน้าในอาชีพ และ เงิน ที่ควรเพิ่มขึ้นอาจมองว่าร้องขอแต่เพราะเศรษฐกิจค่าครองชีพมากขึ้น เงินยังคงหล่อเลี้ยงชีวิตทุกคนในครอบครัว เราสร้างสุขให้คนอื่นและเราก็ต้องการสร้างสุขให้ตัวเองด้วยเช่นกันคะ ต่ำแหน่งที่เพิ่มขึ้นนอกจากหมายถึงอาวุโสแต่ยังเป็นความภาคภูมิใจด้านจิตใจสำหรับผู้ปฎิบัติงาน พยาบาล  รพ.สต.เช่นดิฉันคะ.แม้ว่าเราเป็นพยาบาล รพ.สต.เราอาจแตกต่างแต่เราไม่ได้แตกแยกคะ 

ดิฉันเป็นพยาบาลที่มาจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ทำงานอยู๋รพสต.มา 10 ปี ปรับเป็นพยาบาลได้ 1 ปี ลดขั้นจากชำนาญงาน มาเป็นปฏิบัติการ อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดารแทบจะเรียกว่าที่สุดในประเทศไทยแล้วก็ตาม การได้รับปรับเป็นพยาบาลเงินเดือนน้อยกว่าลูกจ้างที่บรรจุใหม่ปีสองปีหลังนี้แบบเห็นได้ชัดเจนมาก ไม่ได้รับการนับเกื้อกูลอายุราชการ นับเริ่มต้นใหม่ การได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในรพช.1 เท่า รวมทั้งเบี้ยเลี้ยงหรือค่าปฏิบัติงานนอกเวลาราชการไม่มี ทั้งๆที่อยู่เวรรักษา 24 ชม. เนื่องจากอยู่ห่างไกลรพช. มันก็น่าน้อยใจอยู่ใช่ไหม ขึ้นชื่อว่าตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพเหมือนกัน เราเสียสละที่จะลงมาอยู๋ที่ลำบาก เวลาให้ลงมารพ.สต.ที่นี่น้องๆหรือพี่ๆที่อยู๋รพช.ร้องไห้ จะลาออก เพราะกลัวความลำบาก แล้วอย่างงี้จะไม่ให้เสียใจก็คง.........

หนูเป็นพยาบาลจบใหม่ที่โดนผู้จัดสรรทุนให้ไปอยู่ใน รพสต ซึ่งหนูไม่อยากอยู่เลยแต่ก็เลือกไม่ได้  สิ่งที่เสียเปรียบเพื่อนใน รพช หลายอย่างมากค่ะ เงินพตส ก็น้อย แถมOTก็น้อย การเดินทางลำบากเพราะเป็นถิ่นทุรกันดาร แต่หนูต้องมาลุยงานกับชุมชนซึ่งถือเป็นงานที่หนักเอาการ ขณะที่เพื่อนหนูอยู่รพชเป็นงานหน้าเดียว แถมโอทีต่างกันเยอะ ตอนนี้หนูกำลังเปรียบเทียบว่าถ้าหนูย้ายไปอยู่รพช จะได้อะไร และถ้าอยู่รพสตต่อไปหนูจะได้อะไรแต่ตอนนี้หนูก็ยังรักงานในรพสต พี่ๆที่มีประสบการณ์ช่วยแชร์ประสบการณ์การทำงาน และข้อคิดเห็นไว้ด้วยนะคะ เพื่หนูจะได้ตัดสินใจได้ถูก ขอบคุณค่ะ

แต่งานใน รพ มันหนักมากไม่เหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว เวรนึงแทบไม่ได้นั่ง ไม่ได้พัก ยอดเตียง 32 แต่รับได้เกิน 50 ทางเดินไปฉีดยายังไม่มี อยากย้ายลง รพสต มากค่ะ เหนื่อยท้อ ค่าตอบแทนเยอะจิง แต่ทำงานคูณสอง ไหนจะญาติที่ไม่เข้าใจเรา ร้องเรียนยิ่งทำยิ่งท้อค่ะ ไหนจะครอบครัว ไม่มีวันหยุดเหมือนอาชีพอื่นนะคะ ไม่หยุดเสาอาทิต ห้ามลาวันหยุดนักขัตฤกษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท