ต่อยอดความรู้เรื่อง ยางพาราพันธุ์ RRIM 1200


อ่านงานคุณวิเวก / ชวนให้แตกประเด็นความคิด / เป็นบทความสานต่อ

ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง ยางพาราพันธุ์ RRIM 1200 ใน Blog ของคุณวิเวก อมตะเวทย์ เกษตรอำเภอละแม จ.ชุมพร เขียนไปเขียนมา เอ๊ะ !! ...เนื้อหามากขึ้นเรื่อย ๆ ยกขึ้นมาเป็น บทความใหม่ ก็แล้วกันจะได้อ่านกันแพร่หลายยิ่งขึ้น

คุณวิเวกตั้งคำถามให้กับวงการยางพารา 2 คำถามใหญ่ ๆ ว่า 

  1. ทำไม ยางพาราพันธุ์ที่ทางราชการ (สถาบันยางฯ) ให้คำแนะนำว่าเป็น ยางพาราชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 3 จึงไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายจากเกษตรกรผู้ปลูก ?
  2. ทำไม พันธุ์ RRIM 1200 จึงได้ชื่อว่า เป็น "พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ให้คำแนะนำโดยการบอกต่อ...บอกต่อและบอกต่อ ว่าเป็นยางชั้น1ตลอดกาลของเจ้าของสวนยางทางภาคใต้" ?
นี่ คือตัวอย่างประการหนึ่งของสิ่งที่เราเคยวิเคราะห์ร่วมกันในการฝึกปฏิบัติการ KM ที่วิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2549 เป็นประเด็นที่อยู่ในกลุ่ม C2 : การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามรูปแบบที่เป็นอยู่ทำให้เกษตรกรรู้และเข้าใจใน เทคโนโลยีที่เหมาะสมซึ่งควรจะนำมาประยุกต์ใช้ในสวนเกษตรของตนเองมากน้อย เพียงใด ?
และประเด็นที่คุณวิเวกหยิบยกขึ้นมาว่าทั้ง
- การระบาดของโรคเกี่ยวกับระบบรากยางพาราขั้นรุนแรง (ท้องที่ อ.ละแม จ.ชุมพร)จะเกี่ยวกับเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ RRIM 1200  หรือไม่ยังไม่มีการศึกษา
- ถ้าพันธุ์ RRIM 1200 มีปัญหาจริงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจในการอนุญาตจดทะเบียนเพาะพันธุ์ยางด้วย
ทั้ง 2 ประเด็น เกี่ยวข้องกับเรื่องของ A : มาตรฐาน/ตัวชี้วัด และ B : เทคโนโลยีที่เหมาะสม
ทั้งหมดนี้เป็น คำถาม ที่ควรหยิบยกขึ้นมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแสวงหาความจริงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตร
ข้อมูลบางอย่างจะแสวงหามาพิสูจน์ความจริงต้องใช้เวลาทำงานวิจัยโดยหน่วยงานที่มีความชำนาญ ตัวอย่างที่ผมเห็นจาก Blog นี้ ได้แก่

- การเปิดรับ (Perception) ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรในการตัดสินใจเลือกปลูกยางพันธุ์ RRIM 1200
- ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดโรคเกี่ยวกัยระบบรากยาง
เป็น "หนังชีวิต" ที่ต้อง Built อารมณ์เขียนบท ก่อนที่จะลงมือสร้าง เมื่อเสร็จแล้วก็ต้องใช้เวลารับชม คงต้องสนับสนุนให้ นักวิจัย เขาเอาไปสร้างจะเหมาะสมกว่า
แต่ ในการทำงานของพวกเราชาว KM เกษตรชุมพร ซึ่งมุ่งมั่นใช้กระบวนการ KM เป็นแนวทางหลักในการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา พัฒนางาน, บุคลากร และพัฒนาองค์กร เราเลือกใช้วิธี Capture ความรู้จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความชำนาญโดยเชื้อเชิญให้นำเรื่องเล่ามาขายในตลาดนัดความรู้ KM เกษตรชุมพร ของเรา ให้เราได้ใช้ทักษะ คว้า และ ควัก เพื่อยกระดับความรู้ทั้งผู้ให้และผู้รับ เป็นวิธีการที่เร็วกว่า นำมาใช้ได้ทันที
วิธีการนี้ในโมเดลของการจัดการความรู้ SECI-Model เราเรียกว่า Externalization ครับ.

ี้

ชื่อ: ไอศูรย์
คำสำคัญ (Tags): #km#เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 46621เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อนุญาตทำความเข้าใจยางพาราพันธุ์ RRIM 1200

  • พันธุ์RRIM 600 คือยางพาราที่นำกิ่งตาของยางพันธุ์ดี(RRIM 600) มาติดตากับต้นตอพื้นเมือง
  • พันธุ์ RRIM 1200 คือยางพาราที่นำตาของยางพันธุ์ดี(RRIM 600)มาติดตามกับต้นตอที่เป็นยางพันธุ์RRIM 6008 คือข้างบน 600ข้างล่าง600 เกษตรกรบอกยางพันธุ์1200
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท