การจัดการเรียนการสอนแบบ POE


การเรียนการสอนนั้น ไม่สำคัญว่าครูจะทำอะไร แต่สำคัญที่...ผู้เรียนได้ทำอะไร

การจัดการเรียนการสอนแบบ Predict, observe, explain หรือ POE นั้นเป็นการใช้แนวคิดเชิง constructivism ในการจัดกิจกรรมการเรียน โดยเน้นที่การท้าทายผู้เรียนเพื่อให้เกิด "ความมีส่วนร่วม" ในกระบวนการที่จะเกิดขึ้น เพราะการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์แบบบรรยายอย่างเดียวนั้น เป็นการทำให้ผู้เรียนอยู่สถานะ "พยาน" นั่นก็คือ แค่ผ่านมาเห็นเหตุการณ์... ดังนั้น ความเข้าใจและทัศนคติ ก็อาจแตกต่างไปจาก "ผู้อยู่ในเหตุการณ์" อย่างแท้จริง

ใน หนังสือ Predict, Observe, Explain เขียนโดย John Haysom, Michael Bowen [(for garde 7-12) National Science Teacher Association Press, 2010] ได้เสนอลำดับการจัดการเรียนการสอนด้วย POE นั้น ได้นำเสนอเอาไว้ 8 ขั้นตอน คือ

 

ขั้นที่ 1 การแนะนำและสร้างแรงกระตุ้น (orientation and motivation)

ในขั้นตอนนี้เรามักเริ่มต้นด้วยประสบการณ์ของผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับ การทดลองที่เรากำลังจะได้ทำต่อไป ขั้นตอนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แสดงความเข้าใจหรือประสบการณ์เดิมที่ เกี่ยวข้องกับแนวคิดของการทดลอง

 

ขั้นที่ 2 แนะนำการทดลอง (Introducing the experiment)

แนะนำการทดลองที่จะทำ โดยยังไม่ต้องลงมือทำ พยายามเชื่อมโยงการทดลอง (หรือการสาธิต) กับความรู้ที่ได้เกริ่นแล้วเกิดให้เกิดความหมายที่สมบูรณ์

 

ขั้นที่ 3 การทำนาย (ล้วงเอาแนวคิดของผู้เรียน) [Prediction: the elicitation of students' ideas]

ให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนหรือนำเสนอแนวคิดของตนก่อนเริ่มการทดลองลงในใบ บันทึก (worksheet) โดยทำนายว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไรในขั้นตอนนี้มีความสำคัญต่อทั้งผู้ สอนและผู้เรียน โดยผู้เรียนจะได้รวบรวมความคิดและเกิดความตระหนักในการคิด

 

ขั้นที่ 4 อภิปรายผลการทำนาย (discussing their prediction)

ในขั้นนี้จะขอให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการทำนายเพื่อทำการอภิปรายทั้งห้อง โดยใช้กระดาน หรือ SMART board เพื่อนำเสนอผลการทำนายและเหตุผลที่ใช้การทำนายดังกล่าว ในขั้นตอนนี้ผู้สอนต้องกระตุ้นให้เกิดแรงผลักดันในการส่งเสริมการให้ข้อมูล และไม่ให้ผู้เรียนเกิดความวิตก หรือรู้สึกว่าคำทำนายของตนนั้น "ด้อยค่า"

จากนั้นให้อภิปรายเพื่อเลือกคำทำนายที่ดีที่สุด ในข้นตอนี้ผู้เรียนจะได้พิจารณาทบทวนแนวคิดของตนอีกครั้ง และอาจสิ้นสุดขั้นตอนนี้โดยการทำการโหวต

 

ขั้นที่ 5 สังเกตการณ์ (observation)

การทดลองส่วนมากที่นำเสนอนั้นจะเป็นการสาธิต หรือเป็นการทดลองให้ผู้เรียนลงมือเองได้ แต่หากเป็นการสาธิตก็ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วม จากนั้นให้ผู้เรียนเขียนบันทึกการสังเกต

 

ขั้นที่ 6 อธิบาย (Explanation)

ผู้เรียนมักปรับแต่งแนวคิดของตนผ่านการพูดคุยและเขียน และมักพบบ่อยๆว่าผู้เรียนจะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ เกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตได้ ก่อนที่จะลงมือเขียนอธิบาย เมื่อผู้เรียนเขียนอธิบายเสร็จแล้ว ควรทำการอภิปรายทั้งห้องอีกครั้งหนึ่ง

 

ขั้นที่ 7 เสนอการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ (Providing the scientific explanation)

แนะนำการอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ โดยขึ้นต้นว่า "นักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันได้คิดว่า..." ซึ่งจะดีกว่าการใช้ประโยคขึ้นต้นที่ว่า "การอธิบายที่ถูกต้องคือ..... " แล้วให้ผู้เรียนตรวจสอบความเหมือนและความแตกต่างของการอธิบายโดยนักเรียนและ การอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์

 

ขั้นที่ 8 ติดตามผล (Follow-up)

นักวิจัยพบว่าแนวคิดของผู้เรียนมักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลง และแม้แต่วิธี POE ก็ไม่สามารถทำได้นอกเสียจากว่าจะจัดขั้นตอนการเริ่มต้นให้มีคุณค่ามาก และรูปแบบการสอนนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและทดสอบ และใน POE บางครั้งจะติดตามด้วยขั้นติดตามผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้ที่ได้ไปใช้อธิบายเหตุการณ์ที่พบใน ชีวิตประจำวัน

 

 

จุดเด่นที่เข้มแข็งของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ POE ก็คือ สามารถช่วยให้ผู้สอนเข้าใจการคิดของผู้เรียน โดยในขั้นที่ 1 จนถึง 4 นั้นสามารถตรวจสอบ (สำรวจ) มโนมติเริ่มแรกของผู้เรียน ในขั้นที่ 6 และขั้นที่ 7 จะช่วยให้ผู้สอนสามารถติดตามดูการเปลี่ยนแปลงหรือจัดแจงความคิดของผู้เรียน ส่วนในขั้นที่ 8 ก็จะนำไปสู่การสะท้อนผลที่แสดงความก้าวหน้าของผู้เรียน

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะสนับสนุนหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนการคิด ซึ่งอาจะเป็นหรือไม่เป็นที่ยอมรับทางวิทยาศาสตร์ก็ได้ และให้คุณค่าต่อการเสนอแนวคิดของผู้เรียนเสมอ อันจะช่วยให้ผู้เรียนปรับตัวเข้ากับรูปแบบการเรียนการสอนนี้ได้เป็นอย่างดี

คำสำคัญ (Tags): #poe
หมายเลขบันทึก: 466145เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2011 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ มาเรียนรู้ด้วยคนนะคะ

POE ทำให้เห็นกระบวนการเกิด

และเข้าถึงปัญหา และสะท้อนให้ผู้สอนได้เข้าถึงความคิดของผู้เรียน

และนำไปสู่การเรียนรู้ทั้งทางกาย และทางใจ

ขอบคุณค่ะ

อยากได้หนังสือ Predict, Observe, Explainเขียนโดย John Haysom, Michael Bowen  ต้องการใช้ด่วน หาซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ

 

เขียนได้ดีและเข้าใจมากเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท