อยุธยามหาอุทกภัย


อยุธยามหาอุทกภัยในปี54

มหาอุทกภัย

“น้ำท่วมเขาว่าดีกว่าฝนแล้ง พี่ว่าน้ำแห้งให้ฝนแล้งเสียยังดีกว่า

น้ำท่วมคราใดทุกคนล้วนมีแต่คราบน้ำตา ต้องหนีน้ำขึ้นบนหลังคา

ถึงคราหมดเนื้อสิ้นตัว....”

          เนื้อเพลง “น้ำท่วม” ขับร้องโดย “ศรคีรี ศรีประจวบ” คงจะสะท้อนความเดือดร้อนได้เป็นอย่างดีฟังแล้วสะเทือนอารมณ์ โดยเฉพาะชาวบ้านที่ถูกน้ำท่วมเป็นแรมเดือน ทรัพย์สินเสียหาย ทำมาหากินไม่ได้ ข้าวยากหมากแพง หลายครอบครัวต้องอพยพออกจากบ้านมาอาศัยอยู่บนที่สูง บนท้องถนน ศาลาวัดและที่อื่นๆ ที่ทางราชการจัดให้เป็นศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เช่น ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วังน้อย) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) เป็นต้น

            ชาวบ้านต้องคอยรอรับความช่วยเหลือจากทางราชการ ไม่ว่าจะเป็นของกิน ของใช้ พอตกเวลาค่ำคืนก็ต้องนอนอย่างแออัด จะหลับทั้งทีก็แสนยาก มีปัญหาห้องน้ำห้องส้วมเพื่อการขับถ่าย จะอาบน้ำเพื่อชำระล้างร่างกายก็เป็นไปอย่างยากลำบาก กิจวัตรประจำวันระหว่างน้ำท่วมเป็นไปอย่างทุลักทุเล เกิดความเบื่อหน่ายชีวิต ใครไม่เคยถูกน้ำท่วมที่ยาวนานคงไม่รู้หรอว่าชีวิตที่ยากแค้น ลำเค็ญ แสนเข็ญ รันทดใจเพียงใด

          ชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เคยประสบอุทกภัยเป็นแรมเดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538 น้ำท่วมเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาทำความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก รวมทั้งโบราณสถาน โบราณวัตถุก็เกิดความเสียหายเช่นกัน

            พูดถึงเรื่องธรรมชาติแล้วอยุธยาเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยแม่น้ำลำคลอง มีลักษณะเป็นเกาะเรียกได้ว่า “เกาะเมืองอยุธยา” เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาจากปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ คือไหลผ่านอำเภอบางบาล อ้อมตัวเมืองอยุธยาทางด้านตะวันตกไหลลงไปทางใต้ของเกาะเมืองแล้วจึงไหลเข้าสู่อำเภอบางปะอิน บางไทร สองปากของแม่น้ำมีทิวทัศน์อันแสนจะงดงามของธรรมชาติ และยังมีแม่น้ำป่าสักไหลมาทางอำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง โอบล้อมตัวเมืองทางด้านตะวันออกมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางกะจะ หน้าวัดพนัญเชิง บริเวณนี้จึงเป็นวังน้ำวนที่ไหลเชี่ยวกรากมาก ส่วนแม่น้ำลพบุรีเป็นเส้นเลือดสำคัญของอยุธยา เพราะต้นธารน้ำไหลมาจากอำเภอเมืองลพบุรี ไหลเข้าสู่อยุธยาทางอำเภอบ้านแพรก อำเภอมหาราช อำเภอมหาราช โอบล้อมตัวเมืองอยุธยาทางด้านเหนือ ชาวบ้านเรียกแม่น้ำสายนี้ว่า “คลองเมือง” แม่น้ำลพบุรีมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสักที่บริเวณตลาดหัวรอ

            ลำน้ำสุดท้ายที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าแม่น้ำสามสายดังกล่าวมาแล้วคือแม่น้ำน้อย แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาทไหลผ่านหลายจังหวัดด้วยกันแต่ก็ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาอีกครั้งที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ลานเท” นั่นเอง

            กล่าวถึงทำเลที่ตั้งเกาะเมืองอยุธยาอยู่ในบริเวณชุมทางของแม่น้ำหลายสายซึ่งไหลผ่านปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการลงสู่อ่าวไทย จึงเป็นเส้นทางที่เรือสินค้าต่างประเทศสามารถแล่นเข้ามาติดต่อทำมาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาได้สะดวกสบายในอดีตกาล จึงเห็นได้ว่ากรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเมืองท่าอันสำคัญ มีความมั่งคั่ง เป็นศูนย์กลางพาณิชย์นาวีที่ยิ่งใหญ่แห่งอุษาคเนย์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23-24

          ด้วยความที่อยุธยาเป็นเมืองลุ่มน้ำและตั้งอยู่ในเขต “ดินดอนสามเหลี่ยม” อันเกิดจากการทับถมของตะกอนและโคลนตม ผืนแผ่นดินนี้จึงอุดมสมบูรณ์มาก จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งชาวอยุธยาแต่เดิมนั้นทำนาเป็นอาชีพหลักจนได้ชื่อว่าเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” สามารถส่งขายเป็นสินค้าออกที่สำคัญมาตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา

สถานการณ์สามน้ำ

          น้ำเหนือ

วันที่ 13 ต.ค. 2554

สถานการณ์โดยทั่วไป

  • สถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ลดการระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบทางด้านบริเวณท้ายเขื่อน และมีแนวโน้มที่ไหลเข้าอ่างลดลง
  • สถานการณ์น้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เริ่มคลี่คลาย เนื่องจากปริมาณน้ำเข้าอ่างเริ่มลดลง
  • สถานการณ์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ลดการระบายเหลือ 451 ลบ.ม./วินาที หรือคิดเป็นปริมาณน้ำ 39 ล้าน ลบ.ม./วัน เพื่อลดผลกระทบทางด้านท้ายเหมือง เนื่องจากแนวโน้มปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างฯ มีแนวโน้มลดลง
  • แนวโน้มสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากที่เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ปรับลดการระบายน้ำ จะทำให้ปริมาณน้ำด้านท้ายเขื่อนของทั้งสามแห่งลดลง และจะเป็นผลดีต่อสถานการณ์น้ำท่วมในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง หากไม่มีฝนตกหนักลงมาเพิ่มเติม สถานการณ์จะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้นในระยะต่อไป
  • สถานการณ์เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น มีการระบายออกเพิ่มขึ้นวันท 50-53 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสูงเกินระดับกักเก็บ อาจจะส่งผลให้พื้นที่ท้ายเขื่อนถูกน้ำท่วม (อำเภออุบลรัตน์ อำเภอภูเวียง อำเภอหนองเรือ อำเภอหนองนาคำ อำเภอเมือง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น อำเภอโนนสัง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม)
  • ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ รายงานสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา (13 ต.ค. 54) ที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 4,686 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มขี้นจากวานนี้ 18 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำสูงกว่าตลิ่ง 67 เซนติเมตร มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท 3,625  ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ลดจากวานนี้ 3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน สูงกว่าระดับตลิ่ง 79 เซ็นติเมตร ระดับน้ำท้ายเขื่อนสูงกว่าตลิ่ง 1.26 เซนติเมตร
  • เวลาประมาณ 12.45 น. เทศบาล บึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยมีเมฆฝนเคลื่อนตัวมาจากบริเวณคลอง 8 ซึ่งอาจทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีน้ำท่วมขังเพิ่มขี้น
  • เวลาประมาณ 13.00 น. การจราจรเส้นทางมุ่งหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือบริเวณ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำสูงท่วมถนน ซึ่งหากประชาชนต้องการเดินทางออกจากกรุงเทพมหานคร ควรใช้เส้นทางเลี้ยวรังสิตหรือวงแหวนตะวันออก เข้า อ.องครักษ์ จ.นครนายก มุ่งหน้า อ.บ้านนา ออกเส้นทาง อ.หินกอง ออกเส้นทางเลี่ยงเมืองสระบุรี ส่วนเส้นทางที่ถูกน้ำท่วมสูงบริเวณ อ.วังน้อย การจราจรติดขัดอย่างหนัก ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางดังกล่าว

 

          น้ำหนุน

            นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการประสานข้อมูลระดับน้ำทะเลหนุนกับกรมอุทกศาสตร์ พบว่า ในระยะนี้สถานการณ์น้ำในภาคเหนือและภาคกลางมีปริมาณมาก ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณสูงถึง 3,500 - 4,200 ลบ.เมตรต่อวินาที เป็นผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพเรือ กรุงเทพมหานคร ถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ใกล้เคียง จะมีความสูงประมาณ 1.95 - 2.30 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง และอาจสูงกว่า 2.30 เมตร ในช่วงที่มีปริมาณฝนตกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวมทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากกว่าปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงการระบายน้ำเพิ่มสูงขึ้น สำหรับในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่ 14 - 17 และ 28 - 31 ต.ค.นี้ โดยระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุดในช่วงวันที่ 29 ต.ค.

             นายวิบูลย์ กล่าวต่อว่า กรมปภ.ขอเตือนให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำเตรียมรับมือผลกระทบที่จะเกิดจากระดับน้ำเหนือที่ไหลหลากเข้าสู่กรุงเทพฯ ในช่วงที่มีฝนตกชุกหนาแน่นและน้ำทะเลหนุนสูงในคราวเดียวกัน โดยให้ติดตามสภาวะระดับน้ำอย่างใกล้ชิด   ขนย้ายสิ่งของ เครื่องใช้ และอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูง ให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง รวมถึงจัดทำกระสอบทรายเสริมเป็นแนวคันกั้นน้ำบริเวณหน้าบ้านและท่อระบายน้ำ พร้อมตรวจสอบให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง  ที่สำคัญ ในช่วงที่ก่อนที่น้ำจะไหลเข้าท่วมบ้านเรือน ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้า และงดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

 

          น้ำฝน

สถานการณ์ปัจจุบัน : สถานการณ์วิกฤตระดับ 3 เริ่มตั้งแต่ วันจันทร์ที่5 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลาทำการ : ตลอด 24 ชั่วโมง

ปริมาณฝน วันที่ 12 ตุลาคม ปริมาณฝนสะสม ตั้งแต่ ปริมาณฝนสะสม ตั้งแต่ ปริมาณฝนสะสมเทียบกับค่าปกติปี 2554 ปี 2553 1 - 12 ตุลาคม 2554 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2554 1 มกราคม – 12 ตุลาคม 2554

(ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา : ฝนวัดไม่ได้ ปริมาณฝนน้อยกว่า 0.1 มม. ฝนเล็กน้อย 0.1-10.0 มม.

ฝนปานกลาง 10.1 - 35.0 มม. ฝนหนัก 35.1- 90.0 มม. ฝนหนักมาก 90.1 มม. ขึ้นไป)

 

    เมื่อวานฟังนายกยิ่งลักษณ์ ออกรายนายกคุยกับประชาชนแล้ว ก็ถึงบางอ้อ ว่าที่แท้จริงแล้วนายกมีแนวความคิดจะเอาหญ้าแพรกเพื่อชะลอน้ำ แทนหญ้าแฝก คนเราบางทีไม่ได้ทำการบ้านมาหรือว่างานเยอะหรือว่าไม่รู้จริงในเรื่องหญ้าแฝกในเมื่อคนเกือบค่อนประเทศรู้จักหมดแล้วคนอย่างนายกยิ่งลักษณ์ไม่รู้ ไม่น่าจะเป็นไปไม่ได้ แต่มันเป็นไปแล้วครับ

      " ปริมาณน้ำมากจริงๆ การระบายน้ำก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แม้ว่าทางเจ้าหน้าที่ทุกคนพยายามจะบริหารจัดการแล้ว "

      ฟังนายกพูดแล้วเข้าใจเลยว่า หมดปัญญาที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมแล้วจริงๆแม้ว่าจะพยายามกันเต็มที่แล้ว แล้วเราจะทำอย่างไรละทีนี้ ยิ่งคนที่อยู่ในเมืองหลวง ฟังผู้ว่า กทม พูดบ้าง ก้ไปแนวทางเดียวกันคือหมดปัญญาในการแก้ปัญหาเหมือนกัน แบบนั้นก็เตรียมลอยคอกันละพี่น้อง

     หันมาดูปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆเริ่มขึ้นระดับ 100% หลายเขื่อนเร่งระบายน้ำแต่ว่าส่งผลให้น้ำท่วมคนใต้เขื่อน แต่จะทำอย่างไรได้ ไม่เร่งระบายน้ำออกจากเขื่อนก็มีสิทธิ์เขื่อนแตกได้เหมือนกัน ปริมาณน้ำมากขนาดที่ไม่เคยมีมาก่อนหากลองเสี่ยงเอาดาบหน้ามีสิทธิ์ที่จะพังเยอะกว่าเดิมนะครับ

     แบ่งๆความเดือดร้อนกันทั่วหน้า ตอนนี้รวมๆแล้วโดนไป 23 จังหวัด 150 อำเภอ ประชาชนเดือนร้อนไป 1.8 ล้าน คนตายไป 205 ราย ตามที่ ศอส.แจ้งมา

       ตอนนี้ประเทศไทยเหมือนกันเคราะห์ซัดกรรมซ้ำ น้ำท่วมยังไม่ลด พายุกระหน่ำกระลอกแล้วระลอกเล่า ล่าสุดเนสาด ยังไม่จางหาย พายุลูกใหญ่ที่มีชื่อว่า นาลแก ซึ่งไปสอดคล้องแดจังกึม หนังดังของเกาหลี แต่นี้ไม่ใช่หนังมันเป็นพายุ ที่มาแต่สร้างความเดือดร้อนให้กับมนุษย์เรา

การคาดการณ์ฝนล่วงหน้า 3 วัน 14 ต.ค.- 15 ต.ค. 54 15 ต.ค.- 16 ต.ค. 54 16 ต.ค. – 17 ต.ค. 54

7.00 น-19.00 น 19.00 น - 7.00 น. 7.00 น-19.00 น 19.00 น - 19.00 น. 19.00 น - 19.00 น.

(ข้อมูลจาก The National Centers for Environmental Prediction เริ่มพยากรณ์วันที่ 12 ต.ค. 54)

ในช่วงวันที่ 14 ต.ค. – 17 ต.ค. 54 คาดว่า ทุกภาคจะมีฝนตกกระจายทั่วไป ประมาณ 10-30 มม. และมีฝนตกหนักในบางพื้นที่ โดยเฉพาะ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ ภาคตะวันตก ประมาณ 30-60 มม. ในช่วงวันที่ 15 ต.ค. 54

 

สภาพฝน

             ปริมาณฝนสูงสุดรายภาค ตั้งแต่ เวลา 07.00 น. วันที่ 12 ตุลาคม 2554 จนถึง เวลา 07.00 น. วันที่ 13 ตุลาคม 2554 ดังนี้

ภาคเหนือ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53.4 มม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 131.4 มม.

ภาคกลาง ที่ อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี 13.4 มม.

ภาคตะวันออก ที่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี 84.3 มม.

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ที่ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 31.6 มม.

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ที่ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 83.2 มม.

 

 

 

กรุงเก่าก่อนกรุงแตกครั้งที่ 3

            กรุงศรีแตก! น้ำทะลักเข้าเกาะเมือง หมดหนทาง "ยิ่งลักษณ์" วอนพื้นที่เสี่ยงทั้งหมดอพยพด่วน ยอมรับเข้าขั้นวิกฤติ แต่ยังไม่ประกาศเป็นภัยพิบัติ "หนูไม่รู้" อ้างการทูตเช้าไปเย็นกลับไม่เลิกกำหนดการเยือนต่างประเทศ สั่งเข้มรักษานิคมอุตสาหกรรมไว้ให้ได้ เกาะเกร็ดจะไม่ไหวแล้ว เตรียมจุดพลุ 5 นัดให้ประชาชนอพยพ กทม.นึกอะไรไม่ออก ร่อนหนังสือเชิญ ผอ.ทุกเขตร่วมพิธีไล่น้ำ ก่อนยกเลิกเพราะโดนด่า "สุขุมพันธุ์" ยอมรับ 15-17 ตุลา.หนักแน่ อุโมงค์ยักษ์ง่อยน้ำระบายไม่ออก

              ขณะที่คนกรุงเทพฯ ให้ความสนใจข่าวน้ำท่วมอย่างใจจดใจจ่อ หลังมีกระแสข่าวเหลือเวลาอีกไม่กี่วันมวลน้ำระลอกใหญ่จะลงมาถึงกรุงเทพฯ แต่คนในบริเวณเกาะเมือง จ.พระนครศรีอยุธยา ต่างขวัญหนีหลังน้ำเริ่มทะลักเข้าไปภายในเขตเศรษฐกิจ แม้จะมีความพยายามรักษาเมืองมาอย่างเหนียวแน่นหลายวันแล้วก็ตาม

               ทั้งนี้ มีการประกาศให้เจ้าของยวดยานทุกชนิดนำรถออกจากพื้นที่เกาะเมืองในช่วงเช้า หลังน้ำจำนวนมหาศาลจากแม่น้ำเจ้าพระยา ลพบุรี และป่าสัก ไหลเข้าโจมตีเขตเทศบาลเมืองอโยธยาจมน้ำหมดไปก่อนหน้าแล้ว ขณะที่ใน ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญของอยุธยา ตั้งแต่วันที่ 5 ต.ค. ทางเทศบาลได้ป้องกันอย่างเต็มที่ แต่ทนกระแสน้ำไม่ไหว น้ำทะลักท่วมสูง 50 ซม.-1 เมตร

               นอกจากนั้นกระแสน้ำได้ขยายวงกว้างเข้าท่วมโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล สนามกีฬากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถนนสายโรจนะ ช่วงเจดีย์สามปลื้ม สูงกว่า 1 เมตร ต้องปิดการจราจรและชุมชนต่างๆ เต็ม 100% แล้ว อาทิ ชุมชนวัดพระญาติการาม ชุมชนการเคหะ ชุมชนไผ่ลิง ชุมชนตลาดสมจิตร ชุมชนวัดใหญ่ เป็นต้น

                 ที่วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักเข้าท่วมวัด พระภิกษุ-สามเณรกว่า 60 รูป ต้องเร่งขนย้ายของไปไว้ที่สูงกันอย่างอลหม่าน ซึ่งระดับน้ำที่ท่วมสูงกว่า 2 เมตร ทำให้โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญจมน้ำทันที

               นอกจากนี้มีการเปิดประตูระบายน้ำข้าวเม่า อ.อุทัย เนื่องจากเกรงว่าจะพังเหมือนประตูระบายน้ำบางโฉมศรี เจ้าหน้าที่จึงต้องรีบเปิด ทำให้น้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนหมู่ 1 ต.ข้าวเม่า และทะลักท่วมถนนสายเอเชีย กระแสน้ำพัดกัดเซาะคอสะพานเกือบขาดแล้วมวลน้ำดังกล่าวได้พุ่งตรงไปที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ

                สวนอุตสาหกรรมโรจนะซึ่งมีพื้นที่กว่า 11,000 ไร่ โรงงาน 198 โรง ยังเป็นพื้นที่เสี่ยงถูกน้ำท่วม ทางนิคมได้ทำคันดินป้องกันไว้สูง 5 เมตร เป็นระยะทาง 66 กม. เพื่อความปลอดภัย ทางเจ้าหน้าที่ได้ระดมรถแบ็กโฮกว่า 30 คัน เพื่อเสริมคันดินขึ้นสูงอีก 1.5 เมตร รวมเป็น 6.5 เมตร จากการตรวจสอบพบว่า โรงงานบางแห่งได้เร่งนำกระสอบทรายมาวางล้อมโรงงานเพื่อป้องกันอีกชั้น เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ฮอนด้า ที่ได้เร่งรีบขนย้ายรถซึ่งเพิ่งออกจากสายพานการผลิตจำนวนมากไปเก็บไว้ที่อาคารจอดรถสนามบินดอนเมือง

 สถานการณ์โดยภาพรวมใน จ.พระนครศรีอยุธยา แทบทุกพื้นที่ระดับน้ำได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

                ชาวบ้านบางส่วนยังคงติดอยู่ภายในที่พักอาศัยรอการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ สำหรับโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม หมู่บ้านโปรตุเกส และโบราณสถานป้อมเพชรยังคงถูกน้ำท่วม ทางกรมศิลปากรหมดทางกู้ ต้องปล่อยรอจนกว่าน้ำจะลดจึงจะวางแผนกู้ต่อไป

น้ำทะลักปทุมธานี
                ส่วนจังหวัดล่างลงมาคือปทุมธานี ชาวบ้านย่านตลาดสดเทศบาลเมืองปทุมธานี ต.บางปรอก อ.เมืองฯ จ.ปทุมธานี เร่งเสริมแนวกั้นน้ำริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่พังลงเป็นแนวยาวกว่า 2 เมตร จนน้ำไหลทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ร้านค้า และอาคารพาณิชย์ในตลาดปทุมธานีกว่า 100 ห้อง ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร โดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงจึงปิดแนวกั้นน้ำไว้ได้ ส่วนสาเหตุที่แนวกั้นน้ำพัง ชาวบ้านคาดว่าเกิดจากคลื่นเรือยนต์ที่วิ่งไปมาในช่วงกลางคืน

                 ขณะที่ภาพรวมสถานการณ์น้ำท่วมใน จ.ปทุมธานี หลายพื้นที่ยังถูกน้ำท่วมสูง เนื่องจากต้องรับน้ำที่ไหลมาจากหลายจังหวัดตอนบน เช่นเดียวกับ จ.นนทบุรี บางพื้นที่น้ำเริ่มเข้าท่วมแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ อ.บางบัวทอง

                 ที่วัดสนามเหนือ ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายวิศิษฐ์ พวงเพชร นายอำเภอปากเกร็ด หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาบก.กองทัพไทย ช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ และ อบต.เกาะเกร็ด ร่วมกันนำกระสอบทรายบรรทุกใส่เรือเสริมแนวคอนกรีตบริเวณรอบวัดปรมัยยิกาวาสเพื่อป้องกันน้ำท่วม

 พระสุเมธมุนี เจ้าอาวาสวัดปรมัยฯ กล่าวว่า บริเวณหน้าวัดปรมัยยิกาวาสและวัดไผ่ล้อมซึ่งเป็นพื้นที่ที่ยังไม่ถูกน้ำท่วม ส่วนบริเวณอื่นของ ต.เกาะเกร็ด น้ำได้ท่วมทะลักทุกพื้นที่แล้ว โดยบริเวณหน้าวัดปรมัยยิกาวาสมีแนวคอนกรีตกันน้ำยาวประมาณ 800 เมตรป้องกันอยู่ แต่จากปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องวันละประมาณ 10 ซม. รวมทั้งมีฝนตก ทำให้ระดับน้ำบริเวณหน้าวัดต่ำกว่าแนวคอนกรีตเพียง 30 ซม. และเสี่ยงต่อการถูกน้ำเอ่อล้นเข้าท่วม

                 ด้านนายวิศิษฐ์กล่าวว่า ล่าสุดทางเทศบาลปากเกร็ดได้ใช้เครื่องขยายเสียงประกาศเตือนให้ประชาชนทราบว่าระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณมากจนคันกั้นน้ำภายในซอยวัดกู้เกือบจะรับปริมาณน้ำไม่ไหวแล้ว ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเฝ้าระวัง ถ้าทางเทศบาลจุดพลุจำนวน 5 ครั้งให้ประชาชนที่อยู่ริมน้ำรีบอพยพออกมาจากพื้นที่โดยเร็ว ระดับน้ำอยู่ที่ 2.85 เซนติเมตร

                ส่วนพื้นที่ กทม.นั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ได้ร่วมประชุมแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่เขตหนองจอก โดยกล่าวว่า ขณะนี้มีระดับสูงมาก โดยเฉพาะคลอง 13 คลอง 14 คลองแสนแสบ ซึ่งเป็นคลองสายหลักในการระบายน้ำ ทำให้การระบายน้ำขณะนี้ยังไม่สามารถทำได้เต็มที่ แต่เจ้าหน้าที่ทุกคนต้องหาทางช่วยเหลือประชาชนให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมอย่างเขตหนองจอก และฝั่งตะวันออกของ กทม. โดยเฉพาะวันที่ 15-17 ตุลาคม คาดว่าจะมีน้ำทะเลสูงขึ้น หรืออาจจะมีน้ำเหนือและน้ำฝนเข้ามาในพื้นที่เพิ่มเติม จึงขอให้ทุกฝ่ายเตรียมการรับมือ โดยจะต้องใช้สรรพกำลังของ กทม.ทุกอย่างให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ในการช่วยเหลือประชาชน 

อุโมงค์ยักษ์ใช้งานไม่เต็มที่

                   ผู้ว่าฯ กทม.ยอมรับว่า การระบายน้ำเป็นเรื่องยากพอสมควร เพราะหลายๆ จุดมีน้ำเต็มทั้งหมด อีกทั้งอุโมงค์ยักษ์ก็ยังใช้งานไม่ได้เต็มที่ แต่ขณะนี้ กทม.ได้เปิดประตูระบายน้ำไปแล้วเกือบ 90% โดยสามารถผันน้ำได้วันละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ผ่าน 3 คลองคือ คลองแสนแสบ คลองประเวศ คลองทวีวัฒนา ซึ่ง กทม.พร้อมจะเปิดกว้างกว่านี้ แต่เกรงว่าประชาชนที่อยู่ริมคลองดังกล่าวอาจจะได้รับผลกระทบแน่ จึงขอความเห็นใจให้กับคน กทม. แบกรับภาระเช่นเดียวกับคนต่างจังหวัดด้วย

                      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักปลัดกรุงเทพมหานครออกจดหมายด่วนที่สุด ถึงผู้อำนวยการสำนักและหัวหน้าสำนักงาน ก.ก. ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2554 เรื่องขอเรียนเชิญร่วมพิธีไล่น้ำ ด้วยกรุงเทพมหานครได้กำหนดจัดพิธีไล่น้ำ ในวันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม 2554 เวลา 14.39 น. ณ ศาลหลักเมือง เพื่อวิงวอนร้องขอแม่พระคงคาช่วยบันดาลให้น้ำท่วมในกรุงเทพมหานครลดลงอย่างรวดเร็ว ต่อมามีการยกเลิกเพราะถูกวิจารณ์อย่างหนัก

                      นายพระนาย สุวรรณรัฐ รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้อำนวยการศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ประสบอุทกภัย 28 จังหวัด ได้แก่ สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี อุบลราชธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ สุรินทร์ ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี เชียงใหม่ ร้อยเอ็ด ลำปาง เลย นครราชสีมาและบุรีรัมย์ รวม 212  อำเภอ 1,523 ตำบล 11,268 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 826,749 ครัวเรือน 2,696,521 คน ผู้เสียชีวิต 252 ราย สูญหาย 3 ราย  

                 ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์น้ำพบว่า สถานการณ์ในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างยังค่อนข้างวิกฤติ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลวันละกว่า 100  ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่พื้นที่ดังกล่าวมีสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่แล้ว คาดว่ามวลน้ำจากเขื่อนภูมิพลจะไหลมาสมทบกับมวลน้ำเดิมในพื้นที่ภาคกลางตอนล่างในระยะ 7 วันข้างหน้า ส่งผลให้สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันที่ 13–17 ตุลาคม 2554 ช่วงวันที่ 26–31 ตุลาคม 2554  ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำทะเลหนุนสูงและมีน้ำเหนือไหลมาสมทบ หากมีฝนตกหนักจะทำให้สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งรุนแรงขึ้น   

                 นอกจากนี้ ในวันที่ 13-14 ตุลาคม 2554 ปริมาณน้ำที่ ไหลผ่านจังหวัดนครสวรรค์จะสูงถึง 5,500 ลบ.ม./วินาที ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านบริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในช่วงวันที่ 15-16 ตุลาคม 2554 สูงถึง 4,100 ลบ.ม./วินาที ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของเขื่อนเจ้าพระยา ส่งผลให้ระดับน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ สิงห์บุรี ชัยนาท อุทัยธานี  อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา

ปทุมธานี สุพรรณบุรี โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีและพระนครศรีอยุธยาขยายวงกว้าง และระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากปริมาณน้ำฝนและน้ำเหนือที่ไหลมาสมทบในช่วงดังกล่าว  ศอส.จึงได้กำชับให้จังหวัดพื้นที่ลุ่มริมแม่น้ำเจ้าพระยาและภาคกลางตอนล่างเตรียมพร้อมรับมือภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าขั้นวิกฤติ

เขื่อนทนเสียงด่าดีกว่าพัง
                   สำหรับสถานการณ์น้ำของเขื่อนภูมิพลยังไม่คลี่คลาย เพราะน้ำหลากมาจากทางภาคเหนือยังไม่ลด เมื่อวันพฤหัสบดีมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งสิ้น 183 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ทางเขื่อนยังต้องเปิดประตูระบายน้ำฉุกเฉินทั้งสองบานต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 และระบายในปริมาณรวมกันแล้วจำนวน 100 ล้าน ลบ.ม. โดยเหลืออีก 142 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 1 เปอร์เซ็นต์น้ำจะล้นอ่าง

                   นายศิริชัย แสงสุวรรณ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล กล่าวว่า การลดระบายหรือปิดประตูฉุกเฉิน ทางเขื่อนต้องมองอย่างรอบด้านว่าจะไม่ไปสร้างความยุ่งยากต่อการบริหารจัดการน้ำ แม้เราจะเห็นใจผู้เดือดร้อนที่โทร.เข้ามาต่อว่าเป็นต้นเหตุของความเดือดร้อน แต่ก็เป็นเหตุสุดวิสัยจากภัยธรรมชาติ เพราะน้ำเข้ามากและระบายออกน้อย หากเกิดน้ำล้นเขื่อนจะสร้างปัญหาที่ไม่คาดคิดได้ ขณะนี้ก็คงต้องเฝ้ารอสถานการณ์น้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำหากลดลงเหลือต่ำกว่า 100 ล้าน ลบ.ม.ทางเขื่อนก็จะปิดประตูฉุกเฉินได้

                  ช่วงสายวันเดียวกัน ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานดอนเมือง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมรัฐมนตรีและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯและ รมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม, นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์, พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.คมนาคม, นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข และนายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย 

 หลังการประชุม น.ส.ยิ่งลักษณ์แถลงว่า ที่ประชุมมีมติในการที่จะตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ซึ่งในภารกิจนี้จะตั้งศูนย์บัญชาการอยู่ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยจะร่วมทุกหน่วยงานทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะตอบสนองในการแก้ไข ปัญหาให้กับประชาชนโดยเร่งด่วน ซึ่งศูนย์นี้จะเริ่มเตรียมการทั้งหมด โดยผู้บัญชาการ ศปภ.นี้มี พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นผู้อำนวยการศูนย์ 

                  ส่วนที่สองจะมีการตั้งศูนย์ฝ่ายอำนวยการร่วม โดยมี พล.อ.อ. สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะทำหน้าที่ในการสนับสนุนฝ่ายปฏิบัติงาน จะครอบคลุมขั้นตอนตั้งแต่การประเมินสถานการณ์ในการแจ้งเหตุเตือนภัยต่างๆ รวมถึงการวิเคราะห์และแจ้งเตือนภัย และทบทวนดูในเรื่องของการเตือนภัยทั้งหมด เธอยอมรับว่า สถานการณ์น้ำท่วมขณะนี้เข้าขั้นวิกฤติ แต่ยังไม่ประกาศเป็นภัยพิบัติแห่งชาติ เพราะเชื่อว่าสามารถรับมือได้ และน้ำจะไม่เข้าท่วม กทม. เนื่องจากได้เร่งระบายน้ำรวมถึงหามาตรการรองรับสำหรับพายุลูกใหม่ไว้แล้ว อย่างไรก็ตาม อยากขอความร่วมมือประชาชนที่เคลื่อนย้ายออกจากบ้านพักที่น้ำท่วมไปอยู่ศูนย์อพยพ เพื่อให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างราบรื่น  

 "ขอเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า วันนี้หนักจริงๆ แต่จะถึงขั้นประกาศเป็นภัยพิบัติหรือไม่ ขอให้ศูนย์นี้ทำงานอย่างเต็มความสามารถก่อน"

                    นายกฯ กล่าวว่า เรื่องการเตือนภัยนั้นเราต้องการให้มีการอพยพประชาชนอยู่แล้วหากระดับน้ำมีปริมาณที่สูง แต่ในความเป็นจริงประชาชนบางส่วนยังมีความเป็นห่วงบ้านเรือนของตนเอง เราจึงดำเนินการได้คือย้ายประชาชนออกไปยังศูนย์อพยพต่างๆ ที่ได้จัดเตรียมไว้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ขอวิงวอนสื่อมวลชน ช่วยสื่อสารไปยังประชาชนให้ย้ายออกมาจากพื้นที่เสี่ยง และไปอยู่ที่ศูนย์อพยพ เพราะเป็นศูนย์ที่รัฐบาลจะสามารถช่วยเหลือดูแลได้อย่างเต็มที่และปลอดภัย เพราะวันนี้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าประชาชนที่อาศัยบนชั้น 2 จะมีความปลอดภัยหรือไม่

"หนูไม่รู้" ยังไปนอก

                    "ดิฉันไม่ยกเลิกภารกิจเดินทางเยือนต่างประเทศ เพราะเป็นการสานสัมพันธ์โดยเฉพาะด้านการค้า เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบหลังน้ำลด และการเดินทางจะไปแบบวันเดียว"

                    ด้าน พล.ต.อ.ประชากล่าวว่า ภารกิจที่ตนได้รับมอบจากนายกรัฐมนตรีและต้องเร่งดำเนินการคือการช่วยเหลือเร่งด่วนต่อผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ดูแลส่งอาหารเครื่องอุปโภคบริโภคให้เพียงพอและทั่วถึงกับพี่น้องที่ประสบอุทกภัย การเดินทาง ยานพาหนะทำให้เป็นระบบโลจิสติกส์ทั้งระบบ เตรียม การและเตือนภัยต่อประชาชนให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อการเคลื่อนย้ายต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญหน้าอยู่ การวางแผนเคลื่อนย้ายหาที่พักอาศัยให้กับประชาชนที่เดือนร้อนอยู่ขณะนี้ เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ถูกตัดขาดแล้ว

                      นายปลอดประสพกล่าวว่า สถานการณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาน้ำท่วมออกมา คันดินที่ประชาชนทำตรงกลางของจังหวัดก็พัง เพราะไม่ได้มีการถมดิน ทำเพียงการวางไว้บนถนน และน้ำมาก คาดการณ์ว่าน้ำในจังหวัดจะมีไปทั่วไปหมด เพียงแต่ว่ามากน้อยแค่ไหนก็คงไม่มีอะไรร้ายแรงไปกว่านี้ และค่อนข้างมั่นใจว่าจะรักษากรุงเทพฯ ได้พร้อมๆ กับรักษาเศรษฐกิจของประเทศชาติได้

                     รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยว่า สาเหตุที่ต้องปล่อยให้ถนนสายเอเชียระหว่างกิโลเมตร 11-21 ช่วง จ.พระนครศรีอยุธยาจมบาดาล โดยไม่มีการระบายน้ำเข้าสู่เขตรังสิตและกรุงเทพฯ เพ

หมายเลขบันทึก: 466024เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2011 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อุโมงค์ยักษ์ ยังสร้างไม่เสร็จ หรอครับ

  • สวัสดีค่ะ  คงไม่คำพูดใดๆ  จากชาวไร่ชาวนาแล้วละค่ะ  พูดไม่ออก
  • มีแต่ภาพ ว่านี่ไร่นาที่จมอยู่ในน้ำ หน่วยงานราชการต่างๆ  ไม่สามารถไปติดต่อราชการได้  นั่งทำงานยังไม่ได้เลยค่ะ
  • นี่คือถนน อุทัย - วัดสะแก - หัวรอ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท