โครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร


โครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร

1. โครงการ   “โครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร” 

2. หลักการและเหตุผล

                        กรมการปกครอง  ได้สนับสนุนงบประมาณให้กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ ๑ ปรับปรุงอาคาร สถานที่และจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการจัดตั้งศูนย์บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร   พร้อมทั้ง  ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.๒๕๕๔  เป็นจำนวนเงิน ๗๐๔,๐๘๐ บาท (เจ็ดแสนสี่พันแปดสิบบาทถ้วน) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการ  โดยจะต้องมีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูฯ ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ คน           

กรมการปกครองโดยส่วนปฏิบัติการพิเศษ สำนักอำนวยการกองอาสารักษาดินแดนมีแนวความคิดว่า กรมการปกครองมีสถานที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัด(กองร้อย อส.จ.) มีความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นสถานที่บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติด โดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยลูกผู้ชาย” มีเป้าหมายดำเนินการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ในปี ๒๕๕๔ จำนวน ๒๐,๐๐๐ คน และวิทยาลัยลูกผู้ชายจังหวัดอุตรดิตถ์  ได้กำหนดเป้าหมายดำเนินการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔  จำนวน  ไม่ต่ำกว่า ๑๕๐ คน(ดำเนินการไปแล้ว ๑ รุ่น ๕๐ คน)

ด้วยสำนักนายกรัฐมนตรี    ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๓๐๖ / ๒๕๕๓    ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ กำหนดให้มีปฏิบัติการ ประเทศไทยเข้มแข็ง ชนะยาเสพติดยั่งยืน ภายใต้ยุทธศาสตร์ ๕ รั้วป้องกันระยะที่ ๓ (พฤศจิกายน ๒๕๕๓ - กันยายน ๒๕๕๔) ประกอบกับคำสั่งคระกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ที่ ๑๔ /๒๕๕๓ เรื่อง ปฏิบัติการเร่งรัด ๓ เดือน (มกราคม-มีนาคม ๒๕๕๔ รองรับปฏิบัติการ ๕ รั้วป้องกัน ระยะที่ ๓ ให้ทุกจังหวัดเร่งปฏิบัติการลดจำนวนผู้เสพในจังหวัด โดย

๑. นำผู้เสพเข้าระบบบำบัดรักษาตามความเหมาะสม โยเน้นการชักชวน กระบวนการชุมชน เป็นแนวทางแรก และแนวทางบังคับบำบัด และระบบต้องโทษเป็นแนวทางรองลงมา โดยเร่งรัดใช้งบประมาณ งบกลาง ที่สำนักงาน ป.ป.ส.สนับสนุนเป็นงบประมาณชุดแรกสุด

๒. ให้จังหวัดพิจารณาหาสถานที่บำบัดรักษาที่เหมาะสมให้เพียงพอ เท่าที่สามารถดำเนินการได้เพื่อรองรับปริมาณผู้เสพที่ถูกจับกุมมากขึ้น หรือมารายงานตัวขอเข้ารับการบำบัดรักษามากขึ้น รวมทั้งสร้างความพร้อมในขั้นตอนการปฏิบัติต่างๆ เช่นชุดวิทยากร /ชุดครูฝึก

๓. ให้จังหวัดดำเนินการบำบัดรักษาอย่างครบวงจร โดยกำหนดจำนวนผู้เสพที่ผ่านการบำบัดรักษาจำนวนหนึ่ง เพื่อให้การติดตามช่วยเหลือ ฟื้นฟู พัฒนาอาชีพ แหล่งทุน การประกอบอาชีพ  วิถีการดำรงอยู่ตามปรัชญา แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดบทบาท กลไกในการติดตาม

ช่วยเหลือตามที่เหมาะสม สร้างกระบวนการการดำเนินการอย่างครบวงจรและมีระบบข้อมูลผู้ผ่านการบำบัดรักษาที่จะดำเนินการอย่างครบวงจร เพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟู ช่วยเหลือให้สามารถกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ

เพื่อให้จำนวนผู้เสพยาเสพติดในจังหวัดอุตรดิตถ์ลดลง ส่งผลให้วิถีชีวิต ความเป็นอยู่และความปลอดภัยนของประชาชนในส่วนร่วมดีขึ้น  และเป็นการบูรณาการทุกหน่วยงานที่มีเทคนิค วิชาการในการบำบัดรักษา ฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด วิทยาลัยลูกผู้ชายจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงได้จัดทำ”โครงการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการครบวงจร” ขึ้นมา

 ๓.  วัตถุประสงค์                        

๓.๑  เพื่อบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติดให้เป็นปกติ

๓.๒  เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาหวนกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก

๓.๓  เพื่อเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการ

       บำบัดรักษาไม่น้อยกว่าด้านการปราบปรามและด้านการป้องกัน

๓.๔ เพื่อเป็นการบูรณาการหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีการติดตามช่วยเหลือผู้ผ่าน 

       การบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบและรูปธรรม

๓.๕ เพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดรักษากลับคืนสู่สังคมและดำรงชีวิตได้อย่างปกติ

. กลุ่มเป้าหมาย                 

ผู้ที่สมัครใจเข้ารายงานตัวเพื่อเข้ารับการบำบัดรักษา หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยให้เข้ารับการบำบัดรักษา จากสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดอุตรดิตถ์ และสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดอุตรดิตถ์

 . วิธีการดำเนินการ        

             ๑.คัดเลือกบุคคลที่จะเข้ารับการบำบัดรักษา ประเภท กลุ่มเสพยาเสพติดในระยะเริ่มต้นและกลุ่มเสพยาเสพติดต่อเนื่อง เท่านั้น

๒. จัดประชุมชี้แจง โครงการค่าย”เราจะคืนคนดีสู่สังคม” (วิทยาลัยลูกผู้ชาย ) โดยที่ทำการปกครองจังหวัดอุตรดิตถ์ กลุ่มงานความมั่นคง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านบุคลากร และแนวทางการบำบัดรักษา

๓. ดำเนินการตามโครงการ (รุ่นละ ๗๕ คน ระยะเวลาดำเนินการ ๘ คืน ๙ วัน)

๔. ติดการการบำบัดรักษา หลังการเข้าร่วมโครงการฯ โดย คณะทำงานฝ่ายติดตามวิทยาลัยลูกผู้ชาย ใช้ระบบติดตามและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ของกระทรวงสาธารณสุข โดยอนุโลม

๕.ประเมินผลหลักการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามแบบประเมินของกระทรวงสาธารณสุข โดยอนุโลม

. ระยะเวลาดำเนินการ

           รุ่นที่ ๑ ในห้วงระหว่างวันที่ ๗-๑๕ มิถุนายน    ๒๕๕๔

              รุ่นที่ ๒ ในห้วงระหว่างวันที่ ๑๖-๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔

 ๗. สถานที่จัดกิจกรรมฝึกอบรม

กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ ๑ 

 . งบประมาณดำเนินการ  

            ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการปกครอง  จำนวนเงิน  ๗๐๔,๐๘๐บาท (เจ็ดแสนสี่พันแปดสิบบาทถ้วน)

 

 . ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                   

-    ผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่มีอาการ และความต้องการเสพยาเสพติดอีก

-    ผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่หวนกลับไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดอีก

-    หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องมีการบูรณาการและให้ความสำคัญกับการบำบัดรักษามากขึ้น

-    มีระบบการติดตามผู้ผ่านการบำบัดรักษาอย่างเป็นระบบ

- ผู้ผ่านการบำบัดรักษาสามารถคืนกลับสู่สังคมได้อย่างปกติ

 

๑๐. ผู้รับผิดชอบโครงการ                                            

            ที่ทำการปกครองจังหวัดอุตรดิตถ์ (กลุ่มงานความมั่นคง)

หมายเลขบันทึก: 465511เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท