การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้...สู่การสร้างความรู้ในการพัฒนาสุขภาพ


สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม (Approprite Technology) ไปใช้ในกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้ของมนุษย์

       การออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้...ต่อการกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้ (Knowledge Construction) ของมนุษย์นั้น...มีอยู่หลายฐานคิดที่นำมาสู่การออกแบบ Model ดังกล่าว...เคยมีคำถามถามดิฉันว่า...ทำไมเราต้องไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้...ทั้งๆ ที่มนุษย์เรานั้นสามารถสร้างความรู้ได้เอง..ตามธรรมชาติอยู่แล้ว...
...


       ภายใต้ฐานแนวคิดทฤษฎีที่เชื่อในกระบวนการทางปัญญาของมนุษย์นั้น มองว่า..แม้ความรู้ ของมนุษย์จะสร้างขึ้นเองตามธรรมชาตินั้น หากเราต้องการให้เขาเกิดการสร้างความรู้ตามเรื่องหรือปะเด็นที่เราต้องการให้เกิดนั้น จำเป็นต้องมีตัวกระตุ้นหรือตัวเร่งปฏิกิริยาให้มนุษย์นั้น เกิดการเชื่อมโยงความรู้จากประสบกรณ์เดิมกับความรู้ใหม่ที่รับเข้าไป...โดยผ่านกระบวนการดูดซึมทางปัญญา หรือที่เรียกกันว่า Assimilation หรืออาจเกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) ซึ่งกระบวนการที่เกิดขึ้นเหล่านี้ เป็นการปรับโครงสร้างทางปัญญา...ที่เสียสมดุลย์จากความสงสัย จากความไม่รู้...ไปสู่การหาคำตอบที่เรารู้เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม...

       ดังนั้นในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้นี้ (Instructional Design หรือ ID) เราต้องวิเคราะห์ไปถึงองค์ประกอบหรือ companent ในเรื่องนั้นๆว่ามีอะไรบ้าง...แล้วเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกันภายใต้ฐานแนวคิดทฤษฎีที่เรานำมาศึกษา...โดยจะต้องไม่แยกส่วนหากแต่จะหลอมรวมเชื่อมโยงกัน และที่สำคัญในการออบแบบนี้เราสามารถใส่ content เพื่อกระตุ้นให้เกิดการ Cognitive Activate หรือที่เราเรียกกันว่า "การกระตุ้นทางปัญญา"...

ในฐานะที่ดิฉันอยู่สายสาขาวิชาทั้งทางด้านสุขภาพ ...ด้านจิตวิทยาและทางด้านเทคโนโลยีนี้...มาสัมพันธ์ต่อกระบวนการดังกล่าวนี้ได้อย่างไรนั้น...นั่นก็คือ...จากฐานคิดทางทฤษฎีของแนวคิดทางการออกแบบสื่อที่เปลี่ยนไปจากยุค ID1 ไปสู่ยุค ID2 ตาม AECT นั้น เน้นการนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติตามหลักการที่ว่า DDUME...
D = Design
D = Development
U = Uterization
E = Evaluate

       นั่นคือ เรามองสภาพบริบทและทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นตัวตั้ง แล้วนำไปสู่การจัดสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ โดยเลือกสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม (Approprite Technology) ไปใช้ในกระตุ้นให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้ของมนุษย์...ซึ่งกระบวนการสร้างความรู้ที่ดิฉันต้องการให้เกิดนั้น มุ่งเป้าตรงมาที่เรื่อง "การพัฒนาสุขภาพ" ที่เป็นการส่งเสริมป้องกันมากกว่า...ที่จะเน้นการบำบัดรักษาเมื่อยามเจ็บป่วย...ดังนั้น หากมนุษย์เรานั้นสามารถสร้างความรู้ในการดูและและพัฒนาสุขภาพตนเองได้นั้น ย่อมนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดีต่อการดำรงชีวิตของตนเองได้

หมายเลขบันทึก: 46519เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณคุณกะปุ๋มมากนะครับ สำหรับสาระดีๆ เกี่ยวกับการเรียนรุ้

เสียดายนะครับที่หลายๆ คนให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีทางการศึกษา จนมองข้ามความสำคัญของการปลูกฝังนิสัยรักการเรียนรู้

จึงปรากฎบ่อยๆ ว่า แม้ว่าจะเทคโนโลยีจะเหมาะสมเพียงใด แต่คนก็ยังขาดนิสัยที่จะเรียนรู้  อีกทั้งบางคนยังหลงชื่นชมไปกับเทคโนโลยีอันสวยงาม โดยทิ้งผู้เรียนมองตาค้างอยู่ข้างหลัง 5555

ตอนผมไปเรียนใหม่ ๆ เพือนร่วมชั้นเรียนผมก็เป็นออสซี่ที่อายุประมาณ 40-58 ปี  ผมคิดว่า คนเหล่านี้คงจะเรียนลำบาก เพราะใช้เรียนผ่านเวบหมดเลย

แต่ที่ไหนได้ ผมกลับรู้สึกอายเพือนๆ สูงอายุของผม เพราะเขาใช้เน็ตในการหาข้อมูลได้คล่องมาก แถมจำได้อย่างเยี่ยมยอดว่า ข้อมูลแต่ละอันได้มากจากเวบไหน ฐานข้อมูลอะไร

สิ่งนี้ทำให้ผมคิดว่า นิสัยการเรียนรู้ของคนไทยต่างจากคนชาติอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นเรือง นิสัยรักการอ่าน หรือการคิดวิเคราะห์สิงที่ได้อ่าน

ผมเห็นว่าสองเรืองนี้เป็นสิ่งสำคัญมากกว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาเสียอีก 

ผมจำได้ว่า เคยอ่านงานวิจัยจำนวนกระดาษที่ใช้ภายในแต่ละประเทศ ต่อสัดส่วนประชากร พบว่าในประเทศเจริญ มีสัดส่วนการใช้กระดาษสูงมาก แม้เทคโนโลยีจะช่วยสนับสนุนนโยบาย paperless ก็ตาม   สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นนิสัยรักการอ่านของคนชาตินั้นๆ เพราะสัดส่วนกระดาษที่ใช้ไปหมดไปกับการพิมพ์เอกสารนั่นเอง

ไม่แน่ใจว่า ตอนนี้ยังมีการสอนเรือง หัวใจนักปราชญ (สุ จิ ปุ ลิ) อยู่หรือเปล่า

 

คุณคนไกล..

ขอบคุณมากนะคะที่มาร่วมต่อยอด...ความรู้กับกะปุ๋มเสมอ...

ตาม Trend ของ Educational Technology ตามฐาน AECT นั้นตอนนี้เรานำ Theory to Practice...มากกว่าที่จะเชื่อเพียงแค่ว่า...ผลิตสื่อออกมาเพียงแค่การตอบสนองต่อพฤติกรรมของมนุษย์เท่านั้น...แนวคิดในการผลิตสื่อเราจะมองลึกไปกว่านั้น แต่ละส่วนที่ออกแบบไม่ว่าจะเป็นสื่อ CAI Multimedai Text ฯลฯ การใส่ภาพ เสียง หรือสี ทุกอย่างอยู่ภายใต้ Massage Design และ Medai Atrribution สามารถไปกระตุ้นทางปัญญาของผู้รับสื่อมากเพียงใด ... เมื่อก่อนหรือแม้แต่เดี๋ยวนี้ในนักเทคโลยีการศึกษาบางกลุ่มจะเชื่อเพียงแค่ว่าเมื่อผู้เรียนเรียนผ่านสื่อเราจะวัดไปที่ผลสัมฤทธิทางการเรียน...และมักเอาสื่อเป็นตัวตั้ง

แต่ตามฐานเชื่อใหม่ที่เราเชื่อภายใต้ Trend นี้เราจะยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง...และออกแบบสื่อให้สอดคล้องกับบุคคลและสภาพตามบริบทของผู้เรียน...เพื่อมุ่งเน้นไปกระตุ้นกระบวนการเรียนรู้ของเขาให้มากที่สุด...โดยเน้นไปที่การเกิดกระบวนการสร้างรู้เพราะเราเชื่อว่ากลไกด้านนี้น่าจะส่งผลต่อความคิด ปัญญา และสู่การปฏิบัติของมนุษย์มากกว่าเน้นการเกิดพฤติกรรมซ้ำๆ...เพียงอย่างเดียว
...

หากจะพูดเรื่องนี้..คงยาวกะปุ๋มคงจะบันทึกออกมาเรื่ยนนะคะ...ยังไงคุณคนไกลอย่าลืมมาต่อยอดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อนะคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

  • เป็นเทคนิคที่ดีมาก ๆ เลยครับ
  • ตอนที่ผมทำวิจัยแบบ PAR ก็ต้องใช้เทคนิคทางด้านนี้เหมือนกันโดยเฉพาะตอนที่อยู่ในชุมชน ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามสิ่งแวดล้อม และทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อเกิดกระบวนการร่วมกันเรียนรู้ตลอดเวลา
  • มาอ่านบันทึกของ Dr.Ka-poom บันนี้ทึกก็ได้หลายสิ่งหลายอย่างที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ครับ
  • ขอพลังความรู้จงสถิตกับท่านกะปุ๋มตลอดไป

คุณปภังกร...

ยินดีคะ..หากสิ่งดีดีนี้สามารถจุดประกายต่อยอดความรู้ของท่านได้ต่อไป...

...

การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ หรือ Instructional Design นี้...กะปุ๋มใช้ฐานคิดหลายอย่างมาเป็นกรอบในการออกแบบ...หากเสร็จสิ้นเมื่อไหร่จะนำมาบอกเล่าสู่กันฟังใหม่นะคะ...

ขอบคุณคะ

ขอบคุณมากครับสำหรับแนวคิดในการจัดสภาพสิ่งแวดล้อมใหม่การเรียนรู้

เพราะโดยปกติเราสามารถคุมสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนได้เพียงแค่ 8 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้นซึ่งแนวคิดในการจัดสิ่งแวดล้อมใหม่นี้ทำให้เราสามารถที่จะสร้างให้เด็กของเราได้รู้จักสร้างการเรียนรู้ใหม่ได้อีกเยอะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท