โครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน (ไทย-มาเลเซีย)”


เมื่อการรวมกันเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนคืบคลานเข้ามาเราเองคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะเรียนรู้และพัฒนาในความพร้อมที่จะรองรับความเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๕๘) โดยเฉพาะความพร้อมของเด็กและเยาวชนเราที่เมื่อถึงวันนั้นต้องตอบตัวเองให้ได้ว่ายุวชนไทยของเราหรือเยาวชนไทยของเราจะอยู่จุดไหนของอาเซียน

 

“โครงการกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนไทยกับเยาวชนจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันรามจิตติและเครือข่ายทางวิชาการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาไปสู่โครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน (ไทย-มาเลเซีย)”

ภูมิหลังของความตั้งใจในการก่อเกิดโครงการฯ 

          ตลอดระยะเวลาร่วม ๕-๖ ปีที่ผ่านมา การริเริ่มโครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดย สกว. ภายใต้ความร่วมมือขับเคลื่อนงานของสถาบันรามจิตติ สามารถสร้างพลังเด็กและเยาวชนเพิ่มผลิตผลพลังปัญญาทางความคิดการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมากมายในการเรียนรู้และทำความเข้าใจของกันและกันบนฐานรากของการสร้างองค์ความรู้เหล่านั้นจากเด็กและเยาวชนเอง จุดนี้ถือเป็นมิติที่ดีสำหรับการสร้างสรรค์การเรียนรู้ในสิ่งที่เรียกว่า “องค์ความรู้อันทรงคุณค่าจากท้องถิ่น”

          เมื่อการรวมกันเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนคืบคลานเข้ามาเราเองคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะเรียนรู้และพัฒนาในความพร้อมที่จะรองรับความเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า (พ.ศ.๒๕๕๘) โดยเฉพาะความพร้อมของเด็กและเยาวชนเราที่เมื่อถึงวันนั้นต้องตอบตัวเองให้ได้ว่ายุวชนไทยของเราหรือเยาวชนไทยของเราจะอยู่จุดไหนของอาเซียน กระทรวงวัฒนธรรมจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการตั้งรับในอีกมิติที่ใครๆหลายคนพุ่งเป้าไปที่มิติของเศรษฐกิจอาเซียนเสียเป็นส่วนใหญ่เมื่อนึกถึงความเป็นอาเซียน แต่ลืมมิติวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่จะเป็นฐานรากสำคัญให้มิติอื่นๆที่จะก้าวเข้าไปสู่การรวมเป็นหนึ่งของภูมิภาคอาเซียนสำหรับประเทศไทยได้บรรลุผลแห่งเป้าหมายได้โดยแท้จริงและยั่งยืน เพราะการเข้าใจวัฒนธรรมร่วมกันมันมีคุณค่ามากกว่าเขตแดนประเทศที่ขีดขั้นความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องของผู้คนที่เชื่อมและร้อยเรียงสายสัมพันธ์กันมาอย่างช้านานเอาไว้

          ด้วยเหตุนี้ภาพความร่วมมือในโครงการยุววิจัยไทย-มาเลเซียจึงได้เกิดขึ้นภายใต้การเล็งเห็นความสำคัญของกระทรวงวัฒนธรรม สถาบันรามจิตติ นำโดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ดร.จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ และทีมงานสถาบันรามจิตติ (ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนมิติของเด็กและเยาวชนไทยในการพัฒนารอบด้านอย่างเห็นองค์รวมของความมุ่งมั่น) รวมถึงคุณอาภา อนันตูลและคณะ สกว. ตลอดจนเครือข่ายทางวิชาการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นำทีมโดย      ผศ.สุกรี หลังปูเต๊ะ และคณะทีมงานวิชาการจากมหาวิทยาลัยอิสลามยะลา(ซึ่งมีบทบาทและความเชี่ยวชาญอย่างมากในการพัฒนาสังคมพื้นที่อย่างมุ่งมั่นตั้งใจที่ผ่านมา) ภายใต้เครือข่ายในพื้นที่นำร่องร่วมสร้างภาพฝันของความตั้งใจร่วมกันคือ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ร.ร.นูรุดดีน(ตากใบ) และ ร.ร.ตายุลอิสลาม(บาเจาะ) และที่สำคัญคงจะลืมไม่ได้หากจะสร้างความร่วมมือเรียนรู้ร่วมกันกับประเทศเพื่อนบ้านคือเครือข่ายจากประเทศพื้นบ้านเองนำทีมโดย Dr. Mohamad Noor Awang Kechik และคณะ ที่จะเป็นแรงผลักขับเคลื่อนเชื่อมต่อสายสัมพันธ์การเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างแนบแน่นและรวดเร็วยิ่งขึ้น

ห้วงเวลาตลอด ๓ วันของพลังผลักดันทางความคิด 

          สิ่งที่ทุกคนอยากเห็นร่วมกันคือ มิติของสิ่งดีๆร่วมกันทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคตในภายภาคหน้าระหว่างไทยกับมาเลเซีย ตลอดจนการพัฒนาไปสู่เครือข่าย (Network) ที่จะร่วมทำงานการสร้างองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าร่วมกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนและนักวิชาการของทั้งสองประเทศ จึงก่อเกิดประมวลความคิดตลอดช่วง ๓ วันดังนี้

๑๘ กันยายน ๒๕๕๔ ทีมวิจัยต้อนรับคณะเครือข่ายการเรียนรู้จากมาเลเซีย พร้อมประชุมชี้แจงหารือเกี่ยวกับความร่วมมือและเตรียมพร้อมกิจกรรมที่จะเกิด รวมถึงโจทย์ทีเกี่ยวขัองกับวัฒนธรรมร่วมที่จะเป็นโจทย์ของการพัฒนาโครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน ไทย-มาเลเซีย โดยมี ผศ.สุกรี หลังปูเต๊ะ มอย. และดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ นำทีมพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาโจทย์ในการขับเคลื่อนโครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียนในมิติของ ไทย-มาเลเซีย ซึ่งมีผู้แทน ผู้เชี่ยวชาญจากมาเลเซียนำทีมโดย Dr. Mohamad Noor Awang Kechik และคณะมาร่วมงาน ประเด็นโจทย์ที่น่าสนใจในการขับเคลื่อนร่วมกันมีมากมายจากวงสนทนาพูดคุยในค่ำคืนนี้ เช่น เรื่องกริซ เรื่องวายัง (เชิดหนัง) เรื่องมัสยิด เรื่องว่าวบูลัน เป็นต้น และยังมีโจทย์อีกมากมายที่น่าจะพัฒนาไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ภาษาในความเหมือนและต่างกันบนฐานรากของความเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างไทยมาเลเซียที่จะบอกเล่าเรื่องความสัมพันธ์อันดีเฉกเช่นอดีตที่ผ่านมาได้อย่างน่าสนใจจากการนำเสนอของคุณครูมารีนาในเบื้องต้น ตลอดจนสิ่งที่น่าขบคิดในนโยบายของรัฐบาลมาเลเซียที่ว่า “คุณเป็นคนเชื้อชาติอะไร แต่นี่ประเทศมาเลยเซีย คุณคือคนมาเลย์เซีย (มาเลย์ทำสำเร็จในความตั้งใจ “๑ มาเลเซีย”) เหล่านี้ล้วนเป็นโจทย์ที่ทุกคนทุกฝ่ายจะต้องร่วมขบคิดกันต่อว่าเราจะร่วมขับเคลื่อนสิ่งดีๆที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไปยังไง

 ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ กิจกรรมในวันที่สอง คณะทำงานทั้งหมดร่วมเดินทางมุ่งสู่มัสยิดตะโละมาเนาะห์ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส เพื่อร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตผู้คนรอบมัสยิด ตลอดจนสถาปัตยกรรมร่วมที่เกิดขึ้นเป็นการจัดกิจกรรมครั้งแรกที่เปิดเวทีพุดคุยกับชุมชน หลายคนมา(ถ่ายภาพ) สัมภาษณ์ แล้วก็ไป ได้ผลงานมากมายออกมา แต่ก็ลืมเห็นคุณค่าความสัมพันธ์ที่ทรงคุณค่าของวิถีชีวิตที่มีให้ ในกิจกรรมนี้ได้รับการต้อนรับอย่างดี(ยิ่ง) จากชาวบ้านในพื้นที่โดยการนำทีมของอีหม่ามประจำมัสยิด มีการปูพื้นภูมิหลังทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับมัสยิดและชุมชนโดยรอบจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสองท่านคือ อ.อะฮฺหมัด สมบูรณ์บัวหลวง และ อ.อิสมาแอล เบญจสมิธ ตลอดจนได้มีการสนทนาและอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับเรื่องราวที่อยากเรียนรู้จากกรณีมัสยิดตะโละมาเนาะห์และเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้อง ผ่านการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองจากนักวิชาการ เครือข่ายผู้เชี่ยวชาญจากประเทศมาเลเซียและจากส่วนกลาง (กระทรวงวัฒนธรรมและ สกว.) ซึ่งได้รับการตอบรับและการตั้งโจทย์ที่น่าสนใจมากมายทั้งในมิติประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม

ช่วงบ่ายคณะทีมงานได้เดินทางมุ่งสู่รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เยี่ยมชมเรียนรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตในมิติศาสนา โดยเยี่ยมชมมัสยิดที่เป็นสถาปัตยกรรมร่วมระหว่างจีนกับเปอร์เซีย จากนั้นทีมวิทยากรได้มีการพาไปเยี่ยมชมมัสยิดกำปงลาวด์ ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยกว่า ๓๐๐ ปีล่วงมาแล้ว ร่วมกับนักวิชาการประวัติศาสตร์ทั้งไทยและมาเลเซีย สิ่งที่น่าขบคิดสำหรับการพัฒนาโจทย์คิดร่วมกันคือ สถาปัตยกรรมของมัสยิดตะโละมาเนาะห์ในประเทศไทยกับมัสยิดกำปงลาวด์ของประเทศมาเลเซียที่มาที่ไปที่จะบอกได้ชัดเจนว่าความคล้ายคลึงถึงขั้นจะใช้คำว่า “เหมือน” ของมัสยิดทั้งสองนั้นคำตอบคืออะไร นี่คืออีกหนึ่งโจทย์ที่จะต้องร่วมกันสานต่อเพราะอาจจะเป็นความสันพันธ์อันดีที่จะช่วยร่วมปูทางวางฐานการที่จะนำประเทศไทยไปสู่การรวมเป็นหนึ่งภูมิภาคอาเซียนผ่านมิติของทางวัฒนธรรมที่กระทรวงวัฒนธรรม สถาบัน ตลอดจนองค์กรต่างๆอยากจะเห็นในความเป็นไปในบริบทที่อาจต้องทบทวนมากกว่าเรื่องของเขตแดน หรือแม้กระทั่งเรื่องของผู้ประกอบการเครือข่ายเยาวชนในเขตตุมปัต ของคนไทยเชื้อสายมลายูในวิถีชีวิตที่คณะทีมงานทุกคนได้ไปสัมผัสและเรียนรู้ก็เป็นอีก ๑ โจทย์ที่จะมองหามิติการศึกษาร่วมกันบนฐานรากของวัฒนธรรมอันดีต่อไปในอนาคต

๒๐ กันยายน ๒๕๕๔ เรียนรู้วิถีชาวบ้าน กินอยู่แบบคนกำปง(บ้านๆ) ตามแบบวิถีท้องถิ่น ก่อนเดินทางไปเยี่ยมชมวัดมัชฌิมาวัดไทยและชุมชนชาวสยามในเขตตุมปัต เรียนรู้การสอนภาษาไทยและวิถีไทยโดยมีพระสงฆ์ชาวสยาม เด็กๆ ที่นี่เรียนภาษาไทยพร้อมพุทธศาสนา เด็กมัธยมต้องเรียนจบนักธรรมโท และสามารถเรียนต่อจนถึงนักธรรมเอก นอกจากนี้ในวัดดังกล่าวยังมีการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยด้วย โดยมีห้องเรียนเด็กเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละช่วง สิ่งที่น่าจะยิบยกมาเป็นประเด็นโจทย์วิจัยสำหรับการเข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตของผู้คนภายในวัดพร้อมกับการร่วมรับฟังการพูดคุยแลกเปลี่ยนจากท่าน Dr. Mohamad Noor Awang Kechik และคณะ คือ ความสัมพันธ์ของคนหลากช่วงวัยสองวัฒนธรรมศาสนา (พุทธ-มุสลิม) ในเชิงความสัมพันธ์ในอดีตจวบจนปัจจุบันในประเทศมาเลเซีย คนไทยเชื้อสายมาเลเซียกับคนมาเลเซียโดยภูมิหลังมีสายสัมพันธ์อันดีกันอย่างแนบแน่น คำถามก็คือว่า อะไรคือมิติที่ร้อยเรียงความสัมพันธ์เสมือนพี่น้องของคนเหล่านี้ ยุวชนหรือเยาวชนปัจจุบันจะยังคงมีความรู้สึกและเห็นคุณค่าของมิติเหล่านี้อยู่อีกไหม การดำรงและปกปักให้สิ่งดีๆเหล่านี้วางอยู่บนฐานรากการศึกษาต่อไปจะทำให้คุณค่าวัฒนธรรมจะเปิดประตูสู่การอยู่ร่วมกันอย่างประจักษ์ใช่หรือไม่ ล้วนเป็นคำถามที่คณะทำงานต้องร่วมขบคิดค้นหาคำตอบบนพื้นฐานพลังบริสุทธิ์ของยุววิจัยอาเซียนของไทย

นอกจากนี้ทีมงานได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนโรงเรียนต่างๆ ที่มีเด็กสยาม-มาเลเซีย ในเขตตุมปัต เรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนของโรงเรียนต่างๆ ๒ แห่ง โดยแห่งแรกเป็นโรงเรียนที่มีครูชาวสยามและชาวมุสลิมร่วมกันกว่าครึ่งช่วยกันสอนยุวชน ส่วนอีกโรงเรียนหนึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงเรียนที่มีเด็กมีผลสัมฤทธิ์ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเขตตุมปัต รัฐกลันตัน เป็นโรงเรียนที่ติดอันดับที่ ๔๐ ของประเทศมาเลเซียและกำลังจะเข้าสู่การประเมินเพื่อรองรับความยอดเยี่ยมให้ประจักษ์ในการติด ๑ ใน ๑๐ ของประเทศมาเลเซียจากรัฐกลันตัน สิ่งที่ปรากฏข้อค้นพบในคำตอบของความสำเร็จของทั้งสองโรงเรียนคือ การจัดการศึกษาบนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมและยึดนโบาย "ภูมิบุตรา" ของรัฐบาลมาเลเซียเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการและความหลากหลายของยุวชน ที่มีทั้งเด็กเชื้อสายสยาม เด็กเชื้อสายจีน เด็กเชื้อสายมลายู และเด็กเชื้อสายอินเดีย เป็นต้น ทั้งหมดนี้เป็นกิจกรรมนำร่องเพื่อนำไปสู่การตั้งโจทย์อีกมากมายสำหรับการขับเคลื่อนและพัฒนาโครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียนกรณีไทย-มาเลเซียที่จะมีขึ้นในระยะต่อๆไป เพื่อสร้างฐานองค์ความรู้ที่ควรจะเป็นจุดเริ่มของการอยู่ร่วมกันบนพื้นฐานคำว่า “การรวมกันเป็นหนึ่งภูมิภาคอาเซียน”

ประเด็นของจุดเริ่มโจทย์วิจัยที่น่าขบคิด 

          ภายใต้กรอบคิด “คิดใหญ่ ทำเล็ก ทำประณีต” คือจุดเริ่มต้นของโครงการในประเด็นโจทย์ที่น่าจะยิบยกนำมาสานต่อในระยะต่อๆไปของการริเริ่มโครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน: กรณีไทย-มาเลเซีย เพื่อให้ยุววิจัยของเราได้ขบคิดพัฒนาโจทย์ต่อไปร่วมกันในการนำร่อง คือ

-          สิ่งดีงามในพื้นที่จะทำอย่างไรให้เป็นทุนในการรองรับความเป็นอาเซียน

-          ความรุ่งเรืองของมัสยิดบอกเล่าความรุ่งเรืองอะไรในอดีต

-          ทุนทางสังคมคืออะไรที่มีบทบาทปกปักรักษาเรื่องราวดีๆของพื้นที่

-          สถาปัตยกรรมของมัสยิดบนความเหมือนของมัสยิดตะโละมาเนาะห์ มัสยิดกำปงลาวด์และมัสยิดในประเทศอินโด ในเมือ Yokjakata จะบอกอะไรในฐานวัฒนธรรมเพื่อรองรับการเรียนรู้อาเซียนที่ควรจะเป็น

-          การหาความจริงที่ไม่ทะเลาะกันบนฐานรากของความสัมพันธ์อันดีที่น่าขบคิดในภูมิรับรู้ของความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่ต่างกัน

ความสัมพันธ์ของคนหลากช่วงวัยสองวัฒนธรรมศาสนา (พุทธ-มุสลิม) ในเชิงความสัมพันธ์ในอดีตจวบจนปัจจุบันในประเทศมาเลเซีย คนไทยเชื้อสายมาเลเซียกับคนมาเลเซียโดยภูมิหลังมีสายสัมพันธ์อันดีกันอย่างแนบแน่น คำถามก็คือว่า อะไรคือมิติที่ร้อยเรียงความสัมพันธ์เสมือนพี่น้องของคนเหล่านี้ ยุวชนหรือเยาวชนปัจจุบันจะยังคงมีความรู้สึกและเห็นคุณค่าของมิติเหล่านี้อยู่อีกไหม

-          วิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนมลายูมาเลย์ที่เขามาเกิดวัฒนธรรมใหม่ในวัฒนธรรมมลายูที่นี่(ไทย) การปรับตัวที่จะอยู่ร่วมกัน

-          คำขวัญ ๑ วิสัยทัศน์ ๑ อัตลักษณ์ ๑ ประชาคม จะต่อยอดฐานคิดได้อย่างไรในโครงการ

-          ความสัมพันธ์ของสายตระกูลเชื้อชาติ

-          ผู้ประกอบการเยาวชนในรัฐตุมปัตกับการดำรงอยู่ในวิถีชีวิตฉันท์พี่น้องที่น่าสนใจ

-          สำเนียงทางภาษาที่จะร้อยเรียงความสัมพันธ์ในอดีตของคนสยามในอดีตกับคนไทยในปัจจุบันในการดำรงอยู่ของสำเนียงเสียงภาษาที่น่าค้นหา

-          อีกมากมายหลายหลากประเด็น...

 

กระบวนการร่วมสร้างฐานรากการอยู่ร่วมกันผ่านการศึกษาวัฒนธรรม 

บทสรุปส่งท้าย...“โครงการกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างเยาวชนไทยกับเยาวชนจากประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันรามจิตติและเครือข่ายทางวิชาการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาไปสู่โครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน (ไทย-มาเลเซีย)”

   สิ่งสำคัญบนฐานของความจำเป็นที่จะต้องร่วมกันสานต่อโครงการยุววิจัยวัฒนธรรมอาเซียน คือ การผลักดันและเห็นความสำคัญของพลังยุววิจัยในพื้นที่ที่จะช่วยร่วมเสริมเติมเต็มความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในฐานมิติการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม สิ่งที่น่าฉุกคิดก็คือว่า “หลักธรรมคำสอนที่สำคัญของผู้คนในอดีตคือความประณีตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  ถึงเวลาทวนทบและทบทวนสิ่งพันผูกที่สร้างความผูกพันของผู้คนที่ควรจะเป็น เพราะอย่าลืมว่า ผู้คนจะพัฒนาได้อย่างไรถ้าเรารู้จักความจริง (สัจธรรม) ในวัฒนธรรม(วิถีชีวิต)เพียงครึ่งเดียว ขณะที่ด้านกาเรียนรู้ความจริงที่ดีและการจัดการในการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันที่หายไปนั้นเป็นจุดสำคัญของวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม”..”

เรียบเรียงโดย...คณะทำงานทางวิชาการโครงการฯ

 

 

หมายเลขบันทึก: 464810เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วันก่อนดิฉันได้เข้ารับประชุมที่ มอ. เกี่ยวกับเรื่องการเตรียมพร้อมด้านการศึกษาเพื่อประชาคมอาเซียนค่ะ

และเทอมที่ผ่านมา ดิฉันและ อ.ธวัชชัย ได้พัฒนาระบบห้องเรียนออนไนล์ Class.in.th ขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานได้ทั่วทั้งประเทศ (ทั่วโลกก็ได้) ค่ะ

ปัจจุบันเรามีเมนูสองภาษาคือ ภาษาไทย และ อังกฤษ ค่ะ และอยากจะทำให้รองรับการใช้งานสำหรับประชาคมอาเซียนได้ด้วยค่ะ

จึงอยากทราบว่า นักศึกษามาเลเชียและอินโดนีเซีย ใช้คีย์บอร์ดภาษาอังกฤษใช่ไหมค่ะ เพราะทั้งสองประเทศใช้อักษรภาษาอังกฤษในการเขียนถูกต้องหรือไม่ค่ะ

ขอบคุณมากครับอาจารย์ Ico48 ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

ใช่ครับ...แต่อยากให้มองไกลกว่านี้ครับหากจะมีอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เราอยากให้เขาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์ให้มากขึ้นควรเพิ่มคีย์บอร์ดภาษาอาหรับไปด้วยนะครับ จะได้เป็นฐานการแลกเปลี่ยนเชื่อมสัมพันธ์กัยทั่วโลกครับ

เป็นกำลังใจในการทำหน้าที่ครับอาจารย์...

ผมว่าโปรเจคที่ ผศ.จารุวัจน์ สองเมือง เขียนไว้เกี่ยวกับการสร้างเครือข่ายเยาวชนจังหวัดชายแดนใต้เพื่อสร้างสังคมสันติสุขผ่านเว็บบล๊อก...น่าสนใจและอยากให้ภาคส่วนที่พอจะมีแรงผลักขับเคลื่อนโครงการนี้ครับ เพราะต่อไปเยาวชนคือฐานสำคัญที่จะตอบได้ว่าทิศทางของอาเซียนในการอยู่ร่วมกันจะเดินไปยังไง

เป็นกำลังใจให้ครับ ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท