พระครูอุดมธรรมานุกิจ
พระ พระครูอุดมธรรมานุกิจ อุตฺตโม บัวทะราช

หยาดน้ำฟ้า


การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

หยาดน้ำฟ้า

         หยาดน้ำฟ้า  คือคำกว้าง ๆ ที่ใช้เรียก น้ำฝน  หิมะ  ลูกเห็บ ตลอดจนน้ำในรูปแบบอื่นที่ตกลงมาจากเมฆ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของแข็งหรือของเหลว สำหรับประเทศไทย หยาดน้ำฟ้า ที่พบมากอยู่ในรูปของน้ำฝน

        เมื่อสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง จะส่งผลให้กระบวนการหมุนเวียนของน้ำในวัฏจักรน้ำเปลี่ยนแปลงไป รายงานของ  IPCC  (Intergovernmental Panel on Climate Change) ระบุว่า ที่ผ่านมาปริมาณหยาดน้ำฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณ  ความเข้ม  ความถี่ และประเภทของหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา

        หลักการทั่วไป อากาศที่อุ่นขึ้นจะเร่งให้น้ำระเหยจากแผ่นดิน ทำให้บริเวณแผ่นดินแห้งแล้งมากขึ้น และเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะภัยแล้งจัดในหลายพื้นที่  แต่ในทะเล  มหาสมุทร จะทำให้อัตราการระเหยของน้ำสูงขึ้น  ในบรรยากาศจึงมีปริมาณไอน้ำมากขึ้น  ส่งฝนให้เกิดฝนตกหนักต่อครั้งมากขึ้นด้วยเช่นกัน

        ในปี 2532-2554 รวม 22 ปี หยาดน้ำฟ้าของโลกจะเปลี่ยนแปลงไปและมีแนวโน้มที่จะเกิดพิบัติภัยรุนแรงต่าง ๆ เช่น คลื่นความร้อน พายะรุนแรง ฝนตกหนัก จะเกิดถี่ขึ้น จะเกิดน้ำท่วม ในช่วงเดือนตุลาคม -ธันวาคม และเดี่ยวนี้ก็จริง..........เน้อ.....

      ในปี ค.ศ.2090-2099 ประเทศไทยอาจมีปริมาณหยาดน้ำฟ้า ในช่วง ธันวาคม-กุมภาพันธ์ จะลดลง ร้อยละ 10-20 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม  และอุณหภูมิอากาศอาจสูงขึ้น ประมาณ 2.5 - 3 องศาเซลเซียส

      อุทกภัย เกิดในปัจจุบันนี้ เพราะธรรมชาติเปลี่ยนแปลงคงใช่แล้วละ และอนาคตจะเกิดจริงไหม ไม่ทราบจจากเป็นได้ ตามสมติฐานนี้ อย่างไรก็ตามแสดงความห่วงใยกับ ญาติโยมที่ถูกน้ำท่วมในปัจจุบัน คนไทยหวังว่าคงไม่ทิ้งกัน

จากนิตยสารสสวท. ฉบับที่ 172  เดือน กรกฎาคม - สิงหาคม 54

 

คำสำคัญ (Tags): #หยาดน้ำฟ้า
หมายเลขบันทึก: 464771เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2011 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท