7 เทคนิคฝึก “คิดต่าง”



โลกคือทุกสิ่งที่คุณคิด แค่คุณเปลี่ยนมุมมองความคิด โลกก็พร้อมจะเปลี่ยนไปตามคุณ

ใครที่เคยคิดเพียงว่า 1+1 = 2 หรือคิดอยู่เสมอว่า "มันต้องเป็นไปไม่ได้แน่ๆ" ขอแนะนำให้วางความคิดเหล่านั้นลงข้างตัวสักห้านาที พร้อมเปิดใจให้ขยายออกด้านข้างแล้วกว้างขึ้นอีกนิด เพื่อเตรียมฝึกปรือเทคนิคคิดให้แตกต่าง ซึ่งการคิดต่างหรือที่หลายคนเรียกว่า คิดนอกกรอบ ไม่ได้มีไว้สำหรับนักโฆษณาหรือนักสร้างสรรค์เพียงเท่านั้น แต่การฝึกคิดให้แตกต่าง (อย่างสร้างสรรค์) ยังจำเป็นอย่างมากสำหรับทุกคน ทุกครอบครัว ทุกองค์กร และจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับสังคมไทยที่กำลังมีปัญหาเรื้อรังเฉกเช่นปัจจุบัน

     ทั้งนี้เพราะความคิดต่างนอกจากจะเป็นหนทางในการระดมสมอง เพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยหลากหลายวิธีแล้ว การฝึกคิดต่างอย่างสม่ำเสมอยังช่วยให้ใจเราค่อยๆเปิดกว้าง จนสามารถรับความแตกต่างของสังคมได้อย่างแท้จริง และต่อไปนี้คือ 7 เทคนิคการคิดต่างที่จะทำให้ชีวิตคุณแตกต่างไปจากเดิม 

 

  1. หยุดพูดคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ทราบหรือไม่ว่าสิ่งแรกที่สกัดกั้นความคิดของเราก็คือคำว่า "เป็นไปไม่ได้" คำนี้มักจะหลุดออกมาทันทีที่สมองได้รับรู้เรื่องราวที่ผิดแปลกไปจากชีวิตประจำวัน และเมื่อเราย้ำคำนี้บ่อยๆ สมองก็จะเริ่มหยุดคิด หยุดที่จะมองหาทางออกใหม่ๆเมื่อเจอปัญหา ครั้งหนึ่งไม่มีใครคิดว่ามนุษย์จะสามารถขึ้นไปเดินเล่นบนดวงจันทร์ ครั้งหนึ่งความคิดเรื่องการบินได้เหมือนนกเป็นสิ่งที่ถูกกล่าวหาว่าเพ้อฝันสิ้นดี แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราเปลี่ยนคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ให้กลายเป็น "แน่นอน ฉันต้องทำได้" แล้วให้สมองค่อยๆแตกยอดความคิดใหม่ๆเพื่อหาหนทางไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือทางออกที่หลากหลาย ท้ายสุดคำว่า "เป็นไปไม่ได้" ก็จะมีความหมายแค่ "ยังไม่ได้ลงมือทำ" เท่านั้นเอง
  2. "กรอบ" ไม่ใช่ปัญหาเสมอไป หลายครั้งที่กรอบตกเป็นจำเลยของอาการคิดไม่ออกและไม่ยอมคิดให้แตกต่าง ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ว่าคุณจะอยู่ในกรอบ นอกกรอบ ในคอก หรือนอกคอก ก็สามารถคิดให้แตกต่างได้ ทว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มุมมองที่มีต่อกรอบนั้นๆ เพราะกรอบสำหรับบางคนเป็นแค่เส้นตรง 4 เส้นประกอบกัน ในขณะที่กรอบของอีกคนเป็นรูปแปดเหลี่ยม และอีกคนกลับมีกรอบที่มีความลึก มีความหนา หรือเป็นกรอบรูปวงกลมเสียด้วยซ้ำไป แน่นอนว่าชีวิตเราย่อมหลีกหนีกรอบ ประเพณี กติกาของสังคมหรือความคิดที่ครอบงำเรามาตั้งแต่วัยเยาว์ไปไม่พ้น แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เราจะมองกรอบเหล่านั้นด้วยมุมไหน พร้อมทั้งนำกรอบเหล่านั้นมาสร้างสรรค์เป็นสิ่งใหม่ๆได้อย่างไร ถ้าไม่มีกรอบเสียอย่าง เราก็คงไม่หาวิธีคิดนอกกรอบกันหรอก คุณว่าไหม
  3. สร้างเทคนิคด้วยการคิดบวก สำหรับผู้ที่ไม่ชินกับการคิดให้แตกต่าง ขอให้เริ่มต้นประสบการณ์การคิดต่างด้วยการหัด คิดบวกในทันทีที่เจอปัญหา ทั้งนี้ก็เพื่อให้สมองได้ผ่อนคลายจากความตึงเครียดของปัญหา ทั้งยังได้มองหาอีกแง่มุมของคำตอบที่แม้แต่ตัวเราเองก็คาดไม่ถึง ลองดูตัวอย่างบทสนทนาของพ่อ ลูกคู่หนึ่ง ลูกชายเข้าไปเยี่ยมพ่อซึ่งต้องโทษคุมขังอยู่ในคุกด้วยสีหน้าเคร่งเครียดเหมือนกำลังแบกโลกทั้งใบ
  • ลูกชายบอกพ่อว่า "ชีวิตผมกำลังมีปัญหา ผมไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ผมไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้"
  • ผู้เป็นพ่อถามกลับไปว่า "แกกำลังโดนใครตามฆ่าอยู่หรือเปล่า"
  • ลูกชายตอบว่า "ไม่ ไม่มีใครตามฆ่าผม"
  • ผู้เป็นพ่อจึงยิ้มและตอบสั้นๆกลับไปว่า "ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่าไม่มีปัญหา"
         คำพูดสั้นๆของพ่อที่มองโลกในแง่บวกว่า ถ้ายังไม่ตายก็ไม่มีปัญหาทำให้ลูกชายได้คิดว่าปัญหาของตนนั้นเล็กลงไปถนัดตา เมื่อเทียบกับพ่อที่ติดคุกอยู่และกำลังรอตัดสินโทษประหารในวันพรุ่งนี้ จำไว้ว่า ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็ขอให้คิดบวกหรือมองโลกในแง่ดีไว้ก่อน

  4.  หลุมพรางของความฉลาด เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน Edward de Bono เจ้า
       สำนักคิดนอกกรอบกล่าวไว้ว่า ความฉลาดเป็นหลุมพรางอย่างหนึ่งที่ทำให้คน
       ไม่กล้าคิดให้แตกต่าง ทั้งนี้เพราะคนที่มีประสบการณ์หรือมีความรู้มากเกินไป
       จะเหมือนน้ำที่ล้นแก้ว มักไม่ยอมรับความคิดที่แปลกใหม่ ทั้งยังมีความเชื่อมั่น
       ในความรู้และประสบการณ์ของตัวเองสูง พร้อมกันนั้นก็มักคิดหาทางออกเวลา
       มีปัญหาในรูปแบบเดิมๆ เพราะคิดว่าตนเองเคยใช้วิธีเช่นนั้นแก้ปัญหาได้ ทั้งที่
       ตัวแปรของปัญหาอาจเปลี่ยนไปจากเมื่อ 20 ปีก่อนแล้ว  จริงอยู่ว่า
       ประสบการณ์และความรู้เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความคิดที่ครบถ้วนรอบด้าน แต่จะ
       ดียิ่งกว่าหากเราเก็บความรู้ไว้เป็นน้ำครึ่งแก้วที่พร้อมจะเติมน้ำหวานสีใหม่ๆ ลง
       ไป เพื่อให้เกิดน้ำรสชาติใหม่ที่ไม่ซ้ำกับใคร

  5.  แปรความเสี่ยงเป็นปัจจัยบวก  อุปสรรคอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้หลายคนไม่
       กล้าคิดแตกต่างก็คือ ความเสี่ยง บางคนไม่กล้าเปลี่ยนจากนักบัญชีไปเป็นนัก
       ดนตรีตอนอายุสามสิบเศษ เพราะประเมินแล้วว่าอาชีพนักดนตรีมีความเสี่ยง
       มากกว่า หรือกลัวว่าถ้าเสี่ยงแล้วทำได้ไม่ดีก็จะเกิดความล้มเหลว (ทั้งที่ยังไม่
       ได้ลงมือทำ) บางคนไม่ยอมหย่าสามีทั้งที่ทะเลาะตบตีกัน เพราะไม่กล้าเสี่ยง
       ที่จะใช้ชีวิตตามลำพัง (ยอมทุกข์อยู่คนเดียวทุกวัน) บ้างก็ไม่กล้าตัดสินใจทำ
       ในสิ่งที่แตกต่างเพราะความกลัวจะเกิดความล้มเหลวตามมาแน่นอนว่าชีวิต
       ย่อมมีทั้งความสำเร็จและความล้มเหลว แต่จะดีกว่าไหม หากเราค้นหาเป้า
       หมายและความต้องการของเราให้ชัดเจน จากนั้นจึงเลือกเดินเข้าไปในจุดที่
       เรียกว่า ความเสี่ยง  พร้อมทั้งแปรเปลี่ยนความเสี่ยงเป็นปัจจัยบวก เป็นจุดเริ่ม
       ต้นใหม่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความตั้งใจและพลังแห่งความสร้างสรรค์  พร้อมทั้งจำ
       ให้ขึ้นใจไว้ว่า ความล้มเหลว ความผิดหวัง และปัญหา มีไว้ให้เราคิดหาทาง
       แก้ หากชีวิตไม่มีความเสี่ยงหรือไม่มีความล้มเหลวในวันนี้ ก็ย่อมจะไม่มีทาง
       ใหม่ๆให้เราได้เดินไปสู่ความสำเร็จในวันหน้า

  6.  1+1 ไม่เท่ากับ 2 เสมอไป หากจะคิดให้แตกต่างอย่างแท้จริง สิ่งที่จะต้อง
       ลืมให้ได้ในบางครั้งคือทฤษฎีเดิมๆที่เราเคยใช้มองโลกมาตลอดหลายสิบปี
       เช่น ครูถามนักเรียนอนุบาลว่า มีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อขนมไป 3 บาท จะได้เงิน
       ทอนเท่าไร แน่นอนว่านักเรียนเกือบทั้งห้องต้องตอบ 7 บาท แต่อาจมีนักเรียน
       บางคนตอบว่าเหลือ 2 บาท หรือแม้แต่ตอบว่าไม่ต้องทอน เหตุผลของเด็กที่
       ตอบ 2 บาท ก็เพราะเขาจินตนาการว่า เงิน 10 บาท หมายถึงเหรียญ 5 สอง
       เหรียญ เมื่อซื้อขนม 3 บาท เขาให้เหรียญ 5 แม่ค้าไป จึงได้รับเงินทอน 2
       บาท  ส่วนเด็กอีกคนคิดว่าตัวเองมีเหรียญบาทอยู่ในกระเป๋า 10 เหรียญ เขา
       จ่ายค่าขนมเป็นเหรียญบาท 3 เหรียญ จึงไม่ต้องรับเงินทอนจากแม่ค้า จริงอยู่
       ว่าในห้องเรียนหรือห้องสอบทุกคำถามมีคำตอบได้เพียง 1 แต่ในโลกแห่ง
       ความเป็นจริง 1 คำถามมีได้มากกว่า 1 คำตอบ  เชียงใหม่อาจจะใช้เวลา 1
       ชั่วโมง 1 วัน หรือ 1 เดือนในการเดินทางไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้
       ยานพาหนะชนิดไหน หรือใช้เส้นทางใดในการเดินทางไปนั่นเอง

  7.  ในโลกนี้ไม่มี Good Idea ที่แท้จริง  จงอย่ากลัวที่จะคิด เพียงเพราะเกรง
       ว่าความคิดที่ออกไปจะไม่ใช่ Good Idea หรือความคิดที่ดีเลิศ เพราะในความ
       เป็นจริง ไม่มีความคิดที่ถูกต้องที่สุดบนโลกใบนี้ หากเมื่อใดที่ความคิดที่ดีที่
       สุดถูกเก็บอยู่ในลิ้นชัก ความคิดนั้นก็มีค่าไม่ต่างอะไรกับศูนย์ ตรงกันข้าม เมื่อ
       ไรที่ความคิดที่ (คุณคิดไปเองว่า) แย่ที่สุดถูกดึงขึ้นมาใช้แก้ปัญหาได้ เมื่อนั้น
       Bad Idea ก็จะกลับกลายมาเป็น Good Idea ในทันที

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน >
คำสำคัญ (Tags): #kmanw#kmanw3
หมายเลขบันทึก: 464681เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2011 21:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านแล้วได้ทำให้คืนนี้นอนหลับได้อย่างโปร่งใจ

วันนี้ได้ทำอะไรที่หลายคนไม่ได้มีโอกาสทำ

แม้มัน.............ไม่น่าเสี่ยงแต่ก็ยังอยากทำ...

ขอบคุณที่ให้..ขอแอบเก็บไปขยายต่อได้มั้ยคะ

มีความเชื่อมั่น
       ในความรู้และประสบการณ์ของตัวเองสูง พร้อมกันนั้นก็มักคิดหาทางออกเวลา
       มีปัญหาในรูปแบบเดิมๆ เพราะคิดว่าตนเองเคยใช้วิธีเช่นนั้นแก้ปัญหาได้ ทั้งที่
       ตัวแปรของปัญหาอาจเปลี่ยนไปจากเมื่อ 20 ปีก่อนแล้ว

5/5 stars

  • ลูกชายบอกพ่อว่า "ชีวิตผมกำลังมีปัญหา ผมไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร ผมไม่รู้ว่าจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อย่างไรถ้าแก้ปัญหานี้ไม่ได้"
  • ผู้เป็นพ่อถามกลับไปว่า "แกกำลังโดนใครตามฆ่าอยู่หรือเปล่า"
  • ลูกชายตอบว่า "ไม่ ไม่มีใครตามฆ่าผม"
  • ผู้เป็นพ่อจึงยิ้มและตอบสั้นๆกลับไปว่า "ถ้าอย่างนั้นก็แปลว่าไม่มีปัญหา"

 

"ฮาเอาตาย" จริงๆครับ เอาจำนวนใหนมาบั่นทอนออก ก็ยังมีค่าบวกและไม่ติดลบแน่นอน คุณพ่อที่"ฮาเอาตาย" คนนี้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท