ASEAN Economic Community , Vision 2015 : นับถอยหลังสู่อนาคตแรงงานไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


นับถอยหลังสู่อนาคตแรงงานไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ASEAN Economic Community : Vision 2015

นับถอยหลังสู่อนาคตแรงงานไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

        ภายในเวลา 4 ปีจากนี้ สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงค์โปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม  จะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ภายในปี 2015 เป็นประชาคมเดียวกันในด้านเศรษฐกิจ โดยไทยเราเป็นประธาน ASEAN ซึ่งการนับถอยหลังนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอสารสนเทศที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาพรวมของอนาคตแรงงานไทยใน ASEAN ดังต่อไปนี้

        จากรายงานความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศ ปี 2011 (The World Competitiveness Scoreboard 2011) ของ IMD World Competitiveness Center ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาธุรกิจใน Switzerland  ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศ จำนวน 58 ประเทศ พบว่าสิงค์โปร์ได้อันดับ 3  มาเลเซีย อันดับ 16  ในขณะที่ไทยอยู่ที่อันดับ 27

        ทีนี้เรามาดูรายละเอียดความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศ ในด้านที่สำคัญกันบ้าง โดยผู้เขียนขอนำเสนอ 5 ประเทศ ได่แก่ ไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบข้อมูลอันดับในด้าน Overall Competitiveness, Economic Performance, Government Efficiency, Business Efficiency และ Infrastructure ของแต่ละประเทศ ดังนี้

 

อันดับของประเทศไทย ปี 2011

Overall Competitiveness อันดับ 27

Economic Performance อันดับ 10

Government Efficiency อันดับ 23

Business Efficiency อันดับ 19

Infrastructure อันดับ 47

 

อันดับของประเทศสิงค์โปร์ ปี 2011

Overall Competitiveness อันดับ 3

Economic Performance อันดับ 5

Government Efficiency อันดับ 2

Business Efficiency อันดับ 2

Infrastructure อันดับ 10

 

อันดับของประเทศมาเลเซีย ปี 2011

Overall Competitiveness อันดับ 16

Economic Performance อันดับ  7

Government Efficiency อันดับ 17

Business Efficiency อันดับ 14

Infrastructure อันดับ 27

 

อันดับของประเทศฟิลิปปินส์ ปี 2011

Overall Competitiveness อันดับ 41

Economic Performance อันดับ 29

Government Efficiency อันดับ 37

Business Efficiency อันดับ 31

Infrastructure อันดับ 57

 

อันดับของประเทศอินโดนีเซีย ปี 2011

Overall Competitiveness อันดับ 37

Economic Performance อันดับ 32

Government Efficiency อันดับ 25

Business Efficiency อันดับ 33

Infrastructure อันดับ 55

 

        เมื่อนำข้อมูลข้างต้นมาเปรียบเทียบอันดับความสามารถทางการแข่งขันฯ ใน ASEAN 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าสิงค์โปร์มี Overall Competitiveness ดีที่สุด โดยในปี 2011 ได้อันดับ 3 ของโลก มาเลเซียได้อันดับ 16 ส่วนไทยเรายังคงอยู่แถว ๆ อันดับ 33 ถึง 27 เท่านั้น

สารสนเทศของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ที่นำเสนอมา สะท้อนให้เห็นถึงการจัดการในด้าน Government Efficiency, Business Efficiency และ Infrastructure ของไทยที่ยังขาดเสถียรภาพ ขาดความต่อเนื่องและการพัฒนาอยู่มาก เราจะเห็นว่าภาพรวมของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสิงค์โปร์และมาเลเซียแล้ว เรามีความสามารถทางการแข่งขันในด้านของรัฐ ด้านธุรกิจ และด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ น้อยกว่าสิงค์โปร์และมาเลเซีย

การเข้าสู่ AEC ภายในปี 2015 จะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานทั้งในประเทศผู้รับแรงงาน และประเทศผู้ส่งออกแรงงานอยู่มาก เนื่องจากในด้านการส่งออก สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในประเทศสมาชิก ASEAN โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า หรือด้านการนำเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนก็ไม่ต้องไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า  และองค์การที่ทำธุรกิจบริการ สามารถไปลงทุนทำธุรกิจในประเทศสมาชิก ASEAN หรือไปตั้งโรงงานในประเทศที่ค่าแรงยังไม่สูงหรือมีทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตได้โดยไม่มีข้อกีดกันทางการค้า

จากสารสนเทศความสามารถทางการแข่งขันระหว่างประเทศ และผลกระทบในการเข้าสู่ AEC ที่กล่าวมา นักทรัพยากรมนุษย์ (HR) ไทย ควรนำมาใช้ประโยชน์และเตรียมตัวกันในงานทรัพยากรมนุษย์และองค์การ ดังนี้

1. การสรรหาและคัดเลือก (Recruitment and Selection)  ทั้งองค์การในไทยที่รับแรงงานใน ASEAN เข้ามาทำงาน หรือส่งแรงงานไทยไปทำงานใน ASEAN  ควรดูความสามารถทางการแข่งขันรวม ศักยภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของรัฐ ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศใน ASEAN ที่รับแรงงานหรือส่งแรงงานไปทำงาน

องค์การในไทยที่รับคนใน ASEAN เข้ามาทำงาน  หากต้องการคนที่มีคุณภาพสูง ควรให้ความสนใจรับคนจากสิงค์โปร์หรือมาเลเซีย เข้ามาทำงาน ส่วนเวียดนามที่สารสนเทศไม่ได้กล่าวถึง ก็มีการพัฒนาคนให้พร้อมเข้าสู่AEC อย่างต่อเนื่อง  ทั้งนี้คนที่จัดว่าเป็นแรงงานฝีมือในวิชาชีพนั้น  ปัจจุบันสมาชิก ASEAN ได้มีการทำ Mutual Recognition Agreement (MRA) ใน 7 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และบัญชี โดยผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าว สามารถที่จะโยกย้ายไปทำงานในประเทศสมาชิก ASEAN ใดก็ได้ แต่การเข้าไปทำงานในประเทศสมาชิกยังคงต้องเป็นไปตามกฎระเบียบของแต่ละประเทศสมาชิกอยู่ เช่น การสอบใบอนุญาตหรือใบรับรองมาตรฐานวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับ (accredited) เป็นต้น

2. การพัฒนาบุคลากร (Development)  องค์การในไทยที่ส่งแรงงานไทยไปทำงาน หรือไปทำเครือธุรกิจในประเทศ ASEAN จะต้องพัฒนาความรู้ความามารถของแรงงานไทย ให้มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะในการทำงานร่วมกัน

3. การสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ (Employee Engagement)  ผลกระทบต่อองค์การคนไทยคงหลีกเลี่ยงการถูกแย่งบุคลากรที่มีศักยภาพไปจากองค์การด้วยเงินเดือน ค่าจ้างที่มากกว่าโดยองค์การต่างชาติได้ยาก  ดังนั้นองค์การคนไทยจะต้องทำสิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดการผูกใจจนกลายมาเป็นความผูกพันของพนักงานต่อองค์การ (Employee Engagement) โดยเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและเคารพในความคิดเห็นของพนักงาน การยกย่องชมเชยพนักงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในที่ทำงาน  สิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์การนาน ๆ

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)  ถือเป็นภาระหน้าที่ร่วมกันของคนไทย ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ทุกฝ่ายภาคจะต้องร่วมมือช่วยกันพัฒนาประเทศ เพื่ออนาคตแรงงานไทยที่จะอยู่ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

 

(จากบางส่วนที่ตีพิมพ์ใน วารสาร PEOPLE (ฅน) ปีที่ 31 ฉบับที่ 1/2554 โดยผู้เขียน และมีการปรับปรุงข้อมูลบางส่วน)

หมายเลขบันทึก: 464550เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2011 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มองทางไหนไม่เห็นดิน
  • ทั่วทุกถิ่นมีแต่น้ำ
  • ล้นหลากวิบากกรรม
  • เคราะห์คอยซ้ำกรรมใดเอย 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท